เปรียบเทียบการทำงานของเอบีเอสแบบง่ายๆ ว่าคนกำลังวิ่ง หากจะหยุดเร็วๆ แบบฉับพลัน ถ้าไม่มีเอบีเอสแล้วพื้นแห้ง ก็เท่ากับหยุดซอยเท้าเกือบจะทันที พื้นรองเท้าก็ครูดกับพื้นไปไม่ไกล แต่ถ้าเป็นพื้นน้ำแข็งลื่นๆ การหยุดซอยเท้าในทันที ตัวจะยังพุ่งไป ทั้งที่เท้าหยุดลงแล้ว ก็จะลื่นไถลไปไกลแบบเคว้งคว้าง ถ้ามีเอบีเอส ก็จะเหมือนมีการค่อยๆ ชะลอการซอยเท้า สักพักแล้วจึงหยุดนิ่ง แม้จะหยุดบนน้ำแข็งก็จะไม่ปัดเป๋ แต่ถ้าจะหยุดพื้นเรียบและฝืด การชะลอการซอยเท้าให้ช้าลง ค่อยๆ ช้าลง อาจใช้ระยะมากกว่าการหยุดทันทีและปล่อยให้พื้นรองเท้าครูดไปสั้นๆ การขับรถที่มีเอบีเอสก็อย่าชะล่าใจ เพราะช่วยได้ในบาง สถานการณ์เท่านั้น การเบรกในสภาพถนนเมืองไทยกว่า 95% เอบีเอสไม่ได้ทำงาน แต่การที่มี เอบีเอส ย่อมดีกว่าไม่มี ถ้ามีโอกาสเลือกซื้อรถที่มี ก็ไม่ควรมองข้าม เพราะเอบีเอสไม่ได้ช่วยตอนเบรกแรงๆ เท่านั้น เบรกเกือบแรง แต่ถนนลื่น ล้อก็ล็อกและเอบีเอสก็ช่วยได้ ถนนที่ลื่น ไม่ได้เกิดจากฝนตกเท่านั้น ถ้ามีฝุ่นทรายมาก ถนนก็ลื่นได้ การป้องกันล้อล็อก ไม่ได้ช่วยเฉพาะถนนลื่นๆ ตลอดทั้งพื้นเท่านั้น แต่การลื่นเฉพาะล้อ ไม่ครบทั้ง 4 ล้อ หากมีการเบรกแรงสักหน่อย ล้อก็มีโอกาสล็อกเฉพาะในล้อที่ลื่น แล้วรถก็หมุน! เช่น การลงไหล่ทางเฉพาะ 2 ล้อด้านซ้าย ถ้าไม่มีเอบีเอส แล้วกดเบรกแรงๆ รถจะปัดเป๋ เพราะล้อด้านซ้ายจะล็อกตัวหยุดหมุน เอบีเอส ช่วยให้ล้อไม่ล็อก และช่วยไม่ให้รถปัดเป๋ได้ แต่ระยะเบรกอาจยาวได้ในบางกรณี จึงควรเบรกพร้อมกับการหาทิศทางหักหลบ ถ้าจำเป็นต้องหลบ ถ้าต้องเบรกแบบหนักๆ สำหรับรถที่มีเอบีเอส ให้กดเบรกแช่ลงไปเลย เพราะการถอนเท้าเพื่อย้ำเบรกใหม่ เอ บีเอสจะตัดการทำงานและกว่าจะกลับมาทำงานก็อีกหลายเสี้ยววินาที
ถ้าไฟเตือนเอบีเอสไม่ยอมดับหลังการบิดกุญแจไว้ 3-5 วินาที หรือสว่างขึ้นขณะขับ แสดงว่าว่าเอบีเอสมีความบกพร่องให้ทดลองเบรกบนถนนว่างๆ ว่า น้ำหนักการกดแป้นเบรกและการเบรกยังปกติหรือไม่ ส่วนใหญ่แล้วการที่เอบีเอสบกพร่อง จะเป็นแค่ไม่มีการป้องกันล้อล็อก แต่ระบบเบรกพื้นฐานยังใช้งานได้ เป็นเสมือนเป็นรถที่ไม่มีเอบีเอส แต่ยังมีเบรก สามารถขับต่อไป ได้ด้วยความระมัดระวัง และนำรถไปซ่อมเอบีเอสต่อไปการมองไปข้างหน้ากับการเบรกเกี่ยวข้องกัน ยิ่งขับเร็วยิ่งต้องมองไปข้างหน้าในจุดที่ไกลขึ้น เพราะระยะเบรก จะยาวขึ้น ไม่ใช่เพราะความเร็วที่มากจะทำให้เบรกต้องทำงานหนักขึ้น