6 วิธีกินอย่างไร ปลอดภัยจาก “กระดูกพรุน”



เรื่องความแข็งแรงของกระดูก ไม่ต้องรอให้ถึงอายุมากหรอก แค่เข้าสู่วัยทำงาน บางทีหันตัวไปมาก็ดังกรอบแกร่บ วิ่งนิดเดินหน่อยก็ปวดเมื่อย ไปหมดทั้งกระดูกทั้งกล้ามเนื้อ ความฟิตปั๋งที่เคยมีสมัยวัยรุ่นมันค่อยๆ เลือนหายไปตามกาลเวลา แต่เราอย่าปล่อยให้ตัวเองเดินหลังค่อมเหมือนคุณยายข้างบ้าน เรามาเริ่มต้นดูแลกระดูกของเราด้วยการกินอย่างถูกวิธีกันเถอะ



  1. ลดการดื่มน้ำอัดลม เพราะกรดฟอสฟอริกที่ทำให้น้ำอัดลมมีฟองฟู่ จะเข้าไปเพิ่มฟอสฟอรัสในร่างกายมากเกินไป จนเสียสมดุลกับแคลเซียม ร่างกายจึงจำเป็นต้องกำจัดแคลเซียมออกจากคลังกระดูก เพื่อไม่ให้ร่างกายมีฟอสฟอรัสในเลือดมากเกินไปจนเป็นอันตราย


  2. ลดการทานโซเดียมให้น้อยลง เพราะนอกจากโซเดียม หรือเกลือ จะเป็นสาเหตุของโรคร้ายมากมายแล้ว หากร่างกายมีปริมาณโซเดียมมากเกินไป จะทำให้การดูดซึมของแคลเซียมจากลำไส้ลดลง ที่เหลือไหลออกผ่านทางไตหมด


  3. ควบคุมปริมาณในการทานโปรตีนให้พอดี อย่ามากจนเกินไป เพราะการทานโปรตีนมากเกินไป จะทำให้ร่างกายกระตุ้นให้ไตขับแคลเซียมออกจากร่างกายมากกว่าปกติ


  4. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกินไป เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้จะเข้าไปขัดขวางการดูดซึมของแคลเซียม ทำให้ร่างกายต้องขับแคลเซียมออกมามากขึ้น


  5. งดการสูบบุหรี่ เพราะบุหรี่ทำให้แคลเซียมละลายจากกระดูก จากการที่บุหรี่ทำให้ร่างกายมีภาวะเป็นกรด และแคลเซียมจำเป็นต้องทำหน้าที่รักษาความเป็นกรดด่างของเลือดในร่างกาย และบุหรี่ทำให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิงต่ำลง จึงเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะ


  6. การใช้ยาบางชนิด เช่น ยากล่อมประสาท ยาที่มีสารสเตียรอยด์ และยาลดกรดที่มีอะลูมิเนียมเป็นส่วนประกอบ ยาเหล่านี้มีผลข้างเคียงคือจะขับแคลเซียมออกจากร่างกาย ดังนั้นหากต้องทานติดต่อกันเป็นเวลานานเพื่อรักษาโรคใดโรคหนึ่ง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ


 


นอกเหนือไปจากเรื่องกินแล้ว การออกกำลังกายเป็นประจำก็ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูกได้เช่นกัน ดังนั้นเรื่องกินผ่านแล้ว เรื่องออกกำลังกายก็อย่าให้พลาดนะคะ






 

 


 



 




ขอขอบคุณ



ข้อมูล : มูลนิธิหมอชาวบ้าน