|
ฝากระโปรงหน้าสีดำหรือดำเหลือบๆ คืออะไร เปลี่ยนทำไม แต่งทำไม?
เลียนแบบรถแข่ง
รถแข่งในประเภทที่ยังต้องใช้ตัวถังหลัก (โครงรถ) เป็นเหล็กเหมือนรถในสายการผลิตปกติ ล้วนต้องการลดน้ำหนักให้เบาที่สุด โดยหาวัสดุอื่นมาใช้ทำชิ้นส่วนนั้นๆ และใส่แทนที่ของเดิมเพื่อลดน้ำหนัก
ชิ้นส่วนเปลือกนอกที่เคยเป็นเหล็ก ดูเหมือนจะเปลี่ยนง่ายที่สุด เพราะไม่ได้เชื่อมติด ใช้ไขน็อตเข้ากับตัวถังและไม่ยุ่งยากในการเปลี่ยน ถ้าหาวัสดุอื่นมาแทนชิ้นส่วนเดิมที่เป็นเหล็กได้ ย่อมสามารถลดน้ำหนักลงได้ แม้น้ำหนักต่อชิ้นที่หายไปจะไม่เยอะแต่ก็ยังดีกว่าไม่ทำเลย เพราะเมื่อรวมกันหลายชิ้นก็เบาลงเยอะ
ฝากระโปรงหน้าเป็นส่วนที่เห็นได้ชัด ว่าสามารถลดน้ำหนักลงได้ เพราะเป็นเหลือกนอกที่ถอดเข้า-ออกได้ด้วยน็อตจากเดิมเป็นเหล็กหนักถึงสิบกิโลกรัม ก็เปลี่ยนมาใช้วัสดุอื่นที่มีน้ำหนักเบากว่า
เมื่อก่อนใช้วิธีทำขึ้นใหม่เป็นไฟเบอร์กลาส และพ่นสีทับตามปกติ แต่ก็ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นนักเพราะเบาลงไม่มากและไม่ได้เป็นวัสดุราคาแพง เนื่องจากต้องทำให้หนาพอสมควรและมีโครงด้านในเป็นเหมือนกระดูกเพื่อให้ฝากระโปรงคงรูปไม่เผยิบผยาบรวมแล้วฝากระโปรงไฟเบอร์กลาสจึงไม่ได้เบาลงสักเท่าไรและต้องพ่นสีทับเพื่อไม่ให้น่าเกลียด เพราะเนื้อใยแก้วกับเรซินไม่ได้ดูสสวยงาม
วัสดุในกลุ่มเดียวกับไฟเบอร์กลาสและได้รับความนิยมในช่วง 10ปีที่ผ่านมา คือ คาร์บอนไฟเบอร์หรือคาร์บอนเคฟลาร์เคลือบอีพอกซี่ (หลายคนไม่รู้จริงมันเกรียกเหมาว่าเคฟลาร์) มีความเด่นที่มีความแข็งแรงหรือเหนียวกว่าจึงสามารถทำให้บางๆได้ ไม่ต้องทับกันหลายชั้น เมื่อบางก็มีน้ำหนักเบา รถแข่งจึงนิยมใช้กันจนเมินไฟเบอร์กลาสเดิมๆที่ต้องทำหนาๆถึงจะแข็งแรงพอกัน
ชิ้นส่วนเปลือกนอกของรถแข่งในช่วงปลายปีมานี้ จึงเป็นคาร์บอนไฟเบอร์ หรือคาร์บอนเคฟลาร์ ไม่ใช้ไฟเบอร์กลาส เป็นเรื่องปกติ อะไรที่รถแข่งนิยมใช้ ถ้าใครแต่งสำหรับใช้งานบนถนนเอามาใช้ตามรถแข่งก็จะดูเท่
