|
มารู้จัก ดิสเบรค กับ ดรัมเบรค กันเถอะ
สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับรถคันงามของเราที่ไม่มีไม่ได้นั่นก็คือ “เบรก” เพราะถ้าหมดเบรกชีวิตเหล็กหุ้มกระดูกก็อาจถึงคราวอันตรายเมื่อนั้นและวันนี้ รถweekly จะพาไปรู้จักเบรกที่ใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน แบบแรกดรัมเบรค ประกอบด้วยตัวดรัม (Drum) เป็นโลหะวงกลมยึดติดกับดุมล้อ หมุนไปพร้อมล้อ และชุดฝักเบรค ซึ่งประกอบด้วยผ้าเบรค กลไกปรับตั้งเบรค สปริงดึงกลับ และลูกสูบปั้มเบรค ซึ่งสายน้ำมันเบรค ก็จะมาเชื่อมต่อกับตัวลูกสูบนี่แหละ ในการดันผ้าเบรกให้ไปเสียดทานกับดรัมเพื่อให้เกิดความฝืด ดรัมเบรค เป็นอุปกรณ์เบรคมาตรฐานสำหรับรถยนต์รุ่นเก่าหน่อย ต่อมาเมื่อมีการใช้ดิสก์เบรคกันมากขึ้น ก็จะเห็นระบบดิสก์เบรคสำหรับล้อคู่หน้าและดรัมเบรกสำหรับล้อคู่หลัง
ข้อดี - มีความสามารถในการหยุดรถได้เร็ว เพราะก้ามเบรกและดรัมเบรค ถูกยึดติดกับดุมล้อ เมื่อเหยียบเบรคคนขับใช้แรงกดดันเบรคน้อย รถบางรุ่นไม่จำเป็นต้องใช้หม้อลมเบรคช่วยในการเบรค
ข้อเสีย - ความร้อนที่เกิดจากการเสียดสีระหว่างผ้าเบรคในดรัมเบรคนั้น ไม่สามารถถ่ายเทความร้อนได้ดี บางครั้งทำให้ผ้าเบรคมีอุณหภูมิสูงมาก มีผลทำให้ประสิทธิภาพการเบรคลดลง
และแบบดิสก์เบรค
ประกอบด้วย แผ่นจานดิสก์ ติดตั้งลงบนแกนเพลาล้อ เมื่อรถเคลื่อนที่ แผ่นจานดิสก์จะหมุนไปพร้อมล้อ จากนั้นจะมีอุปกรณ์ที่เราเรียกว่า คาลิปเปอร์ (Caliper) ที่เรียกกันทั่วไปว่า "ก้ามปูเบรค" สำหรับตัวคาลิปเปอร์ จะติดตั้งโดย ครอบลงไปบนจานดิสก์ (ไม่หมุนไปพร้อมล้อ) ข้อดี – ลดอาการเฟด (เบรกหาย) เนื่องจากอากาศสามารถถ่ายเทความร้อนได้ดีกว่าดรัมเบรค เมื่อเบรคเปียกน้ำผ้าเบรคจะสลัดน้ำออกจากระบบได้ดี ในขณะที่ดรัมเบรคน้ำจะขัง อยู่ภายในและใช้เวลาในการถ่ายเทค่อนข้างช้า ข้อเสีย - ไม่มีระบบ Servo action หรือ multiplying action เหมือนกับดรัมเบรค ผู้ขับต้องออกแรงมากกว่าจึงต้องใช้ระบบเพิ่มกำลัง เพื่อเป็นการผ่อนแรงขณะเหยียบเบรค ทำให้ระบบดิสเบรคมีราคาค่อนข้างแพงกว่าดรัมเบรค
ผู้แต่ง / แหล่งที่มา :
เอ็มมี่
ผู้บันทึก :
ด็อกเตอร์เหวง
date : [ 03 เม.ย. 2556 ]
|
|
|