ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณข้อมูลเเละรายละเอียดจากนิตยสาร Car Stereo คู่หูของคนรักเครื่องเสียง มา ณ ที่นี้ด้วยครับ วันนี้เรามาทำความรู้จักเกี่ยวกับระบบเครื่องเสียงใน รถยนต์ โดยเน้นทำความรู้จักทั้งประเภท เเละประสิทธิภาพของอุปกรณ์เเต่ละชิ้น ว่ามีความสำคัญต่อระบบอย่างไร ? ซึ่งบางชิ้นอาจจะไม่ต้องใช้งานในระบบ ทั้งนี้เน้นในการใช้งานจริง เเบบคุ้มค่า คุ้มราคา
1. ฟรอนท์เอนด์
หลายๆ คนชอบถามว่า จะเลือกฟรอนท์เอนด์เเบบไหน ยี่ห้อไหนดี จริงๆ แล้วเทคโนโลยีด้านฟรอนท์เอนด์เรียกว่าเกือบจะถึงขีดส ุดแล้ว จึงไม่ต้องกังวลเรื่องยี่ห้อ เเต่ควรจะเลือกให้ตรงกับความชอบมากกว่า ถ้าคุณชอบเล่นเทป ก็เลือกวิทยุ/เทป ถ้าชอบ ซีดี ก็เลือกวิทยุ/ซีดี ถ้าชอบทั้ง 2 อย่างก็เลือก 2 Din ที่เล่นได้ครบ เเละปัจจุบันก็มีให้เลือกเพิ่มมากขึ้น เช่น เล่น USB iPod SD Card เป็นต้น
รนด์ตอนนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ คนที่ชอบฟังเพลง จะเน้นที่วิทยุ/ซีดี ที่เล่น MP3 ได้ด้วย ส่วนคนที่ชอบดูหนัง ก็จะเลือกวิทยุ/วีซีดี/ดีวีดี ซึ่งต้องเพิ่มในส่วนของจอภาพขึ้นมาด้วย สิ่งที่ต้องรู้คือ ฟรอนท์เอนด์รุ่นนั้นเล่นอะไรได้บ้าง มีกำลังขับในตัวหรือเปล่า มีพรีเอาท์กี่เเชนเเนล กำลังขับมีความสำคัญสำหรับคนที่ต้องการเล่นเเบบไฮเพา เวอร์ คือ ไม่ต่อแอมป์ ส่วนพรีเอาท์เป็นช่องต่อสัญญาณสำหรับระบบต่อแอมป์
ฟรอนท์มักไม่มีปัญหาเรื่องการติดตั้ง ด้วยขนาดที่เป้น 1 Din มาตรฐาน จะลงได้ที่ช่องเดิมของรถเกือบทุกรุ่น ทุกยี่ห้อ ส่วนเเบบ 2 Din ต้องดูให้ดีว่าช่องเดิมเป็นขนาด 2 Din หรือเปล่า สำหรับรถรุ่นใหม่ๆ ในปัจจุบัน มักจะทำเครื่องเสียงที่ติดมาจากโรงงานเชื่อมกับหน้าก ากของรถเเต่ละรุ่น ดังนั้นถ้าจะเปลี่ยนฟรอนท์ต้องทำการเปลี่ยนหน้ากากขอ งรถด้วย เเต่ก็มีรองรับไว้สำหรับรถทุกย้อห้อ สำหรับเรื่องรูปร่างหน้าตา ชอบแบบไหนไม่มีข้อจำกัด ขึ้นอยู่กับงบประมาณ
2. พรีเเอมป์/อีคิว
จัดเป็นอุปกรณ์เพิ่มเติมที่ได้รับความนิยม โดยเฉพาะนักเล่นที่ชอบปรับเเต่งเสียง ใช้ได้กับเฉพาะระบบที่มีพาวเวอร์แอมป์เท่านั้น สิ่งที่ควรรู้ คือ ชุดพาราเมทริค โดยทั่วๆ ไป จะมีให้ 4 เเบนด์ คือ เสียงเบสส์/มิดเบสส์/กลาง/เเหลม ถ้ามีมากกว่าก็จะยิ่งดี ปรับได้ละเอียดขึ้น เกือบทุกค่ายจะเพิ่มคลอสส์โอเวอร์ เเละปุ่มปรับเสียงเบสส์มาให้ด้วย ก็จัดได้ว่าเป็นข้อได้เปรียบทีเดียว ยิ่งลูกเล่นมาก ราคาก็สูงตาม