แต่เป็นเพราะแต่ละเสี้ยววินาทีที่ผ่านไป รถได้ผ่านระยะทางมากขึ้นเรื่อย เราใช้หน่วยการวัดที่คุ้นเคยเป็นกิโลเมตร/ชั่วโมง จึงไม่ค่อยรู้ว่าความเร็ว ที่ใช้นั้นเร็วขนาดไหน เพราะชั่วโมงดูแล้วนานต้องเทียบเป็นวินาที เปรียบเทียบเป็นหน่วยเมตร/วินาที จะชัดเจนกว่า ที่ความเร็ว 100 กม./ชม. เท่ากับ 28 เมตร/ 1 วินาที ถ้านึกว่า 28 เมตรไกลแค่ไหนไม่ออก นึกถึงสนามฟุตบอลตามยาว จากเสาประตูหนึ่งไปยังอีกฟาก เท่ากับ 100 เมตร 100 กม./ชม. = 28 เมตร/วินาที 1 สนามฟุตบอลตามยาว ใช้เวลารถแล่นผ่าน 3 วินาทีกว่าๆ เท่านั้นที่ความเร็ว 150 กม./ชม. = 42 เมตร/วินาที 1 สนามฟุตบอลตามยาว ใช้เวลารถแล่นผ่านเกือบๆ 2.5 วินาทีเท่านั้นที่ความเร็ว 200 กม./ชม. = 56 เมตร/วินาที 1 สนามฟุตบอลตามยาว ใช้เวลารถแล่นผ่านเกือบๆ 2 วินาทีเท่านั้นระยะทาง / วินาทีที่รถแล่นได้ นอกจากจะโยงไปถึงเรื่องการเบรก ยังอยากจะบอกว่าเวลาขับรถเร็วนั้นๆ และอันตรายขนาดไหน ถ้า 150 กม./ชม. ใช้เวลา 1 วินาทีกับระยะทาง 42 เมตร
สมมุติว่าเราเห็นสิ่งกีดขวางแล้วต้องเบรก หากการตอบสนองของสมองและเท้าขวา ต้องใช้เวลากว่าจะเริ่มกดแป้น เบรกครึ่งวินาที ก็เท่ากับว่ารถแล่นไปอีก 21 เมตรแล้ว ทั้งที่เบรกยังไม่ได้ทำงาน นี่ยังไม่นับว่าผ้าเบรกจะใช้เวลา และระยะทางอีกกี่วินาทีในการหยุด สมมุติต้องใช้ระยะเบรกอีก 30 เมตร ก็รวมเป็น 51 เมตรตั้งแต่ตาเริ่มเห็น ดังนั้นยิ่งขับเร็วยิ่งต้องมองไกล นั่นก็เป็นที่มาของการมองทะลุกระจกรถคันหน้าด้วย เพราะจะได้ประเมินสถานการณ์ได้ล่วงหน้า การกดแป้นเบรกนับตั้งแต่เริ่มมองเห็น คนส่วนใหญ่ใช้เวลาประมาณ 0.3-0.5 วินาที รถที่ไม่มีเอบีเอส กับการเบรกบน ถนนลื่น หรือเบรกกะทันหัน ก็ต้องเบรกไม่แรงจนล้อล็อก ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก แต่ถ้าทำได้ ก็จะดี คือ ตั้งสติ เบรกลงไป ถ้าล้อล็อกก็ให้ถอนแป้นเบรกแล้วกดซ้ำๆ หรือเรียกว่าย้ำเบรก ซึ่งยังไงก็ไม่มีความถี่เท่ากับเอบีเอส ที่ใช้อิเล็กทรอนิกส์ควบคุม แต่ก็ยังดีกว่าตะลึงแล้วกดเบรกแช่ เพราะอย่างนั้นล้อจะล็อกหรือรถอาจปัดเป๋ ถ้าว่างก็หาถนนโล่งกว้าง กดเบรกแล้วดูว่ารถที่ขับนั้นกดเบรกแรงแค่ไหนล้อถึงจะเริ่มล็อก ทำซ้ำๆ จนจำแรงกดได้ นั่น คือการเบรกที่ดี การเบรกเพื่อ ลดความเร็ว คำแนะนำการเบรกที่ง่ายและถูกต้อง แต่อาจจะขัดกับความรู้และการปฏิบัติดั้งเดิมของหลายคน ว่าการเบรกที่ดี ต้องเชนจ์เกียร์ แต่ปฏิบัติง่าย คือ เบรกเพียงอย่างเดียว ไม่ต้องยุ่งกับการลดเกียร์ต่ำ หรือพูดแสลงว่า ไม่ต้องเชนจ์เกียร์ช่วย เพราะระบบเบรกก็ทำงานได้เพียงพออยู่แล้ว
