5 เคล็ดลับลดความดันโลหิตสูง ลดเสี่ยงไตเรื้อรัง

ปัจจุบันโรคความดันโลหิตสูง เป็นสาเหตุ 1 ใน 3 อันดับแรกของการเกิดโรคไตเรื้อรังในประชาชนไทย 


ส่วน “ไต” เป็นอวัยวะสำคัญในการกำจัดของเสียออกจากร่างกายผ่านทางปัสสาวะ และไตมีความเสื่อมตามธรรมชาติจากการใช้งานตามปกติ แต่ถ้ามีสาเหตุอื่นร่วม จะทำให้เสื่อมมากจนเป็น “โรคไตเรื้อรัง” ได้


 


สูง จำเป็นต้องทานยาหรือไม่?


สำหรับการกินยารักษาโรคความดันโลหิตสูงนั้น มีความจำเป็นเพราะเป็นการควบคุมระดับความดันโลหิต  ซึ่งถ้าควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี ก็จะช่วยลดและชะลอความเสื่อมของไตได้ 


อย่างไรก็ตาม ในยาบางตัวมีขนาดและระยะเวลาในการกินยา ซึ่งแพทย์พิจารณาจากผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ (ค่าการทำงานของไต) และอาจมีการปรับขนาดให้เหมาะสมในแต่ละครั้งที่ผู้ป่วยเข้ารับการตรวจรักษา และการใช้ยาบางตัวก็อาจมีผลกับไต ผู้ป่วยจึงควรกินยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เพื่อประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการรักษา ถ้ามีข้อสงสัยควรสอบถามแพทย์หรือเภสัชกร เนื่องจากยาแต่ละรายการมีข้อควรปฏิบัติแตกต่างกันไป 


 


ข้อปฏิบัติของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง


ผู้ป่วยควรมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพควบคู่ไปด้วยเพื่อลดการรับประทานยา เช่น



  1. ลดน้ำหนักส่วนเกิน


  2. จำกัดปริมาณเกลือในอาหารหรือลดเค็ม


  3. ออกกำลังกายเป็นประจำ


  4. งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และไม่สูบบุหรี่


  5. ควรควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับน้อยกว่า 130/80 มิลลิเมตรปรอท


ส่วนประชาชนทั่วไปควรไปรับการตรวจวัดความดันโลหิตอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ต้องรู้ค่าตัวเลขและความหมายของระดับความดันโลหิตของตนเอง เพราะเป็นตัวเลขสำคัญที่จะทำให้รู้ภาวะสุขภาพและสามารถนำไปดูแลตนเองต่อไปได้