ชิ้นส่วนตังถึงที่เปลี่ยนจากเหล็กเป็นคาร์บอนไฟเบอร์มีมากมาย บางชิ้นทำขึ้นได้ง่ายบางชิ้นยาก เช่น ประตู ถ้าจะทำให้ใช้งานได้เหมือนปกติ มีรางกระจกขึ้น-ลงพร้อมมีตัวล็อกจะยุ่งยาก เพราะมีความซับซ้อนมาก ส่วนฝากระโปรงหน้านั้นทำง่าย เพราะเป็นแผ่นแบนแค่ลอกจากของเดิมได้เช่นกัน นอกจากทำง่ายแล้ว ที่สำคัญ คือคนอื่นมองเห็นแล้วรู้สึกว่าสวย ถึงจะไม่ชมให้ได้ยินก็ชื่นใจ
คาร์บอนไฟเบอร์เป็นวัสดุราคาแพง ค่าทำในชิ้นงานที่มีรูปแบบง่ายๆ ตารางฟุตละเกือบๆ หรือเป็นพันบาท ถ้าใครพอรู้ เมื่อเห็นรถคันใดใส่ชิ้นส่วนที่ทำจากคาร์บอนไฟเบอร์ ก็จะทราบว่ากำลังใส่ของราคาแพง ซึ่งราคาก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้รถที่ใส่ฝากระโปรงคาร์บอนไฟเบอร์แล้วดูดี
คาร์บอนไฟเบอร์ช่วยให้รถดูดีขึ้น จนมีของแต่งเลียนแบบเป็นสติ๊กเกอร์ออกมา จ่ายเงินถูกกว่ามาก ดูผ่านๆอาจคลาย หลอกคนไม่รู้สึกได้ แต่ถ้ามองใกล้ๆหรือคนที่รู้จริงก็จะมองออกได้ง่ายกว่า เป็นหนือจริงหรือสติ๊กเกอร์ เวลาเห็นรถที่ใส่ชิ้นส่วนที่เป็นคาร์บอนไฟเบอร์ บางคนก็จะไปมองใกล้ๆว่าแท้ไหม หรือถ้าเป็นคนรู้จักก็จะถามว่าเป็นชิ้นส่วนแท้หรือสติ๊กเกอร์
การทำฝากระโปรงคาร์บอนไฟเบอร์แท้ๆต้องมีค่าใช้จ่ายๆไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท เพราะต้องทำแม่พิมพ์ไฟเบอร์กลาสทั้งด้านนอกและในจากฝากระโปรงเหล็กเดิม แล้วค่อยทำคาร์บอนไฟเบอร์เข้ากับแม่พิมพ์ พอแยกออกมาก็นำแผ่นนอกและโครงด้านในมาเชื่อมเข้าหากัน
ความยุ่งอย่ที่ขั้นตอนที่ต้องทำแม่พิมพ์ก่อนและความยากอยู่ที่ตอนปูใยคาร์บอนไฟเบอร์ ขึงไม่ให้เส้นใยเลื้อยไปมาใสชั้นแรกที่จะมองเห็นทะลุเนื้ออีพอกซี่ลงไป เพราะแรกสุดต้องทาอีพอกซี่เหนียวๆลงไปแล้วค่อยปูเส้นใยตามลงไป ถ้าขึงแล้ววางลงไปเลื้อยมากก็น่าเกลียดจนต้องทิ้งทั้งชิ้น ถ้าลายเลื้อยเล็กน้อยก็พอทน แต่ไม่ค่อยสวย ความแพงอยู่ที่ต้นทุน วัสดุ และฝีมือ บางร้านต้องบวกเผื่อเสียตอนปูเส้นใย ถ้าไม่ต้องทิ้งสักชิ้นก็ยังทำแล้วไม่ขาดทุน แยกให้ออก คาร์บอนไฟเบอร์ คาร์บอนเคฟลาร์ ไม่ใช่เหมาเรียก เคฟลาร์