ในหลักการขับรถอย่างปลอดภัย ในต่างประเทศแห่งหนึ่ง บอกว่า BRAKE TO SLOW / GEAR TO GO แปลตรงตัว เบรกเพื่อให้ช้า จะไปต่อก็ด้วยเกียร์ที่เหมาะสม การลดเกียร์ต่ำเพื่อใช้เอนจิ้นเบรก หรือใช้เครื่องยนต์ช่วงหน่วง บนทางเรียบ มีประโยชน์น้อยมากและไม่จำเป็นต้องทำ เพราะจะทำให้เสียสมาธิการกดเบรก ระบบเกียร์ และเครื่องยนต์สึกหรอมากขึ้น แต่ช่วยในการเบรกได้นิดเดียว สามารถทดลองทำดูว่า ถ้าขับรถอยู่ที่เกียร์สูงแล้ว ลดเกียร์ต่ำลงอย่างเดียว รถจะถูกหน่วงความเร็วลงน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับการกดเบรกอย่างเดียว ที่ทำให้แทบ จะหยุดกึ๊กเลย การเบรกพร้อมกับการเชนจ์เกียร์ช่วยเบรก นอกจากแทบจะเปล่าประโยชน์ตามที่บอกไว้ข้างต้นแล้ว ยังทำให้รถมีการถ่ายน้ำหนักหน้า-หลังไป-มา แบบกระดกไป กระดกมาอีกด้วย เบรก มีไว้เพื่อหยุดหรือชะลอ โดยไม่ต้องใช้เกียร์ช่วย ในรถเกียร์ธรรมดา หากจะลดเกียร์ต่ำ ก็เพื่อเตรียมปล่อยคลัตช์เมื่อเลิกเบรกแล้วจะ เร่งต่อแล้ว ไม่ใช้การลดเกียร์เพื่อช่วยเบรกในการขับปกติ
การเบรกเพื่อจอด ไม่ต้องยุ่งกับเกียร์เลยครับ ก่อนจอดค้างอยู่เกียร์ไหนก็เกียร์นั้น ในรถเกียร์ธรรมดา แนะนำให้เบรก โดยไม่ต้องยุ่ง กับการเชนจ์เกียร์และไม่ต้องแตะคลัตช์ เมื่อรถเกือบหยุดสนิทแล้วค่อยเริ่มเหยียบคลัตช์ลงไปและเหยียบให้สุด เมื่อหยุดแล้ว ค่อยปลดเป็นเกียร์ว่าง นอกจากการเชนจ์เกียร์ต่ำจะไม่ค่อยได้ประโยชน์แล้ว การเหยียบคลัตช์ลงไปพร้อมๆ กับการเบรก ก็เป็นเสมือนการปลดเกียร์ว่างแล้วเบรก ซึ่งจะทำให้รถไม่มีแรงหน่วงจากเครื่องยนต์ เหยียบเบรกเพื่อจอด ก็เบรกอย่างเดียว เมื่อจะจอดสนิทก็ค่อยเหยียบคลัตช์ ส่วนรถเกียร์อัตโนมัติกับการเบรกเพื่อจอดก็คล้ายกัน เบรกอย่าง เดียวไม่ต้องยุ่งกับการลดเกียร์ใดๆ และก็ไม่ควรปลดเป็น เกียร์ว่าง เพราะนอกจากรถจะมีแรงเฉื่อยมากขึ้นแล้ว ยังไม่เป็นผลดีต่อเกียร์ หากรถยังไม่หยุดสนิทแล้วต้องผลักกลับมาที่เกียร์ D-เดินหน้า ชุดคลัตช์ในเกียร์จะทำงานหนักกว่าการออกตัวจากจุดหยุดนิ่ง การเบรกพร้อมกับการเปลี่ยนเลน หรือเปลี่ยนเลนเสร็จแล้ว เบรกทันที อันตรายต่อท้ายรถของคุณ เทคนิคการเบรกอย่าง ปลอดภัย ไม่ยุ่งยากถ้าเรียนรู้และทำความเข้าใจ…