จำนวนผู้เข้าชม : 407 ครั้ง
End Page
 
 
เมื่อต้องชำระค่าปรับ

การชำระค่าปรับเมื่อเราทำผิดกฎ จราจร และได้รับใบสั่งสำหรับความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ เราสามารถเลือกปฏิบัติในการชำระค่าปรับ ตามจำนวนเงินที่ระบุไว้ในใบสั่งของ เจ้าพนักงานจราจร ณ สถานที่ และภายใน วันเวลา ที่ระบุไว้ในใบสั่ง ได้อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้

1. ชำระที่สถานีตำรวจ หรือหน่วยงานตำรวจที่ออกใบสั่งนั้น
2. ชำระ ณ ที่ทำการไปรษณีย์แห่งใดก็ได้

กรณีผู้ได้รับใบสั่งไม่ปฏิบัติตาม ข้อ1. หรือข้อ 2. ภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยไม่มีเหตุอันควร มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท อีกข้อหาหนึ่ง

 

อัตราปรับ

ได้ออกข้อกำหนดสำนักงาน ตำรวจแห่งชาติ เรื่องการชำระค่าปรับทางไปรษณีย์ แบบใบสั่ง และกำหนดจำนวนค่าปรับ ตามที่เปรียบเทียบสำหรับความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทาง บกฯ โดยกำหนดค่าปรับของแต่ละข้อหาไว้ให้พนักงานสอบสวน และเจ้าหน้าที่จราจร ถือปฏิบัติ ฉะนั้นการจะไปชำระที่สถานีตำรวจ หรือชำระทาง ไปรษณีย์ จะต้องชำระค่าปรับในอัตราเดียวกัน

 

ขั้นตอนการชำระค่าปรับทางไปรษณีย์
1. ผู้ขับขี่ หรือเจ้าของรถต้องถ่ายเอกสารใบสั่งทั้ง 2 หน้า โดยกรอกข้อความในสำเนาใบสั่งในส่วนของ "บันทึกของผู้ต้องหา" ให้ครบถ้วน พร้อมลงลายมือชื่อ (ใบสั่งตัวจริงเก็บไว้เป็นหลักฐาน)
2. ไปที่ทำการไปรษณีย์แห่งใดก็ได้พร้อมแจ้งความจำนงว่าจะชำระค่าปรับทางไปรษณีย์
3. เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์จะมอบใบฝากธนาณัติในประเทศ และซองจดหมายจำนวน 2 ซอง เพื่อดำเนินการดังนี้

1. กรอกรายละเอียดในใบฝากส่งไปรษณีย์ธนาณัติใน ประเทศสั่งจ่าย "ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ" ณ ที่ทำการไปรษณีย์ปลายทางตามที่ระบุไว้ในใบสั่ง
2. จ่าหน้าซอง โดยซองแรกให้จ่าหน้าซองถึงหัวหน้าสถานีตำรวจ หรือหัวหน้าหน่วยงานตำรวจที่ออกใบสั่ง และซองที่สองให้จ่าตามที่อยู่ของผู้ขับขี่ หรือเจ้าของรถที่ได้กรอกไว้ในสำเนาใบสั่ง ส่วนของ "บันทึกผู้ ต้องหา" ตามข้อ 1 เพื่อจะส่งใบเสร็จรับเงินและใบอนุญาตขับขี่(หากถูกยึด) คืนให้
3. มอบเอกสารตามข้างต้นให้เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ พร้อมชำระค่า ปรับตามจำนวนที่ระบุไว้ในใบสั่ง และเงินค่าใช้บริการตามที่ที่ทำการไปรษณีย์เรียกเก็บ
4. เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ จะตรวจสอบความถูกต้อง และดำเนินการ ให้ต่อไป

ซึ่งข้อหานี้ก็จะรวมไปถึงผู้ใหญ่ โตๆ แล้วที่ยังไม่เคยมีใบอนุญาตขับขี่เลย แต่ยังกล้าท้ากฎหมายขับรถแบบเถื่อนๆ อยู่ ปัจจุบันกฎหมายกำหนดอายุผู้ที่จะทำใบขับขี่ทั้งรถยนต์ส่วน บุคคล และรถจักรยานยนต์จะต้องมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป หากขืนไปขับรถทั้งที่ยังไม่ได้ไปสอบได้ใบขับขี่ ก็มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ถ้าจะทำใบขับขี่เพื่อขอใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ (แท็กซี่) จะต้องมีอายุ 22 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และต้องเคยมีใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลมาไม่น้อยกว่า 1 ปี