หลายคนที่พอจะรู้จักวัสดุกลุ่มนี้แต่ไม่รู้ลึกเมื่อเห็นหน้าชิ้นส่วนใสๆแล้วมองลึกลงไปเห็นเส้นใยตารางดำ-เทา สลับกัน รวมทั้งเห็นสติ๊กเกอร์ลายคล้ายกันนี้ ก็มักจะเรียกกันสั้นๆเหมารวมไปถึงใยที่เป็นตารางสีอื่นด้วย เช่น ดำ-เหลือง ว่า....เคฟลาร์ คนที่เรียกแบบนั้นเข้าใจผิด โดยไม่ทำความเข้าใจถึงเส้นใย 3 ประเภท คือ ไฟเบอร์ คาร์บอน และ เคฟลาร์
โดยทั่วไปแล้ว 3 วัสดุจะมีของเส้นใยแตกต่างกันตามนี้ คือ ไฟเบอร์ขาว (อมเทา) , คาร์บอน-ดำ และเคฟลาร์-เหลือง จริงๆแล้วไม่มีสีตายตัวและมีสีแตกต่างจากนี้ อย่ายึดตายตัว แต่นานๆ จะเจอสักครั้ง และในวงการมักจะเป็นสีของเส้นใยตามนี้ คุณสมบัตรของ 3 วัสดุที่แต่งต่างกัน ไฟเบอร์=แข็ง คาร์บอน=แกร่ง เคฟบาร์=เหนียว(บิดตัวดี)
การเลือกใช้ชนิดของเส้นใย จะต้องเกี่ยวข้องว่า ชิ้นส่วนนั้นต้องทำอะไร ถ้าเปลือกตัวถึง ก็ไม่ต้องให้บิดได้มาก ขอให้แข็งแกร่งคงรูปดีก็เป็นพอ ก็ใช้เส้นใยคาร์บอนสานสลับกับไฟเบอร์ กลายเป็นตารางสีดำสลับขาว (เทา) หากเป็นเบาะนั่งหรืออะไรที่ต้องการให้บิดตัวได้บ้าง แต่คงรูปได้ดีก็ใช้เส้นใยคาร์บอนสานสลับกับเคฟลาร์ที่เหนียว กลายเป็นใยตารางสีดำสลับเหลือง
ดังนั้นจึงแทบไม่เห็นชิ้นงานในรถที่ใช้เฉพาะใยเคฟลาร์สีเหลืองล้วนๆ ตามที่เรียกกันสั้นๆว่าลายเคฟลาร์ เมื่อเห็นชิ้นงานเป็นตารางๆ ซึ่งตารางเส้นใยส่วนใหญ่ที่เห็นก็เป็นสีดำ-ขาว (เทา) จริงๆ ก็เป็นคาร์บอนไฟเบอร์ไม่มีใยเคฟลาร์สีเหลืองผสมแม้แต่น้อย เส้นใยเหล่านั้น ย้วยไปมาได้คล้ายผ้า ไม่ได้แข็งตัว แต่มีคุณสมบัติตามข้างต้น อย่างเคฟลาร์ด้วยความเหนียวที่โดดเด่น เมื่อนำมาสานและซ้อนกันหลายชั้นก็ทำเป็นเกราะอ่อน เสื้อกันกระสุนได้ดีกว่าเหล็กบางๆ การทำเส้นใยแข็งตัวขึ้นรูป ต้องมีอีกวัสดุหนึ่งมาซึมซับลงไป คือเรซินหรืออีพอกซี่ ตอนแรกจะเป็นของเหลวเหนียวเกือบเท่านมข้น เมื่อผสมตัวเร่งปฏิกิริยาทางเคมีลงไป ไม่นานก็แข็ง แต่เปราะ ผสมให้พอดีเพื่อให้มีช่วงเวลาที่จะนำลงไปซับกับเส้นใย เท่ากับเป็นการผสม 2 คุณสมบัติเข้าด้วยกัน คือ เส้นใยเหนียวแกร่ง แต่ไม่มีรูปทรงตายตัว