|
10 พฤติกรรมผู้บริโภคที่จะเปลี่ยนไปมีผลกระทบต่อแบรนด์สินค้า
รายงาน แนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคประจำปีครั้งที่สองของฟอร์ดระบุว่า ในปี 2557 ผู้บริโภคจะมีการประเมินพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีของตนเอง โดยพิจารณาความสมดุลระหว่างความกลัวที่จะตกข่าวกับความสงบสุขเมื่อได้หยุดใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์การสื่อสารบ้าง รายงานยังแจ้งว่าผู้บริโภคปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหันมาใส่ใจกับการบริหารเวลาในชีวิตประจำวัน โดยให้ความสำคัญกับสุขภาพ สังคม และสิ่งแวดล้อม มากขึ้น Ford เผย 10 เทรนด์ ที่จะมีผลกระทบต่อผู้บริโภคในปี 2557 และในอนาคต เทรนด์ พฤติกรรมผู้บริโภคประจำปีครั้งที่2 ของ Ford เผยว่าในปี 2557 ผู้บริโภคจะเริ่มทบทวนถึงความสมดุลระหว่างความต้องการในการเชื่อมต่อกับเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลาหรือหยุดพักการเชื่อมต่อเพื่อจะได้มีเวลาให้กับตนเองมากขึ้น รายงาน “Looking further with Ford 2014” เผย 10 เทรนด์ รับปีใหม่ของผู้บริโภคทั่วโลกเกี่ยวกับการเลือกใช้เทคโนโลยีและการสื่อสาร “นวัตกรรมแห่งความสงบ” คือสุดยอดแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคในปี 2557 ผู้บริโภคยังคงความต้องการติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวในสังคมและกลัวที่จะพลาดข่าวสารที่สำคัญ หรือเริ่มต้นที่จะพบความสุขเมื่อหยุดหมกมุ่นกับเทคโนโลยีอย่างที่ผ่านมา รายงาน “Looking further with Ford 2014” เผยว่า ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะใช้เวลาเพื่อไตร่ตรองสิ่งสำคัญสำหรับชีวิตเขาจริงๆ เพื่อน ครอบครัว หรือสังคม ผู้บริโภคเริ่มคิดถึงการใช้ชีวิต การมีปฎิสัมพันธ์ต่อผู้คนและสิ่งแวดล้อมรอบตัวแบบในอดีต “เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบที่มีทั้งด้านบวกและด้านลบนี้ได้ ผลสะท้อนของวัฒนธรรมในสังคมต่อการเติบโตอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่น่าสนใจและติดตามมากในปีนี้ นายเชอเรย์ คอนเนลลี่ ผู้จัดการฝ่ายวิจัยเทรนด์ในอนาคตทั่วโลก ของฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี กล่าว ” ทั้งนี้ จะเห็นวัฒนธรรมของผู้บริโภคที่ตระหนักถึงความจำเป็นในการรักษาทรัพยากรที่มีคุณค่าและไม่สามารถหามาทดแทนได้” 10 เทรนด์ พฤติกรรมผู้บริโภคที่ Ford คาดว่าจะมีผลกระทบต่อแบรนด์ต่างๆในปี 2557 มีดังนี้ 1. “นวัตกรรมแห่งความสงบ” (Innovation’s Quiet Riot): ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีได้เปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตของสังคมอย่างรวดเร็วทั้งวิธีการทำงาน การใช้ชีวิต และวิธีการสื่อสาร 2. วันวานยังหวานอยู่ (Old School): ผู้บริโภคโหยหาอดีตที่คุ้นชิน จึงมองหาผลิตภัณฑ์หรือแบรนด์ที่สามารถตอบสนองความรู้สึกสบายใจที่เคยมีในอดีตได้ 3. แบรนด์ของฉัน (Meaningful vs. the Middle Man): ผู้บริโภคไขว่คว้าหาสินค้าและบริการที่บ่งบอกเอกลักษณ์ความเป็นตัวตนของเขา 4. รู้ไหมฉันคือใคร (Statusphere): พฤติกรรมผู้บริโภคทั่วโลกต้องการแสดงออกถึงความมั่งคั่ง บางทีก็แสดงออกอย่างชัดเจนเพื่อเรียกร้องความสนใจ บางครั้งก็บอกอย่างอ้อมๆ และทำให้การแสดงออกทางสถานะแบบเดิมสิ้นสุดลง 5. แข่งขันเพื่อเหตุผลของตนเอง (Vying for Validation): ในโลกของการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีทั้งในสื่อดั้งเดิมและสื่อดิจิตอล ผู้บริโภคแสดงความเป็นตัวตนสู่สาธารณะมากขึ้นเพื่อสำรวจผลตอบรับของสังคมที่มีต่อการมีตัวตนของเขา มากกว่าการแสดงความเป็นตัวของตัวตนที่แท้จริง 6. FOMO vs JOMO การชั่งน้ำหนักระหว่างการกลัวการตกเทรนด์หรือความสุขสงบที่ไม่ต้องรู้ทุกเรื่องก็ได้ (Fear of Missing Out (FOMO)/Joy of Missing Out (JOMO): เสมือนเป็นการที่ผู้บริโภคกำลังชักเย่อความรู้สึกของตัวเอง ว่าจะอยู่เพื่อรับรู้ทันข่าวทั่วโลกตลอดเวลาหรือควรใช้เวลาให้กับสิ่งที่สำคัญในชีวิตพวกเขาอย่างแท้จริง 7. โมเม้นท์เล็กๆก็มีความหมาย (Micro Moments): กับข้อมูลข่าวสารมากมายที่อยู่แค่ปลายนิ้วสัมผัส เวลาแค่นิดเดียวกลับทำให้ชีวิตเต็มไปด้วยข้อมูล ความรู้ ความบันเทิง เหมือนชีวิตถูกอัดด้วยข้อมูลตลอดเวลา 8. พหุภาระ (Myth of Multitasking): โลกที่เต็มไปด้วยหลากหลายจอในเวลาเดียวกันทำให้เราสามารถทำอะไรหลายๆ อย่างได้รวดเร็วในเวลาเดียวกัน แต่กลับทำให้ประสิทธิภาพของงานที่ได้ในแต่ละชิ้นนั้นลดลง และหลายครั้งที่มีผลต่อความปลอดภัยในชีวิตอีกด้วย 9. ผู้หญิงแถวหน้า (Female Frontier): ผู้หญิงจะมีบทบาทและความสามารถมากขึ้นในสังคม โดยผู้หญิงจะมีบทบาทและความรับผิดชอบเสมอผู้ชายในปี 2557 10. การอนุรักษ์น้ำอย่างยั่งยืน (Sustainability Blues): กระแสการตื่นตัวของการรักษาสิ่งแวดล้อมยังดำเนินต่อไป ซึ่งผู้บริโภคจะให้ความสนใจมากกว่าการรีไซเคิลและการใช้ชีวิตแบบอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยผู้บริโภคจะเริ่มใส่ใจถึงการอนุรักษ์พลังงานและทรัพยากรน้ำมากขึ้นควบคู่กันไป
ผู้แต่ง / แหล่งที่มา :
นิตยสารรถ Weekly
ผู้บันทึก :
กองบรรณาธิการ
date : [ 27 ม.ค. 2557 ]
|
|
|