|
เตรียมตัวก่อนการเดินทาง ต้อนรับเทศกาลปีใหม่
ช่วงเทศกาลปีใหม่ ปลายปี 2556 หลายๆท่านกำลังวางแผนไปเที่ยวกัน จองที่พักกัน แต่สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือ การเตรียมพาหนะในการเดินทาง นั่นก็คือรถ ไม่ว่าจะเป็นมอเตอร์ไซต์หรือรถยนต์ ไม่ควรมองข้ามสิ่งเหล่านี้ครับ มาเริ่มกันเลยดีกว่าว่าเริ่มจากอะไรบ้าง
- ยาง สิ่งจำเป็นที่ต้องหมั่นตรวจสอบ ต้องเป็นยางที่อยู่ในสภาพดี และสิ่งที่ไม่ควรลืมก็คือยางอะไหล่ ที่ต้องเตรียมให้พร้อมอยู่เสมอ
- เบรก ตรวจตราให้มีความสมบูรณ์ และใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ ควรตรวจเช็คน้ำมันเบรค จานเบรก ปั๊มลม และควรมีน้ำมันเบรกสำรองไว้ด้วย
- น้ำ ในหม้อน้ำ ให้อยู่ในระดับมาตรฐานเสมอ
- น้ำกลั่น ในหม้อน้ำแบตเตอรี่ ให้อยู่ในระดับที่กำหนดไว้ ควรมีน้ำสำรองเก็บไว้ด้วย
- กระจกมองข้าง ทั้ง 2 ด้าน และกระจกมองหลังให้อยู่ในสภาพที่มองเห็นได้ชัดเจน
- น้ำมันเครื่อง ควรตรวจสอบว่าขาดหรือพร่องไปหรือไม่ ควรเติมให้ถึงขีดมาตรฐาน และควรมีสำรองติดรถไว้ด้วย
- น้ำมันเชื้อเพลิง ควรเติมให้เต็ม และควรคาดคะเน ตามเข็มวัดน้ำมัน และจำเป็นต้องเติมในจุดที่เหมาะสม
- เครื่องมือ ประจำรถและอะไหล่ต่างๆ ต้องมีติดรถไว้ให้พร้อมเสมอ
- เครื่องมือพยาบาล ติดรถไว้กรณีฉุกเฉิน หรือในกรณีเกิดอุบัติเหตุเล็กน้อย
ข้อคิดยามเดินทางไกล
- ควรแจ้งกำหนดการ ให้ผู้ที่อยู่ทางบ้าน และปลายทางทราบเสมอ เมื่อต้องการเดินทางไกล เพื่อตรวจสอบ เมื่อมีเหตุ หรือเห็นว่าผิดปกติ เช่น ล่าช้ากว่ากำหนด และเมื่อถึง ปลายทางแล้ว ควรแจ้งให้ทางบ้านทราบด้วย
- ข้อเตือนใจสำหรับนักเดินทาง ถ้าเส้นทางใดท่านไม่คุ้นเคย หรือต้องเดินทางตามลำพังในที่เปลี่ยว ไม่ควรไปในเส้นทางนั้น
- อย่าหยุดรถ หรือแวะรับคนข้างทางในที่เปลี่ยวโดยไม่จำเป็น
- นักเดินทางหลายรายเคยพบสิ่งไม่คาดคิด เมื่อคนร้ายอาจจะแกล้งขับรถชนท้ายรถท่านเพื่อให้ลงมาเจรจา แล้วใช้อาวุธปืนจี้ ปล้น เมื่อเกิดเหตุการณ์ทำนองนี้ ไม่ควรหยุดรถ แต่ควรเดินทางต่อไปจนถึงป้อมตำรวจ
- ศึกษาเส้นทาง หรือสอบถามเส้นทางจากผู้รู้ให้ละเอียด เพื่อที่จะไม่ต้องเสียเวลาเดินทางย้อนกลับทางเดิม
- การแซงรถ ควรปฏิบัติตามกฎจราจรเสมอ ไม่ควรแซงตรงทางแยก บนเนินเขา บนทางโค้ง และบนสะพาน
ข้อปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน
- กรณีกระจกแตก เมื่อถูกก้อนหิน ก้อนกรวดกระเด็นมาถูกกระจกแตก ข้อควรปฏิบัติคือ ชะลอความเร็วของรถ แล้วเข้าข้างทางทันที ถ้าเป็นกระจก 2 ชั้นยังพอจะขับต่อไปได้ หรืออาจจะทุบกระจกรถเก่าออกให้หมด แล้วโกยเศษแก้วออกมาให้มากที่สุด เมื่อต้องการจะขับรถต่อไปอีก ให้ไขกระจกข้างขึ้นจนมิด เพื่อป้องกันอาการส่ายของรถบน ถนน
- กรณีสุนัขวิ่งตัดหน้า ถ้าชะลอไม่ทันอาจจำเป็นต้องตัดสินใจชน มิฉะนั้นรถอาจเสียหลักได้ ถ้ากรณีที่เป็นสัตว์ใหญ่ไม่ควรบีบแตร เพราะจะทำให้สัตว์เหล่านั้นตกใจ และย้อน มาทำอันตรายได้