พอแข็งตัวจะเป็นรูปทรงใดก็ขึ้นอยู่กับช่วยก่อนที่จะแข็งว่าอยู่ในแม่พิมพ์ทรงใด หรือจัดให้เส้นใยเป็นทรงใด หากยังงงให้นึกถึงสิ่งใกล้ตัว คือ ผ้า=เหนียว แต่นิ้มมี่ทีรูปทรงแน่นอนเหมือนกับเป็นเส้นใยต่างๆ ส่วนกาวตราช้าง=เหลว แต่จะแข็งได้และเปราะก็คือ เรซินหรืออีพอกซี่ นำกาวตราช้างทาลงบนผ้าให้ซึมทั่วกัน จับไว้ให้เป็นทรงอะไรหรือว่างลงไปบนแม่แบบผิวลื่น พอแข็งตัว ผ้าชุบกาวตราช้างก็เป็นทรงขึ้นรูปตามที่ต้องการก็เหมือนกับการทำชิ้นส่วนของวัสดุกลุ่มนี้
วิธีจับผิด...ของแท้หรือสติ๊กเกอร์
การดูว่าชิ้นงานเป็นไฟเบอร์หรือคาร์บอนเคฟลาร์แท้ หรือเป็นแค่สติ๊กเกอร์ อาจดูยากสำหรับคนที่ไม่คุ้นเคย และคนที่ทำสติ๊กเกอร์ก็พยายามทำให้หลอกตามากที่สุด
วิธีดูง่ายๆ คือ ถ้าเป็นของแท้ เมื่อมองใกล้ๆ ลวดบายต้องเป็นเหมือนบายผ้าหรือเส้นใยสานจริงๆ แช่อยู่ใต้น้ำ แช่อยู่ใต้น้ำเชื่อมบางๆ เหมือนผ้าจมน้ำเชื่อมนั่นเอง แต่ถ้าเป็นสติ๊กเกอร์ถึงจะพ่นแล็กเกอร์หนาๆทับแต่ข้างใต้ก็เป็นแค่ลายพิมพ์หรือสกรีนให้ดูเป็นตารางไม่ใข่เส้นใยสานแท้ๆ ถึงจะดูไม่เก่งแต่ถ้ามองใกล้ๆและพิจารณาก็พอจะจับผิดได้ไม่ยาก
ฝากระโปรงหน้าสีดำ ถ้าเป็นสีดำด้านหรือพ่นสี ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการโชว์วัสดุ เพียงแต่ต้องการความแตกต่างจากรถทั่วไปเท่านั้น รถแต่งในญี่ปุ่นแทบไม่พ่นสีดำทับฝาเหล็กเดิมเลย เมื่อไรเห็นฝาสีดำ พอไปดูใกล้ๆก็มักจะเป็นคาร์บอนไฟเบอร์ มีบางคันที่มีลายดำ-เหลือง คาร์บอน-เคฟลาร์ แต่ไม่มีฝาใยสีเหลืองล้วนที่เป็นเคฟลาร์ล้วน ตามที่เรียกกันผิดๆ ถ้าเห็นฝามีเนื้อเป็นตารางดำ-เทา ต้องบอกว่าเป็นฝาคาร์บอนไฟเบอร์ไม่ใช่ฝาเคฟลาร์
คนไทยที่อยากแต่งรถของแนะนำว่า การพ่นสีดำลงไปบนฝาเดิมไม่ได้มีความเท่ขึ้นเลย เพราะที่แต่งกันเป็นสีดำก็เพราะมีการทำฝากระโปรงขึ้นใหม่จากคาร์บอนไฟเบอร์แท้ๆ ใครที่สนในเรื่องนี้เมื่อเห็นรถที่ใส่ฝาสีดำ ให้เริ่มต้นดูจาก
เป็นคาร์บอนไฟเบอร์หรือไม่ ถ้าแค่พ่นสีดำก็จบกัน แท้หรือเป็นแค่สติ๊กเกอร์ เนื้องาน เรียบเงา ผิดไม่เป็นลอนใช่ไหม มีฟองอากาศทั้งที่ผิวและตัวเนื้อเยอะไหม มองลึกลงไปใต้ผิว การวางเส้นใยตรงแนวหรือมีแนวเส้นเลื้อยโดยไม่ตั้งใจไหม
