จำนวนผู้เข้าชม : 227 ครั้ง
End Page
 
 
มาดู “เงื่อนไขการรับเงินคืนจาก ประกันสังคม….อย่าทิ้งเงินก้อนโตให้เสียไปเปล่า

สำหรับมนุษย์เงินเดือนที่ต้องจ่าย เงินสมทบประกันสังคม ทุกๆ เดือน ซึ่งจะหักจากเงินเดือน 5% แต่สูงสุดไม่เกิน 750 บาท นั่นคือคนที่ได้รับเงินเดือน 15,000 ขึ้นไปนั่นเอง แต่เราเคยสงสัยกันบ้างไหมว่า สำนักงานประกันสังคม เขาเอาเงินที่เราจ่ายทุกเดือนไปทำอะไร
ระบบประกันสังคม เป็นสิ่งที่ต่างประเทศมีมานานแล้วแต่เมืองไทยเพิ่งเริ่มจะมี โดยประกันสังคมเป็นระบบที่บังคับให้ทุกคนออมเงินส่วนหนึ่ง (5% ของเงินเดือน)

ข้อดีของประกันสังคม คือลูกจ้างอย่างเรา จะจ่ายเงินประกันนี้ (เรียกว่าเงินสมทบ) เพียง 1 ใน 3 ส่วนเท่านั้น เพราะผู้ที่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ประกอบด้วย 3 ฝ่าย คือ

1. รัฐบาล
2. นายจ้าง
3. ลูกจ้าง

ดังนั้นลูกจ้างจึง จ่ายเงินเข้ากองทุนเพียง 5% ของค่าจ้าง และรัฐบาลสมทบอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งทำให้เราได้รับผลประโยชน์มากขึ้น คุ้มค่าเกินกว่ามูลค่าเงินที่เราลงไป

ในแต่ละเดือนของประกันสังคม แบ่งเงิน ไปทำอะไร อย่างไหนบ้าง !?

สำหรับเงิน 750 บาท ในแต่ละเดือนของประกันสังคม จะถูกแบ่งเป็น

1. 225 บาท สำหรับดูแลเรื่องเจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร และเสียชีวิต ถ้าไม่ใช้สิทธิ เงินส่วนนี้ก็จะหายไป ไม่ได้รับคืน

2. 75 บาท สำหรับใช้ประกันการว่างงาน ถ้าว่างงานเมื่อไหร่ สามารถเอาเงินส่วนนี้มาใช้ในระหว่างตกงานหรือรอหางานใหม่ แต่ถ้าไม่ว่างงานเลย เงินส่วนนี้ก็จะหายไป ไม่ได้รับคืน

3. 450 บาท สำหรับเก็บเป็นเงินออม จะได้รับคืนเมื่ออายุครบ 55 ปี

โดยเงื่อนไข การได้เงินก้อนสุดท้าย (เงินออม เมื่อครบ 55 ปี คืน) คือ

1. จ่ายประกันสังคมไม่ครบ 1 ปี ได้คืนส่วนที่จ่ายเป็นเงินก้อน เรียกว่าบำเหน็จชราภาพ เช่น จ่ายเดือนละ 750 บาทมาโดยตลอด 10 เดือน (750 บาท จะถูกหักเป็นเงินออม 450 บาท) เมื่ออายุครบ 55 ปี จะได้คืน 450 บาท x 10 เดือน = 4,500 บาท

2. จ่ายครบ 1 ปี แต่ ไม่ถึง 15 ปี จะได้เป็นเงินก้อนเรียกว่าบำเหน็จเช่นกัน แต่จะมากกว่า ข้อ 3.1 คือ ได้ส่วนที่นายจ้างสมทบไว้ด้วย เช่น จ่าย 750 บาท ตลอด 7 ปี (84 เดือน) ที่จะได้รับคืนเมื่ออายุครบ 55 ปี คือ 450 บาท (ส่วนที่ตนเองจ่าย) + 450 บาท (ส่วนที่นายจ้างจ่าย) x 84 เดือน = 75,600 บาท

3. จ่ายตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จะได้รับเป็นเงินรายเดือน เรียกว่า บำนาญ-ชราภาพ โดยคำนวณ 2 กรณี คือ
– กรณีจ่ายครบ 15 ปีพอดี จะได้รับรายเดือน คือ 20% ของเฉลี่ยเงินเดือน 60 เดือนสุดท้าย เช่น 60 เดือนสุดท้าย เฉลี่ยแล้วเท่ากับ 15,000 บาท จะได้รับ 20% คือ เดือนละ 3,000 บาท ไปจนเสียชีวิต

