จำนวนผู้เข้าชม : 68 ครั้ง
End Page
 
 
เมอร์เซเดส-เบนซ์ ประเทศไทย พร้อมส่งออก “Mercedes-Benz S-Class” ไปยังเวียดนาม ย้ำศักยภาพการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์อาเซียนในอนาคต

เมอร์เซเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย) และเมอร์เซเดส-เบนซ์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) พร้อมส่งออก “Mercedes-Benz S 450 4MATIC Long Wheelbase” รถยนต์รุ่นแฟลกชิปของเมอร์เซเดส-เบนซ์ไปยังประเทศเวียดนาม ภายใต้ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ATIGA) กับเมอร์เซเดส-เบนซ์ (เวียดนาม) โดยจะเริ่มต้นส่งออกรถยนต์ชุดแรกไปยังเวียดนามภายในปีนี้ ก่อนที่จะดำเนินการส่งออกอย่างต่อเนื่องในปีต่อ ๆ ไป นับเป็นก้าวสำคัญในเชิงความร่วมมือระหว่างแบรนด์เมอร์เซเดส-เบนซ์ของสองประเทศ พร้อมเน้นย้ำศักยภาพในการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์อาเซียนในอนาคต

 

มร. โรลันด์ โฟล์เกอร์ ประธานบริหาร บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “หลังการเปิดตัวรถยนต์รุ่น S-Class ใหม่ไปเมื่อปีที่แล้วและได้รับการตอบรับอย่างดีจากลูกค้าชาวไทย วันนี้เมอร์เซเดส-เบนซ์ ประเทศไทยมีความภาคภูมิใจที่จะส่งมอบรถยนต์รุ่นแฟลกชิปคันนี้ที่ประกอบในประเทศไทยไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศที่อุตสาหกรรมยานยนต์มีศักยภาพในการเติบโตที่ดี นับเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญร่วมกันระหว่างเมอร์เซเดส-เบนซ์ ประเทศไทยและเมอร์เซเดส-เบนซ์ แมนูแฟคเจอริ่ง ประเทศไทย ที่เกิดขึ้นจากความทุ่มเทของทีมงานที่ยอดเยี่ยมในแผนกต่าง ๆ ของทั้งสองบริษัท ทั้งนี้ เวียดนามจะเป็นประเทศแรกในภูมิภาคที่เราส่งออกรถยนต์รุ่น S-Class โดยเรายังประเมินความเป็นไปได้ร่วมกับเมอร์เซเดส-เบนซ์ ประเทศเวียดนามในการส่งออกรถยนต์รุ่นอื่น ๆ ไปยังเวียดนาม พร้อมกับมองหาโอกาสใหม่ ๆ ในการทำธุรกิจกับประเทศอื่น ๆ ในอาเซียนด้วยเช่นกัน”

 

มร. มาร์ค เบอร์เกอร์ ประธานบริหาร บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “เมอร์เซเดส-เบนซ์ แมนูแฟคเจอริ่ง ประเทศไทย มองหาโอกาสในการส่งออกภายในภูมิภาคอยู่เสมอ โดยพิจารณาจากข้อตกลงการค้าระดับภูมิภาคทั้งที่มีอยู่และที่อาจเกิดขึ้นใหม่ การส่งออกรถยนต์รุ่น S-Class จากประเทศไทยไปเวียดนามเป็นโครงการส่งออกโครงการแรก ซึ่งนับว่าสอดคล้องกับกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ระดับภูมิภาคของเรา และหากมีความเป็นไปได้ในเชิงการค้า เราก็พร้อมพิจารณาการส่งออกรถยนต์รุ่นอื่น ๆ ด้วยโดยไม่จำกัดเฉพาะการส่งออกไปยังประเทศเวียดนาม แต่ยังรวมถึงประเทศอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ เราทำงานร่วมกับสำนักงานใหญ่ของเรา รวมถึงเมอร์เซเดส-เบนซ์ในประเทศอื่น ๆ ในอาเซียนเพื่อประเมินศักยภาพทางธุรกิจในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง ทั้งการพิจารณารถยนต์รุ่นอื่น ๆ สำหรับการนำเข้าหรือส่งออกที่เป็นไปได้นอกเหนือจากรุ่น S-Class ซึ่งปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ต้องพิจารณาก็คือ กรอบภาษีและอากรที่มีเป้าหมายเพื่อตอบสนองความต้องการสินค้าลักชัวรีของลูกค้าได้อย่างดีที่สุด ทั้งนี้ ต้องเน้นย้ำว่าเราจะไม่สามารถบรรลุผลสำเร็จของวันนี้ได้หากปราศจากแรงงานไทยที่มากด้วยทักษะ ซึ่งช่วยให้มั่นใจได้ว่ารถยนต์ทุกคันที่ผลิตขึ้นที่นี่ถึงพร้อมด้วยคุณภาพที่ดีที่สุดและพร้อมที่จะส่งออกไปยังทุกประเทศในโลก”

