แม้ว่าในปัจจุบันภาครัฐจะมีการบังคับใช้กฎหมายและข้อบังคับด้านการขับขี่เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ขับขี่เสียสมาธิขณะขับขี่เช่นการห้ามผู้ขับขี่ใช้โทรศัพท์มือถือในขณะที่รถกำลังเคลื่อนตัวโดยไม่ใช้อุปกรณ์เสริมสำหรับการสนทนาซึ่งผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับตั้งแต่400 – 1,000บาท[1]เป็นต้น แต่ปัญหาการเสียสมาธิขณะขับขี่ก็ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในประเทศไทยอยู่ดี
ถึงแม้ว่าเราจะเห็นผู้ขับขี่คุยโทรศัพท์หรือพิมพ์ข้อความขณะรอรถติดอยู่เป็นประจำแต่โทรศัพท์ก็ไม่ได้เป็นสาเหตุและสิ่งรบกวนเดียวของการเสียสมาธิขณะขับรถโดยในปัจจุบัน ผู้ขับขี่เกือบทุกรายเสียสมาธิขณะขับขี่โดยไม่รู้ตัวซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากความไม่เข้าใจว่าการเสียสมาธิขณะขับขี่คืออะไรและไม่รู้วิธีการหลีกเลี่ยง
“อุบัติเหตุที่มีสาเหตุมาจากการเสียสมาธิขณะขับรถเกือบทุกครั้งสามารถหลีกเลี่ยงและป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้”นางสาวกมลชนก ประเสริฐสม ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร ฟอร์ด ประเทศไทย และตลาดอาเซียน กล่าว“เพียงแค่สร้างความตระหนักและทำความเข้าใจกับรูปแบบการขับขี่ที่อันตรายซึ่งอาจเกิดขึ้นจะช่วยให้ผู้ขับขี่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้”
สิ่งรบกวนสมาธิทั้ง 3ประเภท
สิ่งรบกวนที่ทำให้เสียสมาธิระหว่างการขับขี่มักถูกจัดอยู่ใน 3ประเภทดังต่อไปนี้
- 1. สิ่งรบกวนทางจิตใจซึ่งรวมถึงกิจกรรมทุกกิจกรรมที่ทำให้จิตใจผู้ขับขี่ไขว้เขวจากถนนตั้งแต่การพูดคุยกับผู้โดยสารไปจนถึงการหลุดไปในห้วงความคิดขณะฟังเพลงโปรดจากวิทยุ
- 2. สิ่งรบกวนทางสายตา ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อผู้ขับขี่ละสายตาจากถนนเช่น การมองโทรศัพท์เช็คลูกๆหรือการจ้องมองสิ่งที่เกิดขึ้นด้านนอกขณะที่ขับรถผ่าน
- 3. สิ่งรบกวนที่เกิดขึ้นเอง เมื่อผู้ขับขี่ปล่อยมือจากพวงมาลัยไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตามเช่นแต่งหน้ากดปรับจีพีเอสหรือเอื้อมไปหยิบสิ่งของต่างๆ
เมื่อพูดถึงพฤติกรรมที่ทำให้เสียสมาธิขณะขับรถ การพิมพ์ข้อความในโทรศัพท์มือถือมักเป็นสิ่งที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุดเนื่องจากการพิมพ์ข้อความได้รวมสิ่งรบกวนครบทั้ง 3ประเภทไว้ด้วยกันจึงทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายมากเป็นพิเศษถึงแม้ว่าการพิมพ์ข้อความขณะขับรถจะเป็นต้นเหตุและส่งผลให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุมากขึ้นถึง2เท่าแต่การพิมพ์ข้อความขณะขับรถกลับไม่ได้เป็นพฤติกรรมที่ทำให้เสียสมาธิขณะขับขี่ที่พบบ่อยมากที่สุดหรือพฤติกรรมการขับขี่ที่อันตรายมากที่สุด
สิ่งรบกวนที่ทำให้เสียสมาธิแฝงอยู่ทุกที่