ถัดมาเป็นอีควอไลเซอร์(อีคิว) ปัจจุบันไม่ค่อยมีให้เห็นมากนัก เพราะนักเล่นเน้นสัญญาณบริสุทธิ์มากกว่าการปรับเเต่ง เสียง เเต่ในระบบใหญ่ๆ จะช่วยให้ปรับเเต่งเสียงได้ละเอียดลงตัวมากขึ้นทีเดี ยว ที่เคยเห็นจะมีตั้งเเต่ 10-30 เเบนด์ ส่วนมากจะปรับตายตัว เเละติดตั้งไว้กับเเอมป์ท้ายรถ ซึ่งสามารถกลับไปปรับเเต่งได้ ควรให้ผู้ชำนาญปรับเเต่งเสียง
3. ครอสส์โอเวอร์
เป็นตัวตัดสัญญาณ ใช้เฉพาะกับระบบที่มีเพาเวอร์แอมป์ มีให้เลือกทั้งเเบบ 2/3 ทางช่วยให้เลือกจุดตัดได้เป็นช่วงกว้างตามต้องการ โดยเฉพาะลำโพงเเบบยูนิท ซึ่งหากเลือกจุดตัดได้เหมาะกับสภาพอคูสติคในรถเเละปร ะสิทธิภาพลำโพง ก็จะได้เสียงที่ราบรื่นมากขึ้น ปัจจุบันเพาเวอร์เเอมป์ เเละพรีเเอมป์มีครอสส์โอเวอร์ในตัว ทำให้ครอสส์โอเวอร์ลดความนิยมลง จะมีให้เห็นก็เฉพาะระบบใหญ่ๆ หรือเพื่อเเข่งขัน การติดตั้งครอสส์โอเวอร์ก็จะอยู่ใกล้ๆ กับควอไลเซอร์ ด้านท้านรถ ควรให้ช่างผู้ชำนาญปรับจุดตัดให้
4. พาวเวอร์แอมป์
สำหรับนักเล่นที่ฟังไฮเพาเวอร์จนถึงจุดอิ่มตัว เพาเวอร์แอมป์จะเข้ามามีบทบาททันที สังเกตได้จากการเพิ่มวอลลูมมากๆ ในระบบไฮเพาเวอร์ เสียงจะผิดเพี้ยนไม่ได้ดั่งใจ นั่นเป็นเพราะกำลังขับไม่เพียงพอ สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับเพาเวอร์แอมป์ คือ ประเภทเเละกำลังขับ ประเภทคือจำนวนชานเเนล มีให้เลือกตั้ง 1/2/3/4/5/6/7 เเชนเเนล ที่นิยมจะเป็น 2 เเละ 4 เเชนเเนลซึ่งจะมีผลต่อจำนวนของลำโพง เช่น แอมป์ 2 เเชนเเนล เหมาะสำหรับลำโพง 1 คู่ หรือ 2 ข้าง
ส่วนกำลังขับให้ดูกำลังขับต่อเเชนเเนลเเบบต่อเนื่อง (RMS : Root Mean Square) เช่น แอมป์ 4 เเชนเเนล 50 วัตต์/เเชนเเนล หรือ 50 วัตต์X4 เเชนเเนล ตัวเลขวัตต์ควรให้ตรงกับชุดลำโพงที่ขับ เช่น ลำโพง 150 วัตต์ 1 คู่ ควรใช้เเอมป์ 50-80 วัตต์ X 2 (วัตต์รวม100-160 วัตต์) ไม่ควรนำเลขสูงสุด (Peak, Max) มาเป็นตัวเลือก
ที่ยากขึ้นมาอีกขั้น เป็นการเลือกเเอมป์ขับซัปวูฟเฟอร์ ถ้าเป็นเเอมป์ทั่วไป ให้ดูกำลังขับต่อเนื่องว่าเพียงพอหรือเปล่า เช่น แอมป์ 150 วัตต์ X 2 เเชนเเนล ขับซัปวูฟเฟอร์ 120 วัตต์ 1 คู่ได้ เเต่ถ้าไม่พอให้ดูให้ดูกำลังขับบริดจ์โมโน เช่น แอมป์ 50 วัตต์ X 2 บริดจ์โมโด้ 150 วัตต์ สามารถบริดจ์โมโนขับซัปวูฟเฟอร์ 150 วัตต์ ได้ 1 ข้าง เเต่ถ้าเป็นเเอมป์ขับซัปโดยเฉพาะ เช่น Class D จะเป็นเเบบ MONO BLOCK คือมีเเชนเเนลเดียว ดูเเค่กำลังขับอย่างเดียว เช่น แอมป์ Class D 500 วัตต์ ขับซัปวูฟเฟอร์ 500 วัตต์ ได้ 1 ข้างที่สำคัญต้องดูตามความต้านทานเท่ากันด้วย
