ความสำเร็จครั้งนี้ เป็นแรงกระตุ้นให้ฟอร์ดนำวิธีการนี้ ไปใช้ในการผลิตโครงรถ หรือชาลซีส์ โดยใช้เชือกดึงชาสซีส์ไปตามราง ที่มีคนงาน 50 คนยืนเรียงรายอยู่ และคนงานแต่ละคนจะประกอบชิ้นส่วนที่ได้รับมอบหมายชิ้นหนึ่ง เข้าที่ชาสซีส แต่ละตัวที่เลื่อนผ่านไป ทำให้เวลาที่ใช้ในการประกอบชาสซีส์ 1 ตัว ลดลงจาก 12 ชั่วโมง เป็น 1 ชั่วโมงครึ่งเท่านั้น ผลที่ได้รับนี้น่าอัศจรรย์มาก ในเวลาไม่ถึง 10 ปี ราคารถโมเดล ที ของฟอร์ด ก็ลดจาก 850 เหลือเพียง 250 ดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้มียอดขายถึง 1.8 ล้านคัน อีกทั้ง ผลกำไรและค่าแรงงานก็พุ่งสูงขึ้นใน ค.ศ. 1951 บริษัทฟอร์ด มอเตอร์ส ก็เป็นผู้บุกเบิก อีกครั้ง เมื่อนำเครื่องจักรกลอัตโนมัติ 40 ตัว ซึ่งทำงานได้ 500 อย่าง มาใช้ในการผลิต แท่นเครื่องยนต์ เครื่องเหล่านี้สามารถแปรสภาพโลหะ ที่หล่อขึ้นรูปหยาบๆ ให้เป็น แท่นเครื่องยนต์ที่สมบูรณ์ โดยใช้เวลาเพียงเครื่องละ 15 นาที จากเดิมที่นาน หลายชั่วโมง
โลกของหุ่นยนต์
วิทยาการใหม่ๆ ที่มุ่งประหยัดแรงงานยังพัฒนาต่อไป เช่น ใช้หุ่นยนต์ แทนคนงาน ซึ่งช่วยลดงานที่น่าเบื่อ และให้ผลงานที่เที่ยงตรงขึ้น งานเชื่อมบัดกรี รถเฟียตแบบอูโน 270 จุดนั้นมีอยู่เพียง 30 จุดที่ทำด้วยมือคน รวมทั้งงานฝีมือ บางอย่าง เช่น การเดินสายไฟ ตามโรงงานประกอบรถยนต์ทั่วไป ในช่วงทศวรรษ 1980 เช่น ที่โรงงานเฟียตอูโน ในเมืองมิราฟิออรีหรือริวัลตาในอิตาลี ซึ่งผลิตรถได้ 2,600 คัน/วันนั้น งานขั้นแรกคือการส่งแผ่นเหล็กกล้า เข้าเครื่องอัดตัวถัง ภายใน โรงงานเนื้อที่ขนาดสนามฟุตบอล 3 สนามนี้ ปั้นจั่นยนต์จะป้อนแผ่นเหล็กจากม้วน เข้าเครื่องอัดขนาดยักษ์ ซึ่งตัดแผ่นเหล็กออกเป็นชิ้นเพื่อทำตัวถัง
ขั้นต่อไปเป็นการทำพื้นรถ โดยใช้หุ่นยนต์ซึ่งจะทำงานเชื่อม ในหลายจุด และสร้างเป็นรูปทรงที่ซับซ้อนขึ้น โดยเว้นไว้สำหรับฝาครอบล้อรถพื้นกระโปรงรถ และที่วางยางอะไหล่
ขั้นต่อจากนั้น เครื่องยึดขนาดใหญ่หลายเครื่อง จะจัดวางตัวด้านข้าง กับหลังคา ให้เข้าที่เพื่อเชื่อมต่อกัน ด้วยเครื่องอัตโนมัติ ส่วนประตูรถจะทำขึ้น ที่สายประกอบ ชิ้นส่วนใกล้ๆ กันนั้น โดยใช้เทคนิคกดรีดแบบต่างๆ เพื่อให้พื้นผิวด้านนอกของประตู ยึดติดอยู่กับโครงชั้นใน
การตบแต่งขั้นสุดท้าย
การพ่นสีรถเพื่อป้องกันรถผุ และทำให้รถดูเงางาม ก็เป็นกระบวนการสำคัญ อีกขั้นหนึ่ง รถยนต์ที่ใกล้เสร็จสมบูรณ์ จะนำไปทำความสะอาดในถังล้างคราบน้ำมัน แล้วล้างน้ำ และเคลือบด้วยฟอสเฟตเพื่อให้สีติดดีขึ้น หลังจากล้างน้ำอีกหลายครั้ง ก็จะนำมาพ่นสีพื้นหลายๆ ชั้นโดยอาศัยไฟฟ้าสถิต และสนามไฟฟ้าช่วยดึงดูดสี
จากนั้นก็จะฉีดขี้ผึ้งพิเศษ เข้าไปในบริเวณที่มีลักษณะกลวง เช่น ที่เสาและ ธรณีประตู เพื่อกันน้ำ หิมะ ผงฝุ่น และเกลือ
ขั้นต่อไปเป็นงานตกแต่งภายใน รถยนต์จะได้รับการติดตั้ง “เส้นประสาท” หรือระบบไฟฟ้า หุ่นยนต์ จะปูรองพื้นสักหลาดและพรม บุที่นั่ง และจัดแต่งอุปกรณ์อื่นๆ มีโรงงานหลายแห่งที่ใช้หุ่นยนต์ อุปกรณ์ประกอบรถยนต์ ซึ่งนอกจากจะลด การใช้แรงคนแล้ว ยังช่วยลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้
กระจกหน้ารถและกระจกหน้าต่างบางชิ้น ใช้กาวเพื่อให้ติดได้แนบเนียนขึ้น และช่วยลดเสียงและการต้านลม หุ่นยนต์จะทากาวที่ขอบกระจกแล้ว ใช้เต้ายางเกาะ กระจก เพื่อติดกับตัวรถในจุดที่กำหนด
ในขั้นสุดท้าย รถยนต์จะได้รับสิ่งที่เป็น “หัวใจ” รถจะถูกยกขึ้นไปบนแป้น แม่แรงจะนำเครื่องยนต์พร้อมคลัตซ์ และเกียร์มาติด แล้วใส่ถังน้ำมันที่ท้ายรถ ต่อไปก็เป็นแหนบ พวงมาลัย เครื่องปรับอากาศ แบตเตอรี่ ลูกล้อ และยางรถ
เมื่อเติมน้ำ น้ำยากันน้ำแข็งตัว น้ำมันเครื่อง และน้ำมันรถแล้ว รถยนต์ก็จะ พร้อมวิ่ง ผู้ตรวจงานจะสำรวจตัวรถ ก่อนนำออกจากโรงงานแล้ว นำไปทดสอบ ขั้นสุดท้าย คือทดลองวิ่งบน “ถนนวิบาก” เพื่อดูการทำงานของรถ เมื่อรับรองได้แล้วว่า มีสภาพสมบูรณ์ จึงจะส่งมอบให้ผู้จำหน่ายได้