ถึงแม้ว่าคุณจะระมัดระวังและไม่เคยใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถแต่คุณเองอาจเป็นอีกคนที่เคยเสียสมาธิขณะขับรถทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัวก็ตามพฤติกรรมบางอย่างที่ผู้ขับขี่ทำทุกวันอาจทำให้เสียสมาธิโดยที่ผู้ขับขี่เองก็ไม่รู้ตัว
พฤติกรรมที่ทำให้ผู้ขับขี่เสียสมาธิที่พบบ่อยได้แก่
การเหม่อลอยเชื่อหรือไม่ว่าการเหม่อลอยเป็นหนึ่งในพฤติกรรมที่ทำให้ผู้ขับขี่เสียสมาธิซึ่งพบบ่อยที่สุดและอันตรายที่สุดจากการศึกษากรณีการเกิดอุบัติเหตุรถชนในสหรัฐอเมริกาพบว่าร้อยละ62ของการเกิดอุบัติเหตุรถชนทั้งหมดเกิดจากการเหม่อลอยซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุมากกว่าการคุยและการพิมพ์ข้อความถึง5เท่า[1]
การรับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มขณะขับรถถือเป็นการรวบรวมสิ่งรบกวนหลากหลายประเภทในกิจกรรมเดียวและถือเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุถึงร้อยละ80[2]นอกจากนี้ การดื่มเครื่องดื่มร้อนขณะขับรถยังเพิ่มความเสี่ยงในการทำน้ำร้อนหกใส่ตัวเองอีกด้วย
ความรู้สึกโกรธหรือเศร้าการขับรถในขณะที่อยู่ในสภาวะอารมณ์แปรปรวนสามารถเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดอุบัติเหตุได้เกือบ10เท่า[3]โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ที่มีสภาพการจราจรหนาแน่นและอากาศร้อนชื้นคงไม่ยากที่จะเห็นผู้คนอารมณ์แปรปรวนได้
การป้องกันไม่ให้เสียสมาธิขณะขับขี่ผ่านการอบรมส่งเสริมทักษะการขับขี่ปลอดภัย
ถึงแม้ว่าการเสียสมาธิขณะขับขี่จะพบบ่อยกว่าที่คุณคิด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าปัญหานี้จะแก้ไขไม่ได้ การเสียสมาธิขณะขับขี่สามารถป้องกันได้ด้วยการสร้างความตระหนักและการให้ความรู้ ซึ่งในปัจจุบัน ผู้ผลิตรถยนต์อย่าง ฟอร์ดมอเตอร์คัมปะนีได้เดินหน้าช่วยแก้ไขปัญหาการเสียสมาธิขณะขับรถที่เกิดขึ้นมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีความปลอดภัย อย่าง ระบบสั่งงานด้วยเสียง Sync 3©ที่ทำให้ผู้ขับขี่สามารถโทรศัพท์และส่งข้อความโดยไม่ต้องปล่อยมือจากพวงมาลัยผู้ผลิตรถยนต์ยังแก้ปัญหาที่ต้นตอด้วยการให้จัดอบรมให้แก่ผู้ขับขี่มือใหม่ภายใต้โครงการ Ford Driving Skills for Life (DSFL) หรือ ‘ฉลาดขับประหยัดปลอดภัย’ โดยหวังว่าจะสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ขับขี่และป้องกันการเสียสมาธิขณะขับรถได้
“ที่ผ่านมา ฟอร์ดประเทศไทยจัดอบรมส่งเสริมทักษะการขับขี่ปลอดภัยมาอย่างต่อเนื่องกว่า 12 ปี ภายใต้โครงการ Ford Driving Skills for Life โดยได้จัดอบรมให้กับผู้ขับขี่ในประเทศไทยแล้วกว่า 13,000 คน”นางสาวกมลชนกประเสริฐสมกล่าว “หลักสูตรอบรมการขับขี่อย่างปลอดภัยของเราได้สอนให้ผู้ขับขี่ตระหนักถึงสิ่งรบกวนที่อาจเกิดขึ้นขณะขับขี่ และส่งเสริมทักษะแก่ผู้ขับขี่เพื่อให้มีทักษะในการหลีกเลี่ยงสิ่งรบกวนขณะขับรถ เพื่อให้ถนนปลอดภัยขึ้นสำหรับทุกคน”
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการFord Driving Skills for Life (DSFL) หรือ ‘ฉลาดขับประหยัดปลอดภัย’ได้ที่ https://www.drivingskillsforlife.com/