ปิดท้ายด้วยเเอมป์มัลติเเชนเเนล ใช้เรียกแอมป์ 5 เเชนเเนลขึ้นไป เเอมป์ประเภทนี้จะออกเเบบมาให้ขับได้ทั้งระบบ เช่น 50 วัตต์ X 4 + 250 วัตต์ X 1 ขับลำโพง 100 วัตต์ได้ 2 คู่ เเละซัปวูฟเฟอร์ 250 วัตต์ 1 ข้าง ข้อดีคือ ไม่ยุ่งยากทั้งการเซทระบบ พื้นที่การติดตั้ง การปรับเเต่งเสียง อีกทั้งนำมาขับระบบ 5.1 CH ได้ เพื่อดูหนังเต็มรูปแบบ
5. ลำโพง/ซัปวูฟเฟอร์
คุณสามารถเปลี่ยนลำโพงได้ทันทีที่ต้องการ เพื่อให้เสียงดีขึ้น โดยต้องคำนึงถึงตัวเลขวัตต์ เครื่องเสียงที่ติดรถมา ในบางครั้งเสียงไม่ถูกใจ อาจเป็นเพราะลำโพงมีขนาดเล็ก อยุ่ในมุมอับ เสียงเบสส์ออกน้อย หรือเเหลมเกินไป สามารถเเก้ไขขั้นต้นได้โดย การเปลี่ยนลำโพงคู่หน้า ซึ่งฟรอนท์เอนด์จะมีกำลังขับเพียงพอที่จะขับได้เเบบฟ ังสบายอยู่เเล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นตำเเหน่งติดตั้งมากกว่า สิ่งที่ควรรู้ คือ ขนาด เเละตัวเลขวัตต์ หรือทนกำลังขับ ขนาดก็คือ เส้นผ่าศูนย์กฃางของลำโพงดอกใหญ่ ส่งวนตัวเลขวัตต์ให้ดูที่วัตต์ต่อเนื่องหรือปกติ (CONTINUE),(NORMAL)
ลำโพงเเยกชิ้น(COMPONENT) 2 ทาง จัดเป็นประเภทได้รับความนิยมากที่สุด มีให้เลือกตั้งเเต่ขนาด 4"-8" ขนาดพอเหมาะจะเป็น 5"/51/4"/6"/6 1/2" ส่วนทวีตเตอร์ขนาด 3/4"-1 1/2" โดยจะมีตัวพาสสีฟ ครอสส์โอเวอร์ตัดเสียงมาในเซทเดียวกัน ซึ่งจะมีเเมนนวลในการต่อสายมาให้ครบชุด
ถัดมาเป็น ลำโพงเเกนร่วม (COAXIAL) ให้ความสะดวกในการติดตั้ง ราคาไม่สูงมาก มีให้เลือกทั้งเเบบดอกกลม 4"-8" เเละรูปไข่ 5"x7" / 6"x9" ที่ได้รับความนิยมมี 5"/6"6"x9" ยิ่งพื้นที่กรวยมากก็ให้เสียงเบสส์ได้ลึก ลำโพง 6"x9" จึงได้รับความนิยมติดเป็นคู่หลัง สำหรับนักเล่นที่ไม่ต้องการติดซัปวูฟเฟอร์
ซัปวูเฟอร์ เป็นลำโพงดอกใหญ่สำหรับเสียงเบสส์โดยเฉพาะ มีให้เลือกตั้งเเต่ 6"/8"/10"/12"/15" รวมถึงเเบบ 4 เเละ 6 เหลี่ยมทั้งเเบบพร้อมตู้ กับมีเเอมป์ในตัว นักเล่นมือใหม่หลายคนถามว่าจำเป็นหรืเปล่า ? ถ้าคุณไม่ฟังเสียงเบสส์ลึกๆ หรือฟังดัง วูเฟอร์ 6" ก็เอาอยู่ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมมากกว่า ที่สำคัญต้องหาที่ให้มันอยู่ ยิ่งถ้าเป็นตู้ก็จะดี
สิ่งที่ควรรู้เป็นขนาด ตัวเลขวัตต์ เเละพื้นที่ติดตั้ง บางคนซื้อซับ 12" มา 1 คู่ ไม่รู้จะติดตรงไหน ความสามารถพิเศษของซัปวูเฟอร์ คือ สามารถต่อเล่นได้ที่ความต้านทานโอห์มต่างๆ กัน เพื่อเค้นพลังเสียงเบสส์ อีกอย่างที่สำคัญ เป็นจุดตัดความถี่โลว์พาสส์ เพื่อให้มันทำงานในช่วงเสียงเบสส์ลึกๆ โดยเฉพาะ เเละต้องสัมพันธ์กับลำโพงวูเฟอร์ด้วย เช่น ตัดความถี่โลว์พาสส์ซัปวูเฟอร์ที่ 250 Hz ควรตัดไฮพาสส์ที่วูเฟอร์ 250 วัตต์ เช่นกัน
