ในช่วงเทศกาลใหม่ ประชาชนจำนวนมากต้องเดินทางกลับภูมิลำเนาหรือเดินทางท่องเที่ยวด้วยรถยนต์จำนวนมาก เกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน หนึ่งในนั้นคืออาการง่วงนอนหรือหลับใน
ขอเตือนผู้ที่ต้องขับรถเดินทางควรระมัดระวังในการรับประทานยาแก้ปวด และยาคลายกล้ามเนื้อ อาทิ ยาแก้ปวดทรามาดอล(Tramadol), ยาแก้ปวดอะมิทริปทัยลีน(Amitriptyline) และยาแก้ปวดกาบ้าเพนติน(Gabapentin) เป็นต้นโดยยาดังกล่าวมีฤทธิ์ในการกดประสาทส่วนกลาง เพื่อบรรเทาอาการปวด ส่วนยาคลายกล้ามเนื้อ อาทิ ยาโทลเพอริโซน (Tolperisone) และยาออเฟเนดรีน (Orphenadrine) มีฤทธิ์ในการลดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อในร่างกาย ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย ลดอาการปวดตึงทั้งร่างกาย ยาทั้ง 2กลุ่ม มีผลข้างเคียงมากน้อยแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล อาจจะทำให้ลดประสิทธิภาพในการขับขี่ ทำให้ตัดสินใจได้ช้าลง มองเห็นเป็นภาพเบลอ ไม่ชัด ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้
ไม่เพียงยาทั้ง 2 ชนิดดังกล่าว ยังมียาที่มีฤทธิ์ทำให้ง่วงนอนชนิดอื่นๆ ควรหลีกเลี่ยงเมื่อต้องขับรถเช่นกัน อาทิ ยาแก้แพ้ลดน้ำมูก, ยาแก้แพ้ แก้คัน, ยากล่อมประสาท, ยาคลายกังวล, ยาแก้เวียนศีรษะ และยาแก้เมารถ นอกจากนั้นผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ทานยาลดน้ำตาลในเลือด และต้องขับรถ หากระหว่างการเดินทางไม่สามารถทานอาหารได้ตรงเวลา อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป ทำให้เวียนศีรษะ หน้ามืด เหงื่อออกมาก ใจสั่น และอาจหมดสติได้ จึงจำเป็นต้องเตรียมอาหาร ลูกอม น้ำหวานไว้ระหว่างการเดินทาง เพื่อป้องกันการเกิดอาการดังกล่าว และไม่ควรทานยาร่วมกับเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ เช่น ดื่มแอลกอฮอล์ร่วมกับยาลดน้ำมูก จะทำให้อาการง่วงของยาเพิ่มขึ้น ดื่มแอลกอฮอล์ร่วมกับยาบรรเทาปวด ลดไข้ จะทำให้ตับเสียหายได้มากขึ้น เป็นต้น
ดังนั้น ก่อนการเดินทางทุกครั้ง ควรมีการวางแผนการเดินทาง และวางแผนการทานยาก่อน เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเดินทาง ว่ายาแต่ละชนิดที่ต้องทานในระหว่างการเดินทางนั้น มีผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง โดยปรึกษาแพทย์, เภสัชกร