 

 

 

การประกาศการส่งออก Mercedes-Benz S-Class ไปยังเวียดนามเกิดขึ้นได้อย่างประสบผลสำเร็จภายใต้ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ATIGA) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรีในภูมิภาค ส่งผลให้มีการกีดกันทางการค้าน้อยลงและมีความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน พร้อมกับช่วยลดต้นทุนทางธุรกิจ เกิดการค้าเพิ่มมากขึ้น และทำให้ตลาดขยายขนาดใหญ่ขึ้น ตลอดจนเกิดการประหยัดต่อขนาดสำหรับธุรกิจ ภายใต้ความตกลง ATIGA ประเทศบรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ได้งดเว้นภาษีนำเข้าภายในอาเซียนที่ร้อยละ 99.65 ของอัตราภาษีศุลกากร ส่วนกัมพูชา สปป.ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม สามารถลดภาษีนำเข้าได้ร้อยละ 0-5 จากร้อยละ 98.86 ของอัตราภาษีศุลกากร ทั้งนี้ในปัจจุบัน ได้มีการให้ความสำคัญมากขึ้นกับการจัดการกับมาตรการที่ไม่ใช่มาตรการภาษีที่อาจมีผลกระทบที่เป็นอุปสรรคที่ไม่ใช่เรื่องภาษีอันมีผลต่อกิจกรรมการค้าและธุรกิจของภูมิภาค




เมอร์เซเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย) และเมอร์เซเดส-เบนซ์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) พร้อมส่งออก “Mercedes-Benz S 450 4MATIC Long Wheelbase” รถยนต์รุ่นแฟลกชิปของเมอร์เซเดส-เบนซ์ไปยังประเทศเวียดนาม ภายใต้ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ATIGA) กับเมอร์เซเดส-เบนซ์ (เวียดนาม) โดยจะเริ่มต้นส่งออกรถยนต์ชุดแรกไปยังเวียดนามภายในปีนี้ ก่อนที่จะดำเนินการส่งออกอย่างต่อเนื่องในปีต่อ ๆ ไป นับเป็นก้าวสำคัญในเชิงความร่วมมือระหว่างแบรนด์เมอร์เซเดส-เบนซ์ของสองประเทศ พร้อมเน้นย้ำศักยภาพในการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์อาเซียนในอนาคต

 

มร. โรลันด์ โฟล์เกอร์ ประธานบริหาร บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “หลังการเปิดตัวรถยนต์รุ่น S-Class ใหม่ไปเมื่อปีที่แล้วและได้รับการตอบรับอย่างดีจากลูกค้าชาวไทย วันนี้เมอร์เซเดส-เบนซ์ ประเทศไทยมีความภาคภูมิใจที่จะส่งมอบรถยนต์รุ่นแฟลกชิปคันนี้ที่ประกอบในประเทศไทยไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศที่อุตสาหกรรมยานยนต์มีศักยภาพในการเติบโตที่ดี นับเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญร่วมกันระหว่างเมอร์เซเดส-เบนซ์ ประเทศไทยและเมอร์เซเดส-เบนซ์ แมนูแฟคเจอริ่ง ประเทศไทย ที่เกิดขึ้นจากความทุ่มเทของทีมงานที่ยอดเยี่ยมในแผนกต่าง ๆ ของทั้งสองบริษัท ทั้งนี้ เวียดนามจะเป็นประเทศแรกในภูมิภาคที่เราส่งออกรถยนต์รุ่น S-Class โดยเรายังประเมินความเป็นไปได้ร่วมกับเมอร์เซเดส-เบนซ์ ประเทศเวียดนามในการส่งออกรถยนต์รุ่นอื่น ๆ ไปยังเวียดนาม พร้อมกับมองหาโอกาสใหม่ ๆ ในการทำธุรกิจกับประเทศอื่น ๆ ในอาเซียนด้วยเช่นกัน”

