ทริคเล็กๆ ก่อนเปลี่ยนสายคันเร่งใหม่

นิตยสาร รถ Weekly

       ถ้าพูดถึงการควบคุมลิ้นเร่งสำหรับรถสมัยใหม่ เดี๋ยวนี้เค้าพัฒนาไปเป็นแบบลิ้นเร่งไฟฟ้ากันหมดแล้ว ไอ้สายดำๆ ที่มี หัวสายทั้ง 2 ด้านทำด้วยตะกั่วกลมๆ ก็คงจะลดปริมาณลงไปบ้างนิดหน่อย
       แต่กับรถเก่า (หรือใหม่บางรุ่น) ก็ยังคงต้องพึ่งสายคันเร่งที่ว่านี้อยู่กับรูปแบบการทำงานที่ค่อนข้างเรียบง่าย ไม่ซับซ้อนและไม่ต้องอาศัยเทคโนโลยี แต่ใช้ งานได้ดี (และทนซะด้วย) ส่วนการดูแลรักษาก็ไม่มีอะไรมากแค่หมั่นหยอดน้ำมันไว้หล่อลื่นตัวสายที่เป็น โลหะไว้บ้าง ก็พอเพราะ มันจะเกิดการเสียดสีตลอดเวลาที่เราใช้คันเร่งนั่นเอง

ดูแลดีๆ ก็อยู่ได้นาน แต่ถ้าซีลยางชอบไปก่อน
       กับชิ้นส่วนใดๆ ก็ตามที่ต้องปฏิบัติหน้าที่อยู่ภายในห้องเครื่องย่อมหลีกหนีปัญหาเรื่องการถูกทำร้ายจากความร้อน ไม่ ได้ถึงคุณจะดูแลดีกับการหล่อลื่นภายในสายคันเร่ง แต่ต้องไม่ลืมว่าหัวสายที่มีซีลยางคอยป้องกันสิ่งสกปรกต่างๆ นั้น ชอบกลับบ้านเก่าก่อนเพื่อน ซึ่งถ้าปล่อยปละละเลย มันก็จะเป็นการเปิดช่องให้ความชื้นกับสิ่งสกปรกต่างๆ เข้าไปสู่ภาย ในสายก่อเกิดเป็นการสะสมทีละเล็กละน้อย ยิ่งไม่ค่อยได้ดูแลนี่มีแต่ฝืดกับฝืดจนเกิดอาการแป้น (คันเร่ง) หนักต้องออก แรงมากกว่าปกติ หรือถ้าฝืดมากกว่านั้นก็อาจจะทำให้คันเร่งค้างจากการที่สปริงของลิ้นเร่งไม่สามารถเอาชนะความฝืดที่ เกิดกับตัวสายได้ และถ้าหนักหนาสาหัสมากๆ อาการสายคันเร่งขาดก็คงจะมาเยือนในไม่ช้า เพราะฉะนั้นถ้าเริ่มจับได้ว่า สายคันเร่งเริ่มสนิมสนมกับสิ่งสกปรกมากจนก่อให้เกิดอาการแป้นคันเร่งหนักกว่าปกติหรือซีลยางเริ่มปริเริ่มขาดแล้วละก็ เปลี่ยนใหม่ดีกว่าเปลี่ยนใหม่ ใช้กันยาว
       และด้วยความที่เคยประสบปัญหาเรื่องคันเร่งค้างมาแล้ว ประมาณว่าพอเหยียบคลัทซ์เพื่อชะลอปุ๊บรอบเครื่องจะไป ป้วนเปี้ยนอยู่แถวๆ 1,000 – 1,200 รอบ/นาที ต้องกดคันเร่งซ้ำนั่นแหละถึงจะกลับมาอยู่ที่รอบเดินเบาอย่างเดิมทั้งๆ ที่ก็ดู แลสายคันเร่งเป็นอย่างดี ด้วยการฉีดน้ำมันอเนกประสงค์เข้าไปหล่อลื่นภายในสายนั้นอยู่บ่อยๆ แล้วก็ตามจะมีที่ทำอะไร ไม่ได้ก็คือ ซีลยางกันฝุ่นที่หมดสภาพไปเรียบร้อยแล้ว คือ ยินดีต้อนรับความชื้นและสิ่งสกปรกทุกอย่างเข้าสู่สายคันเร่ง แต่โดยดี สุดท้ายก็ทนไม่ไหวก็ต้องกัดฟันเบิกของใหม่มาเปลี่ยนดีกว่า เพราะอย่างน้อยๆ เสียเงินทีเดียวแต่ ใช้กันยาว แต่ ถึงแม้ว่าจะเป็นของใหม่ที่หล่อลื่นสายโลหะด้านในด้วยจาระบีมาจากโรงงานแล้วก็ตาม แต่เพื่อกันเหนียวก็ต้องเล่นของ (เหลว) กันซะหน่อย กับน้ำมันเครื่องที่ยังไม่ผ่านการใช้งาน ซึ่งจะให้ประสิทธิภาพในการหล่อลื่นได้ดีกว่ากับยุทธวิธีที่เรียก ได้ว่า “บ้านๆ” ของแท้ กับอุปกรณ์ที่สามารถหาได้ทั่วไป และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมแต่อย่างอีกด้วยแค่หาถุงพลาสติคใส กับหนังยางอีก 2-3 เส้นก็ครบแล้ว จากนั้นเริ่มตัดปลายถุงพลาสติคด้านใดด้านหนึ่งเป็นมุมทแยงให้กว้างพอที่จะใส่หัวสาย เข้าไปได้ พอตัด    เสร็จแล้วก็ครอบหัวสายด้านใดด้านหนึ่งด้วยถุงพลาสติคที่ เราตัด ทแยงไปนั่นแหละ แล้วรัดไว้ด้วยหนัง ยางให้แน่นพอประมาณ จับปากถุงให้ตั้งขึ้นแล้วก็หยอดน้ำมันลงพอให้ ท่วมสาย แล้วเอามือกำถุงไว้พอหลวม ๆให้มั่นใจ ว่าน้ำมันจะไม่หกเรี่ยราดพื้น จากนั้นก็ชักหัวสายเข้า – ดันออกไป เรื่อยๆ เพื่อให้สายโลหะเป็นตัวนำน้ำมันเข้าไปหล่อลื่น ยังภายในสายทีละนิดๆ จนครบทุกมม.ของความยาวสายคัน เร่งซึ่งเรา สามารถสังเกตได้ที่ปลอกปลายสาย เพราะมันจะ มีน้ำมันไหลออกตอนที่เราดันหัวสายคันเร่งออกมาด้วยนั่นเอง อาจ จะต้องใช้เวลานานสักนิด ประมาณ 15 – 20 นาที แต่ รับรองได้เลยว่าพอหล่อลื่นจนน้ำหนักชุ่มไปทั้งเส้น แล้วเนี่ย

