‘เมกเกอร์สเปซ’ที่โรงงานเอฟทีเอ็มประกอบไปด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีอันทันสมัยที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการสร้างสรรค์ผลงานทั้งเครื่องพิมพ์สามมิติพื้นที่เสนอไอเดียสร้างสรรค์พื้นที่ระดมความคิดในการหาไอเดียดีๆอุปกรณ์เชื่อมต่อแบบอินเตอร์แอคทีฟที่ช่วยให้ทีมวิศวกรไทยสามารถสื่อสารกับทีมวิศกรจากทั่วโลกได้อย่างง่ายดายรวมไปถึงพื้นที่พักผ่อนที่พนักงานสามารถเข้ามาผ่อนคลายได้
มร. อัมมัดบาติผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรมเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์โรงงานฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ประเทศไทยกล่าวว่า “เมกเกอร์สเปซช่วยผลักดันวัฒนธรรมการทำงานแบบผู้ประกอบการภายในองค์กรโดยทีมงานของเราสามารถมองเห็นและเข้าใจได้ว่าความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมของพวกเขามีส่วนช่วยพัฒนาคุณภาพของรถยนต์ที่เราผลิตได้พนักงานทุกคนสามารถนำเสนอไอเดียได้อย่างอิสระและเราจะช่วยกันคิดและทำไอเดียนั้นให้เป็นรูปธรรมขึ้นมาเพื่อให้งานพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเราประสบความสำเร็จ”
‘เมกเกอร์สเปซ’มีบทบาทสำคัญในการต่อยอดความเชี่ยวชาญของทีมออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อผลักดันให้รถยนต์ฟอร์ดเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีในการขับขี่ที่ทันสมัยพร้อมทั้งช่วยให้เกิดการพัฒนาในกระบวนการผลิตและประกอบรถยนต์ให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากยิ่งขึ้นเพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าฟอร์ดในประเทศไทยและอีกกว่า 180 ประเทศทั่วโลก
“เสียงตอบรับจากลูกค้ามีความหมายกับเรามากเรารับฟังและพยายามมองหาโอกาสที่จะพัฒนารถยนต์ของเราให้ดีขึ้นเสมอซึ่งในอนาคตข้อมูลที่เราได้รับจากการเชื่อมต่อข้อมูลในรถยนต์จะช่วยให้เราเข้าใจการใช้งานของลูกค้าได้ดีมากยิ่งขึ้น”มร. อัมมัดกล่าวเสริม
‘เมกเกอร์สเปซ’ช่วยให้ทีมงานสามารถกำหนดไอเดียในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างชิ้นส่วนต้นแบบและร่วมมือกับฝ่ายผลิตในการประกอบและติดตั้งชิ้นส่วนตัวอย่างลงในรถรุ่นปัจจุบันโดยสามารถทดลองประกอบและพัฒนาคุณภาพของชิ้นส่วนนั้นๆให้ดียิ่งขึ้นได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำเพื่อให้ตรงตามความต้องการของลูกค้ามากที่สุด
นอกจากจะปรับโฉมออฟฟิศสี่เหลี่ยมธรรมดาให้กลายมาเป็นพื้นที่ทำงานที่ให้ความคล่องตัว มีสีสัน และเปิดกว้างให้ทีมงานสามารถคิดไอเดียใหม่ๆออกมานำเสนอแล้ว‘เมกเกอร์สเปซ’ยังเปิดโอกาสให้ทีมวิศวกรของฟอร์ดได้ก้าวข้ามขีดจำกัดเดิมๆ ด้วยการพัฒนาความเชี่ยวชาญและเพิ่มองค์ความรู้ใหม่ๆ ในการออกแบบและพัฒนารถยนต์
ผลงานสำคัญอีกชิ้นหนึ่งของทีม คือ การร่วมมือกับทีมวิศวกรจากฟอร์ดออสเตรเลียในการออกแบบแผ่นเปิด-ปิดฝากระบะท้ายควบคุมด้วยไฟฟ้า (Power Roller Shutter)เป็นครั้งแรกของฟอร์ด ที่ช่วยให้เจ้าของรถกระบะฟอร์ดหมดกังวลกับสภาพอากาศ เมื่อวางสัมภาระไว้ในกระบะง่ายๆ เพียงแค่กดปุ่มเท่านั้น
นอกจากนี้ ในช่วงแรกของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 วิศวกรฟอร์ดได้นำความรู้และความชำนาญด้านการออกแบบวิศวกรรมยานยนต์มาใช้สร้างสรรค์ผลงานเพื่อสังคม เพื่อช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นแนวหน้าในการต่อสู้กับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค
“ทีมงานได้ร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพัฒนาและผลิตต้นแบบเครื่องช่วยหายใจต้นทุนต่ำเพื่อใช้กับผู้ป่วยโรคโควิด-19 และยังได้ร่วมกับนักศึกษาจากสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ออกแบบและพัฒนาหุ่นยนต์ที่ทำหน้าที่ส่งเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้กับทีมแพทย์และพยาบาลซึ่งหุ่นยนต์ดังกล่าวช่วยลดความเสี่ยงในการสัมผัสขณะที่แพทย์และพยาบาลกำลังปฏิบัติหน้าที่โดยโครงการนี้เป็นหนึ่งในโครงการวอร์ดอัจฉริยะแห่งแรกของประเทศไทยที่โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์”มร. อัมมัดกล่าว