 

มร. มาร์ค เบอร์เกอร์ ประธานบริหาร บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “เมอร์เซเดส-เบนซ์ แมนูแฟคเจอริ่ง ประเทศไทย มองหาโอกาสในการส่งออกภายในภูมิภาคอยู่เสมอ โดยพิจารณาจากข้อตกลงการค้าระดับภูมิภาคทั้งที่มีอยู่และที่อาจเกิดขึ้นใหม่ การส่งออกรถยนต์รุ่น S-Class จากประเทศไทยไปเวียดนามเป็นโครงการส่งออกโครงการแรก ซึ่งนับว่าสอดคล้องกับกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ระดับภูมิภาคของเรา และหากมีความเป็นไปได้ในเชิงการค้า เราก็พร้อมพิจารณาการส่งออกรถยนต์รุ่นอื่น ๆ ด้วยโดยไม่จำกัดเฉพาะการส่งออกไปยังประเทศเวียดนาม แต่ยังรวมถึงประเทศอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ เราทำงานร่วมกับสำนักงานใหญ่ของเรา รวมถึงเมอร์เซเดส-เบนซ์ในประเทศอื่น ๆ ในอาเซียนเพื่อประเมินศักยภาพทางธุรกิจในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง ทั้งการพิจารณารถยนต์รุ่นอื่น ๆ สำหรับการนำเข้าหรือส่งออกที่เป็นไปได้นอกเหนือจากรุ่น S-Class ซึ่งปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ต้องพิจารณาก็คือ กรอบภาษีและอากรที่มีเป้าหมายเพื่อตอบสนองความต้องการสินค้าลักชัวรีของลูกค้าได้อย่างดีที่สุด ทั้งนี้ ต้องเน้นย้ำว่าเราจะไม่สามารถบรรลุผลสำเร็จของวันนี้ได้หากปราศจากแรงงานไทยที่มากด้วยทักษะ ซึ่งช่วยให้มั่นใจได้ว่ารถยนต์ทุกคันที่ผลิตขึ้นที่นี่ถึงพร้อมด้วยคุณภาพที่ดีที่สุดและพร้อมที่จะส่งออกไปยังทุกประเทศในโลก”

 

 

 

การประกาศการส่งออก Mercedes-Benz S-Class ไปยังเวียดนามเกิดขึ้นได้อย่างประสบผลสำเร็จภายใต้ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ATIGA) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรีในภูมิภาค ส่งผลให้มีการกีดกันทางการค้าน้อยลงและมีความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน พร้อมกับช่วยลดต้นทุนทางธุรกิจ เกิดการค้าเพิ่มมากขึ้น และทำให้ตลาดขยายขนาดใหญ่ขึ้น ตลอดจนเกิดการประหยัดต่อขนาดสำหรับธุรกิจ ภายใต้ความตกลง ATIGA ประเทศบรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ได้งดเว้นภาษีนำเข้าภายในอาเซียนที่ร้อยละ 99.65 ของอัตราภาษีศุลกากร ส่วนกัมพูชา สปป.ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม สามารถลดภาษีนำเข้าได้ร้อยละ 0-5 จากร้อยละ 98.86 ของอัตราภาษีศุลกากร ทั้งนี้ในปัจจุบัน ได้มีการให้ความสำคัญมากขึ้นกับการจัดการกับมาตรการที่ไม่ใช่มาตรการภาษีที่อาจมีผลกระทบที่เป็นอุปสรรคที่ไม่ใช่เรื่องภาษีอันมีผลต่อกิจกรรมการค้าและธุรกิจของภูมิภาค









ผู้แต่ง / แหล่งที่มา : www.rodweekly.com  
 ผู้บันทึก : www.rodweekly.com
date : [ 11 ก.ค. 2565 ]
 


 
 

 
 

 
 

 
 

 
 

 
 

ข่าวสารยานยนต์

error=select * from newtopic order by q_id desc