กินผัก กินปลาเป็นเรื่องดี แต่บางทีก็อาจจะก่อให้เกิดโทษได้ หากบังเอิญทานคู่กันในเวลาที่ไม่เหมาะสม ซึ่งเรื่องนี้คุณอาจจะไม่เคยรู้มาก่อน แต่จำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีความรู้เรื่องนี้ติดตัวไว้ อย่ารอช้ามาศึกษาเรื่องนี้เพิ่มเติมกันสักหน่อยดีกว่า
เหตุผลที่ผักบางชนิดไม่ควรปรุงคู่กับปลา เนื่องจาก ผักบางชนิดมีสารไนเตรทที่สูงมากเกินไป หากผู้บริโภคได้รับ “ไนเตรตและไนไตรท์” มากเกินไป ก็อาจจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย ตัวเขียว หายใจลำบาก หมดสติ และหากไม่ได้รับการรักษาแบบทันท่วงที ก็อาจเกิดอันตรายจนถึงขั้นเสียชีวิตเลยก็มี
ที่สำคัญสารตัวนี้ยังเปลี่ยนรูปไปเป็นสารก่อมะเร็งได้อีกด้วย โดยปัจจุบันมีงานวิจัยหลายชิ้นออกมาบอกว่า
“สารไนไตรท์สามารถจะทำปฏิกิริยากับสารประกอบบางอย่างในอาหารและสิ่งแวดล้อม แล้วทำให้เกิดสารประกอบใหม่อีกตัวนึงที่เรียกว่า “ สารไนโตรซามีน ” ซึ่งเป็นสารเคมีที่อาจทำให้เกิดโรคมะเร็งในอวัยวะต่างๆ ซึ่งการเกิดไนโตรซามีนนั้น อาจเกิดมาจากไนเตรตเปลี่ยนเป็นไนไตรท์โดยเชื้อแบคทีเรียบางชนิดในน้ำลาย เข้าทำปฏิกิริยากับสารเอมีน (amine) ที่อยู่ใน ปลา กุ้ง หอย โดยการทำปฏิกิริยาจะเกิดขึ้นเมื่อมีสภาวะเป็นกรด จนทำให้เกิด “ สารไนโตรซามีน” ขึ้นได้”
ผักอะไรบ้างที่มีไนเตรตสูง ?
ที่นี้เราก็ต้องมาเรีนรู้กันว่าผักอะไรบ้างที่มีสารไนเตรตสูง จะได้ลดปริมาณการกินให้น้อยลง โดยผักที่มีสารที่ว่านี้สูง ได้แก่
1.ผักโขม
2.ปวยเล้ง
3.สลัด
4.กวางตุ้ง
5.ผักบุ้ง
6.คะน้า
7.วอเตอร์เครส
8.ผักที่ปลูกแบบไฮโดโปนิกค์
แต่ในความเป็นจริงแล้ว เราอาจจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงผักเหล่านี้ได้ เพราะมันก็ยังมีให้กินอยู่ทั่วไป แล้ยังมีสารอาหารอื่นๆที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนั้น วิธีที่ดีที่จะช่วยลดสารไนเตรตให้น้อยลงจึงขึ้นอยู่กับ “วิธีการปรุงอาหาร” ซึ่งผักที่มีไนเตรทสูงควรได้รับการปรุงด้วยวิธีต่อไปนี้
1.ต้มในน้ำเดือด 5นาทีขึ้นไป
2.ทานให้พอเหมาะ โดยคนทั่วไปสามารถทานได้ตามปกติ แต่ให้ทานประมาณ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ก็พอ
3.ไม่ปรุงร่วมกับเนื้อปลา ซึ่งจะเป็นตัวเร่งให้เกิดสารอันตรายขึ้น
ผักที่ว่ามานี้ถ้าเทียบกันในเรื่องโภชนาการแล้ว ก็ยังถือว่าเป็นอาหารที่มีประโยชน์และมีคุณค่าทางอาหารอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นวิตามินเอ วิตามินบี และเกลือแร่ คนเราจึงยังควรทานมันต่อไป เพียงแต่ต้องทานให้เหมาะสมและหลากหลาย ไม่ทานซ้ำซาก จำเจ…เพียงเท่านี้ชีวิตของคุณก็ไม่ต้องเป็นกังวลมากเกินไปแล้วละคะ