การติดตั้ง
ติดตั้งก๊าซกับสถานบริการที่ได้มาตรฐาน มีวิศวกรประจำอู่ควบคุมการติดตั้งทุก ขั้นตอน ไม่ติดตั้ง แก้ไขดัดแปลงอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานของระบบก๊าซด้วยตนเองอย่างเด็ดขาด เลือกใช้อุปกรณ์ที่เป็นของใหม่ ได้มาตรฐานตามที่ กรมการขนส่งทางบกกำหนด และออก แบบมาสำหรับติดตั้งในรถยนต์เท่านั้น เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดจากการติดตั้งและการใช้อุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน
การดูแลรถที่ใช้ก๊าซ
- ตรวจสอบถังก๊าซและน็อตยึดถังก๊าซให้อยู่ในสภาพ สมบูรณ์ รวมถึงใช้น้ำสบู่ ตรวจรอยรั่วซึมของก๊าซตามข้อต่อต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ หากพบรอยรั่วซึมให้นำรถไปให้ช่างผู้ชำนาญการ ตรวจสอบแก้ไข
- เติมก๊าซจากศูนย์บริการที่ได้มาตรฐาน และไม่เติมก๊าซเกินแรงดันและความจุ ของถังก๊าซ เพราะจะทำให้ถังก๊าซเสื่อมสภาพและเสี่ยงต่อการระเบิด
- จอดรถในบริเวณที่โล่งและอากาศถ่ายเทสะดวก หากจอดรถทิ้งไว้เป็นเวลานาน ให้ปิดวาล์วที่ถังก๊าซ เพื่อป้องกัน ระบบวาล์วไฟฟ้าทำงานบกพร่อง ทำให้เกิดการระเบิดหรือเพลิงไหม้ได้
- ขับรถด้วยความเร็วไม่เกิน 90 กม./ชม. หากเกิดเหตุฉุกเฉินจะช่วยลดแรงปะทะ และความเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้
ข้อควรปฏิบัติกรณีเกิดอุบัติเหตุ
- จอดรถ ดึงเบรกมือ เปิดกระจกรถ ดับเครื่องยนต์โดยปิดสวิทซ์พร้อมดึงกุญแจ รถออก เปิดฝากระโปรงหน้า และหลังรถ จากนั้นให้รีบลงจากรถ เพื่อสังเกตความผิดปกติ (กรณีเป็นถังแบบใช้มือหมุน ให้ปิดวาล์วที่ถังก๊าซ) หากได้กลิ่นก๊าซหรือได้ยินเสียงก๊าซรั่วไหล ให้รีบออก ห่างจากรถในทันที และห้ามกระทำการใดๆ ที่ทำให้เกิดประกายไฟ พร้อมโทรแจ้งหน่วยฉุกเฉิน
- กรณีเกิดเพลิงไหม้ ให้รีบโทรแจ้งหน่วยฉุกเฉิน หากเพลิงไหม้เล็กน้อยให้ใช้ถัง ดับเพลิงฉีดพ่นบริเวณต้นเพลิง หากเพลิงไหม้ลุกลามอย่างรวดเร็วให้รีบออกห่างจากรถโดยเร็วที่สุด
- หลังประสบอุบัติเหตุแม้รถจะสามารถใช้งานได้ตามปกติ แต่เพื่อความปลอดภัย ควรเปลี่ยนไปใช้ระบบน้ำมัน และนำรถไปตรวจสอบระบบก๊าซจากช่างผู้ชำนาญการ เนื่องจากถังก๊าซอาจได้รับการกระทบกระเทือน ทำให้ก๊าซรั่วไหลได้
ข้อควรรู้สำหรับรถใช้ก๊าซ
ไม่ติดตั้งอุปกรณ์ที่ใช้ กำลังไฟสูงเกินไป เช่น เครื่องเสียง ขนาดใหญ่ ไฟซีนอน เป็นต้น เพราะหากไฟฟ้าลัดวงจรจะทำให้ เกิดเพลิงไหม้ได้ ควรติดตั้งถังดับเพลิง ขนาดเล็กไว้ภายในรถ หากเกิด เหตุฉุกเฉิน จะได้สามารถระงับเหตุด้วยตนเองในเบื้องต้น