- กรณีหม้อน้ำรั่ว ถ้าหาอู่ไม่ได้ ให้ใช้วิธีการ โดยนำเอาสบู่ มาอุดรูรั่วไว้ก่อน เติมน้ำจนเต็ม แล้วขับไปให้อู่ซ่อมแซม
- กรณียางระเบิด เมื่อยางระเบิดกะทันหัน ต้องพยายามถือพวงมาลัยไว้ให้มั่นคง และพยายามบังคับรถเข้าข้างทางอย่างปลอดภัย และไม่ควรใช้เบรกอย่างกะทันหัน เพราะ จะทำให้รถเสียหลักพลิกคว่ำ ควรใช้เกียร์เป็นตัวชะลอความเร็ว โดยเปลี่ยนเป็นเกียร์ต่ำทันที กรณียางระเบิดที่ล้อหลังท้ายรถจะส่าย ควรถือพวงมาลัยให้มั่นคง และรักษาทิศ ทางให้ตรง ก็สามารถแก้ไขปัญหาได้ พยายามย้ำเบรกหลายๆ ครั้งติดกัน เพื่อให้น้ำหนักตกอยู่ข้างล้อที่ใช้งานได้ กรณียางระเบิดที่ล้อหน้า พยายามจับพวงมาลัยให้มั่นคง ใช้ เบรกให้เบาที่สุด ถ้าแฉลบไปทางใดต้องคืนพวงมาลัยกลับมาให้ตรงทิศทาง จนกว่าจะนำเข้าข้างทางเรียบร้อย
- กรณีคันเร่งน้ำมันค้าง ให้ใช้เบรกช่วยโดยไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยวกับคลัตช์ เพราะเมื่อเหยียบคลัตช์ จะทำให้รอบเครื่องยนต์สูงขึ้นทันที อาจจะทำให้เกิดความเสียหายได้ จะใช้ คลัตช์ในกรณีที่เปลี่ยนเกียร์เท่านั้น และเมื่อลดความเร็วลงมาอยู่ในอัตราที่ปลอดภัยแล้ว ใช้ปลายเท้าสอดเข้าไปใต้คันเร่งแล้วงัดขึ้นมา ถ้าคันเร่งไม่ขึ้น ก็พยายามนำรถเข้า ข้างทาง แล้วปิดสวิตช์การทำงานทันที
ข้อควรระวัง
- การปิดสวิตช์กุญแจ ควรปิดไว้ที่ตำแหน่ง OFF อย่าปิดที่ LOCK เพราะจะทำให้พวงมาลัยทำงานไม่ได้
- กรณีฝากระโปรงรถเปิดเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ฝากระโปรงเปิดจนปิดกระจกบังลมหน้า การแก้ไขควรชะลอ และมองดูรถคันหลังด้วยว่ากระชั้นชิดหรือไม่ อย่าหยุดรถกะทันหัน เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุได้ นำรถเข้าข้างทาง แล้วปิดให้เรียบร้อย
- เมื่อความร้อนขึ้นสูงผิดปกติ ให้รีบลดความเร็ว แล้วนำรถเข้าข้างทาง ตรวจดูรอยรั่วของหม้อน้ำ และข้อต่อต่างๆ สายพาน ถ้ามีน้ำพอ ให้ใช้น้ำราดลงหม้อน้ำได้เลย แต่ถ้า มีน้ำไม่พอ คอยให้เครื่องเย็น แล้วจึงเติมน้ำลงในหม้อน้ำ
- ถ้าที่ปัดน้ำฝนไม่ทำงาน พยายามนำรถเข้าหาอู่ หรือถ้าฝนตกหนักควรจอดพักดีกว่า
- กรณีรถสตาร์ทไม่ติด เกิดจากแบตเตอรี่ไม่มีไฟ ให้พยายามลาก หรือเข็น แล้วสตาร์ทกระตุก โดยให้ใช้เกียร์ 2 เหยียบคลัตช์ เมื่อความเร็วได้ที่ปล่อยคลัตช์ แล้วเหยียบคัน เร่ง หรือให้ใช้สายแบตเตอรี่พ่วงกับรถคันอื่น แล้วสตาร์ท
อุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้ยามเดินทางไกล
- อุปกรณ์สำหรับการเปลี่ยนยาง แม่แรง กากบาทถอดล้อ
- อุปกรณ์ส่องสว่าง ประเภทไฟฉาย ควรติดรถไว้ตลอด
- อุปกรณ์สำหรับการลากจูง
- อุปกรณ์สำหรับการพ่วงไฟ เช่น สายพ่วงแบตเตอรี่
- หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน ทั้งตำรวจทางหลวง และตำรวจท่องเที่ยว
- น้ำเปล่าสำหรับเติมหม้อน้ำ
- น้ำมันเครื่อง
ผู้แต่ง / แหล่งที่มา :
นิตยสารรถ Weekly
ผู้บันทึก :
กองบรรณาธิการ
date : [ 20 ธ.ค. 2556 ]
|
|
|