ด้วยความร่วมมือจากหลากหลายหน่วยงาน องค์กร และกลุ่มต่างๆ ประกอบด้วย บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชมรมแพทย์ชนบท, HackVax Open Design,บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), มูลนิธิซิโก้,QueQ, บริษัท บางกอกกล๊าส จำกัด (มหาชน),บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด(มหาชน), บริษัท ที.ซี.ฟาร์มาซูติคอล อุตสาหกรรม จำกัด,บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน),บริษัทเทค เบสแคมป์ จำกัด และกลุ่มออร์แกไนเซอร์ จิตอาสาได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งต่อความช่วยเหลือในช่วงวิกฤติโควิด-19 ในประเทศไทย ผ่านการให้บริการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit หรือ ATK ให้แก่ประชาชนในกรุงเทพฯและปริมณฑล เพื่อเป็นอีกทางเลือกในการตรวจเชิงรุกเพื่อร่วมยับยั้งและป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อในช่วงต้นเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา โดยมีทีมปฏิบัติการจากชมรมแพทย์ชนบทกว่า 41 ทีม เข้าร่วมปฏิบัติการในครั้งนี้
นอกเหนือจากการอำนวยความสะดวกในการรับส่งทีมเทคนิคการแพทย์และทีมงานจากโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาที่ต้องออกปฏิบัติการตามจุดตรวจต่าง ๆ ด้วยรถยนต์บีเอ็มดับเบิลยู X1 xDrive20d และรถยนต์มินิ คูเปอร์ เอส คันทรีแมนรวม 6 คัน โดยบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทยแล้ว ส่วนสำคัญของการให้บริการครั้งนี้คือความร่วมมือจากหลากหลายภาคส่วนเพื่อร่วมกันกับชมรมแพทย์ชนบทที่ได้เข้ามาตรวจประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครโดยมีประชาชนเข้าตรวจทั้งสิ้นกว่า 145,000คน ครอบคลุมพื้นที่จุดให้บริการกว่า 369 ชุมชน
การให้บริการตรวจหาเชื้อโควิด-19 เชิงรุกครั้งนี้ยังได้รับความสนับสนุนจากHackVax Open Design, บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), มูลนิธิซิโก้,QueQ, บริษัท บางกอกกล๊าส จำกัด (มหาชน),บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด(มหาชน), บริษัท ที.ซี.ฟาร์มาซูติคอล อุตสาหกรรม จำกัด,บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), บริษัทเทค เบสแคมป์ จำกัด,และกลุ่มออร์แกไนเซอร์ จิตอาสา ที่ร่วมเป็นกำลังสำคัญช่วยให้การดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งต่อความช่วยเหลือในช่วงวิกฤติโควิด-19 เป็นไปได้อย่างเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ ทั้งยังเป็นอีกทางหนึ่งในการช่วยลดการแพร่ระบาดในไทย
ปฏิบัติการตรวจหาเชื้อโควิด-19เชิงรุกในกรุงเทพฯ ของชมรมแพทย์ชนบท มีเป้าหมายเพื่อลงพื้นที่ตรวจ
คัดกรองผู้ติดเชื้อให้ได้มากที่สุดด้วยชุดตรวจAntigen Test Kit หรือ ATK เพื่อให้การรักษาด้วยการจ่ายยา
ฟาวิพิราเวียร์ และนำผู้ป่วยเข้าสู่ระบบ Home Isolation อย่างทันท่วงทีโดยบุคลากรด่านหน้าจากชมรมแพทย์ชนบททั้ง 41 ทีม รวมกว่า 400 คน ได้ดำเนินการตรวจเชื้อเชิงรุกเป็นเวลากว่า 7วัน ระหว่างวันที่ 4 – 10สิงหาคม พ.ศ. 2564 ใน 196 จุดตรวจ ครอบคลุม 369 ชุมชน จึงสามารถตรวจคัดกรองประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลได้กว่า 145,566 คน ซึ่งในจำนวนนี้ พบเป็นผลบวกจำนวน 16,186รายคิดเป็นอัตราการติดเชื้อ 11.1% และได้แจกยาฟาวิพิราเวียร์ให้กับผู้ป่วยเหล่านี้ไปทั้งหมดรวม 467,150 เม็ด