6. อุปกรณ์เสริม
ปิดท้ายด้วยอุปกรณ์ต่างๆ เริ่มจาก สายพรี หรือสาย RCA ใช้ต่อสัญญาณโลว์เลเวลร่วมกันระหว่าง ฟรอนท์ ปรีเเอมป์ อีคิว ครอสส์โอเวอร์ เเละพาวเวอร์แอมป์ ควรดูความยาวระหว่างอุปกรณ์ที่จะเชื่อมต่อ สิ่งที่ควรรู้ หากขั้วเเจคหลวมเสียงจะขาดๆ หายๆ หรือหายไปเลย
สายลำโพง ใช้ต่อจากฟรอนท์ไปยังลำโพงหรือจากเเอมป์ไปยังลำโพง เลือกสายให้ยาวพอดี สิ่งีควรรู้ คือ ขั้วบวก/ลบ อย่าให้สลับกัน ถ้าเป็นสายธรรมดา ประมาณ 1-2 ปี จะเกิดสนิมทองเเดง สัญญาณก็จะไม่ค่อยสะอาด เเละควรตรวจเชคขั้วต่อสายให้เเน่นอยู่เสมอ
สายไฟ ส่วนมากเป็นสีเเดง คือ สายที่เดินจากเเบทเตอรี่ มายังขั้วไฟบวกของเครื่องเสียงโดยเฉพาะเเอมป์ สิ่งทีควรรู้ คือ ต้องมีฟิวส์ห่างจากเเบทเตอรี่ไม่เกิน 18" เเละระวังจุดที่อาจชอทตัวถัง ควรวางให้ห่างจากสายสัญญาณ ส่วนสายกราวน์ด ส่วนมากเป็นสีดำ คือ สายที่เดินจากขั้วลบของเครื่องเสียงไปยังตัวถัง สิ่งที่ควรรู้ คือ ควรมีขนาดเท่ากับสายไฟ เเละหน้าสัมผัสตัวถังต้องเเนบสนิท เเน่นหนา สายรีโมท จะเป็นตัว เปิด/ปิด เครื่องจากฟรอนท์เอนด์ ควรมีขนาดเท่ากับสายรีโมทของฟรอนท์เอนด์
คาปาซิเตอร์ เป็นตัวเก็บประจุไฟ มีหน่วยเป็น"ฟารัด" ช่วยให้เเรงดันไฟคงที่ ใช้เสริมกับระบบขนาดใหญ่ เเอมป์วัตต์สูงๆ หรือจำนวนเเอมป์รวมสูงเทียบเท่าเเบตเตอรี่รถยนต์ ทำให้เกิดอาการคลิพเมื่ออัดเล่นนานๆ ส่วนมากจะสำรองให้กับแอมป์ขับซัปวูเฟอร์
กระบอกฟิวส์ จะมีความสำคัญกับระบบใหญ่ๆ ที่มีการเเบ่งไฟไปให้อุปกรณ์หลายตัว ทำให้ควบคุมได้ง่าย เเละปลอดภัย เเละเมื่อเกิดการลัดวงจร ก็จะตัดเฉพาะจุด สะดวกต่อการตรวจเชค เรื่องของระบบไฟทั้งหมดควรให้ผู้ชำนาญติดตั้ง
เเผ่นเเดมป์เสียง เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ปิดกับโครงสร้างตัวรถ ในส่วนที่ไม่ต้องการให้มีเสียงกวนจากภายนอก หรือมีเสียงก้องเมื่ออัดเล่นดังๆ ส่วนมากจะติดที่แผงประตู เเละฝากระโปรงหลัง
คราวนี้ "นักเล่นมือใหม่" คงจะเริ่มรู้จักกับส่วนต่างๆ ในระบบเสียงกันบ้างเเล้วนะครับ อย่าลืมว่า สิ่งสำคัญ "ไม่ใช่ระบบเสียงที่ใหญ่ซับซ้อน" เเต่เป็นคุณภาพเสียงที่ออกมาเมื่อใดที่คุณเปิดเพลง เเล้วรู้สึกวาไพเราะ มีอรรถรส นั่นเเสดงว่า เริ่มประสบความสำเร็จเเล้วครับ