– กรณีสมทบมากกว่า 15 ปี จะได้รับโบนัสเพิ่ม 1.5% ของเงินเดือน 60 เดือนสุดท้าย หากครบปี เช่น จ่ายครบ 20 ปี รายเดือนที่จะได้รับ คือ 20% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือน + 1.5% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือน x 5 ปี

(จ่าย 20 ปี เกินจากที่กำหนดขั้นต่ำมา 5 ปี) เช่น เฉลี่ยเงินเดือน 60 เดือนสุดท้าย เท่ากับ 15,000 บาท จะได้รายเดือน คือ

(20% x 15,000 บาท) = 3,000 บาท + (1.5% x 15,000 บาท x 5 ปี) = 3,375 บาท รวมเป็น 6,375 บาท ต่อเดือนไปจนเสียชีวิต

กรณีที่ได้รับเงินบำนาญชราภาพแล้ว แต่ยังไม่ครบ 5 ปีเลย แล้วเสียชีวิตไปก่อน ล่ะ กรณีเช่นนี้ จะได้รับบำเหน็จ 10 เท่า ของเดือนสุดท้าย ของ เงินบำนาญ ที่ได้รับเช่น รับเงินรายเดือน เดือนล่าสุด 6,375 บาท ตายปุ๊บ รับ 63,750 บาท

ข้อมูล : คม ชัด ลึก
ที่มา  vip-groups



ผู้แต่ง / แหล่งที่มา :  
 ผู้บันทึก :
date : [ 22 ก.ย. 2559 ]
 


 
 

 
 

 
 

 
 

 
 

 
 
สาระน่ารู้
ข่าวรถมือสอง
เทคนิคเลือกยางเพื่อรถคู่ใจ ดูที่อะไรคุ้มสุด

ข่าวรถมือสอง
รถเปลี่ยนมือ อย่าลืมเปลี่ยนสิทธิ์ 5 เรื่องควรรู้ เพื่อปลดหนี้อย่างปลอดภัย

ข่าวรถมือสอง
คู่มือดูแลยางรับหน้าฝน: ดูแลยางอย่างไรให้ใช้ได้อย่างปลอดภัยและอุ่นใจ

ข่าวรถมือสอง
CARS24 แนะนำ 6 รถครอบครัวรุ่นฮิต ผ่อนเริ่มต้น 10,000 บาท

ข่าวรถมือสอง
ประโยชน์ของชุดปะยางฉุกเฉิน

ข่าวรถมือสอง
นิสสัน เทอร์ร่า แชร์เคล็ดลับการเดินทางกับเด็กเล็ก เคล็ดลับการเดินทางที่รับประกันว่าจะทำให้ทั้งครอบครัว

ข่าวรถมือสอง
7เหตุผลที่ลูกค้าเลือกใช้ มิตซูบิชิ ไทรทัน

ข่าวรถมือสอง
ฟอร์ดแนะเคล็ดลับขับขี่ปลอดภัยในเวลากลางคืน

ข่าวรถมือสอง
5 ฟีเจอร์ในรถฟอร์ดเอเวอเรสต์ผู้ช่วยของสุดยอดคุณแม่

ข่าวรถมือสอง
ฟอร์ดเผย 5 เคล็ด(ไม่)ลับของการขับออฟโรด

ข่าวรถมือสอง
ฟอร์ดแนะนำ4เคล็ดลับการรักษาสีรถให้เหมือนใหม่

ข่าวรถมือสอง
ไบค์เกอร์เท่านั้นที่รู้! เปิด 5 เหตุผล ทำไมไทรอัมพ์ มอเตอร์ไซเคิลส์ ถึงเป็นพรีเมียมบิ๊กไบค์ ที่ใครๆ ก็อยาก

ข่าวรถมือสอง
ฟอร์ดแนะเทคนิคขับรถทางไกลให้ประหยัดน้ำมัน

ข่าวรถมือสอง
5 วิธีขับรถลุยน้ำอย่างปลอดภัย

ข่าวรถมือสอง
แอร์รถสะอาด สำคัญกว่าที่คิด

   
   
 
   
 
 
 
 
ขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด
   Copyright © 2013 :By media ltd.