ถ้าเป็นฝาคาร์บอนไฟเบอร์แท้ ผิวเรียบ ไม่เป็นลอน ไม่มีฟองอากาศ การวางเส้นใยตรงแนวต้องถือว่ายอดเยี่ยมแต่ยังไม่จบ หากมีโอกาสต้องดูด้านหลังว่าโครงกระดูกด้านในทำจากอะไรและงานเนียนไหม บางกรณีประหยัดต้นทุนเพราะไม่ค่อยมีใครเห็น ทำโครงเป็นไฟเบอร์กลาสธรรมดาหรือทำไม่เรียบร้อย อย่างนี้ถือว่าสวยแต่ข้างนอก ส่วนข้างในไม่สวย
การหลอกสายตาคนนอกจากสติ๊กเกอร์แล้ว ยังมีคนญี่ปุ่นนำเส้นใยจริงมาชุบน้ำยาเหนียวให้เส้นใยไม่ย้วยมาก แต่ไม่แข็งตัว เป็นเหมือนผ้าหนาคล้ายยีนส์ เคลือบกาวไว้ด้านหนึ่งพร้อมแปะกระดาษมันไว้ เมื่อลอกออกก็สามารถใช้แหะลงบนชิ้นส่วนที่ไม่โค้งมาก หลอกตาว่าเป็นชิ้นส่วนคาร์บอนไฟเบอร์แท้ๆ เพราะเมื่อดูผ่านๆก็เป็นเส้นใยจริง แต่ถ้าดูอย่างวิเคราะห์จะเห็นว่าเส้นใยนั้นไม่ได้เคลือบอีพอกซี่จนฉ่ำและแข็งเงาเหมือนชิ้นงานแท้ อย่างนี้เรียกว่าสติ๊กเกอร์เนื้อเป็นเส้นใย แต่ไม่ใช่งานแท้ทั้งชิ้น ผลดีไม่ใช่น้ำหนักเบา แต่เน้นสวนและแปลกกว่าใคร
สำหรับรถที่ใช้งานบนถนน อย่าพยายามอ้างว่าใส่เพราะต้องการลดน้ำหนัก เพราะทำขึ้นใหม่คงจะดีแค่ไหนก็ลดน้ำหนักได้ไม่กี่กิโลกรัม อย่างมากก็เบาลงสัก 10 กิโลกรัม มีผลน้อยมากต่อสมรรถนะ เพราะไม่ใช่รถแข่ง อีกเหตุผลอ้างว่าต้องการระบายความร้อนออกจากห้องเครื่อง เพราะเมื่อมีการหล่อฝาใหม่จะสามารถออกแบบช่องระบายลมได้อย่างอิสระ แต่คงไม่ใช่จุดประสงค์ที่แท้จริง เพราะไม่ได้ใช้ความเร็วสูงกันตลอดเวลาเหมือนรถแข่ง
ลึกๆแล้วส่วนใหญ่ยอมจ่ายเงินใส่ เพราะความสวย ต้องการความแตกต่าง อยากให้คนมองแล้วชื่นชม ดังนั้นถ้าจะให้ประสบความสำเร็จในความตั้งใจ จะต้องได้ชิ้นงานที่เรียบ ไม่เป็นลอน ไม่มีฟองอากาศ การวางเส้นใยตรงแนวไม่ใช่เห่อแต่เพียงว่าได้เป็นฝา เนื้องานคาร์บอนไฟเบอร์แท้เท่านั้น แต่พอดูอย่างละเอียดแล้วมีจุดด้อยเพียบ
ผู้แต่ง / แหล่งที่มา :
นิตยสาร รถ Weekly
ผู้บันทึก :
กองบรรณาธิการ
date : [ 11 มิ.ย. 2556 ]
|
|
|