ในกรณีที่ถูกตำรวจเรียกตรวจกัน ประจำเป็นเวลาพบว่าทำผิดกฎจราจร และมีการเรียกขอดูใบอนุญาตขับขี่ แต่กลับไม่พกติดตัวไว้ ก็จะมีความผิดข้อหาขับรถโดยไม่มีใบอนุญาตขับ รถที่จะแสดงได้ทันที มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

นอกจากนี้ปัจจุบันกรมการขนส่ง ทางบกไม่มีการออกใบอนุญาตขับขี่ประเภทตลอดชีพแล้ว มีแต่ใบอนุญาตขับขี่ประเภท 5 ปี ในระหว่างที่ใบอนุญาตเดิมหมดอายุ แล้วไปขับรถถูก ตำรวจจับก็จะมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท โทษเท่ากับข้อหายินยอมให้คนที่ไม่มีใบอนุญาตขับรถเข้าขับรถของตน ….รู้ไว้จะได้ไม่ถูก ปรับ



ผู้แต่ง / แหล่งที่มา : นิตยสารรถ Weekly  
 ผู้บันทึก : กองบรรณาธิการ
date : [ 08 ต.ค. 2556 ]
 


 
 

 
 

 
 

 
 

 
 

 
 
สาระน่ารู้
ข่าวรถมือสอง
เทคนิคเลือกยางเพื่อรถคู่ใจ ดูที่อะไรคุ้มสุด

ข่าวรถมือสอง
รถเปลี่ยนมือ อย่าลืมเปลี่ยนสิทธิ์ 5 เรื่องควรรู้ เพื่อปลดหนี้อย่างปลอดภัย

ข่าวรถมือสอง
คู่มือดูแลยางรับหน้าฝน: ดูแลยางอย่างไรให้ใช้ได้อย่างปลอดภัยและอุ่นใจ

ข่าวรถมือสอง
CARS24 แนะนำ 6 รถครอบครัวรุ่นฮิต ผ่อนเริ่มต้น 10,000 บาท

ข่าวรถมือสอง
ประโยชน์ของชุดปะยางฉุกเฉิน

ข่าวรถมือสอง
นิสสัน เทอร์ร่า แชร์เคล็ดลับการเดินทางกับเด็กเล็ก เคล็ดลับการเดินทางที่รับประกันว่าจะทำให้ทั้งครอบครัว

ข่าวรถมือสอง
7เหตุผลที่ลูกค้าเลือกใช้ มิตซูบิชิ ไทรทัน

ข่าวรถมือสอง
ฟอร์ดแนะเคล็ดลับขับขี่ปลอดภัยในเวลากลางคืน

ข่าวรถมือสอง
5 ฟีเจอร์ในรถฟอร์ดเอเวอเรสต์ผู้ช่วยของสุดยอดคุณแม่

ข่าวรถมือสอง
ฟอร์ดเผย 5 เคล็ด(ไม่)ลับของการขับออฟโรด

ข่าวรถมือสอง
ฟอร์ดแนะนำ4เคล็ดลับการรักษาสีรถให้เหมือนใหม่

ข่าวรถมือสอง
ไบค์เกอร์เท่านั้นที่รู้! เปิด 5 เหตุผล ทำไมไทรอัมพ์ มอเตอร์ไซเคิลส์ ถึงเป็นพรีเมียมบิ๊กไบค์ ที่ใครๆ ก็อยาก

ข่าวรถมือสอง
ฟอร์ดแนะเทคนิคขับรถทางไกลให้ประหยัดน้ำมัน

ข่าวรถมือสอง
5 วิธีขับรถลุยน้ำอย่างปลอดภัย

ข่าวรถมือสอง
แอร์รถสะอาด สำคัญกว่าที่คิด

   
   
 
   
 
 
 
 
ขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด
   Copyright © 2013 :By media ltd.