ปลดของเก่า เตรียมประกอบของใหม่
       หลักๆ ของสายคันเร่งที่ต้องรื้อก็จะมีอยู่แค่ 3 จุด คือ ปลายสายที่ลิ้นเร่ง, จุดยึดตรงผนังห้องเครื่อง และหัวสายที่แป้น คันเร่ง และที่พูดมานี่ก็เท่ากับเรียงลำดับความง่ายไปหายากในการถอดเลย เริ่มจากที่ลิ้นเร่งกันก่อนที่ตำแหน่งนี้จะมีประ กับล็อคตัวสายอยู่ตรงท่อร่วมไอดี พร้อมด้วยน๊อตล็อคอีก 2 ตัว ก็ต้องคลายเจ้าน็อต 2 ตัวนี้ให้สุดเกลียวก่อน หรือถ้ากลัว ว่าสายคันเร่งมันจะตึงหรือหย่อนเกินไปก็จัดการวัดระยะระหว่างสายกับน็อตด้วยตลับเมตรไว้ก่อนก็ได้เวลาที่ใส่สายคัน เร่งเส้นใหม่เข้าไปจะได้ไม่ต้องมาตั้งให้ยุ่งยากจากนั้นจึงเลื่อนสายเข้าหาลิ้นเร่งเพื่อให้ตัวสายมีระยะให้ตัวพอที่จะปลดหัว สายที่ลิ้นเร่งออกมาได้
       พอปลดหัวสายที่ลิ้นเร่งได้แล้วมันก็จะมีจุดยึดอีก 3 จุด คือ ที่ฝาสูบ 2 จุดและขายึดตรงคานหน้าอีก 1 จุดซึ่ง 3 จุดนี้จะ ปลดง่ายหน่อย เพราะเป็นแค่แผ่นเหล็กที่ทำหน้าที่หนีบเอาไว้เท่านั้น แต่ที่วุ่นวายนี่อยู่ที่หัวสายตรงแป้นคันเร่งต่าง หาก เนื่องจากตรงหัวสายมันจะมีกิ๊บพลาสติคที่ทำหน้าที่ล็อคตำแหน่งไว้กับแป้นคันเร่ง ซึ่งจะต้องมุดเข้าไปปลด (ด้วยคีมปาก จิ้งจกและไฟฉายอีก 1 กระบอก) ตรงที่ด้านหลังของแป้นคัน เร่งอีกที ตอนปลดน่ะไม่ยากหรอก แต่มันเหนื่อยตอนมุดเพื่อ ความสะดวกในการมุดกรุณาเลื่อนเบาะคนขับให้ถอยไปจนสุดก่อนจะได้ไม่เป็นอุปสรรคกับพุงมากนัก
      พอปลดทุกจุดเสร็จสิ้นแล้วก็จะเหลือเพียงแค่จุดเดียวที่ผนังห้องเครื่อง ซึ่งออกแบบให้เป็นข้อต่อที่ถอดใส่โดยการ “กด แล้วบิด” ที่เล่นเอางงเป็นไก่ตาแตกเลย เพราะมัวแต่ไปปลดจากด้านในอยู่พักใหญ่ๆ ซึ่งทำยังไงก็ไม่หลุดซะที แต่ที่ไหน ได้มันถูกออกแบบมาให้บิด (ถอด : ทวนเข็ม / ใส่ : ตามเข็ม) จากด้านนอกโดยตรง ซึ่งถ้าหัดสังเกตตั้งแต่แรกก็จะรู้ว่าตัว ข้อต่อไม่ได้ออกแบบมาให้ปลดจากด้านใน อันนี้ต้องโทษความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของคนถอดโดยตรงซึ่งตรงจุดนี้ต้องระ วังเป็นพิเศษ เพราะตรงผนังห้องเครื่องมันจะมีซีลยางอีกจุด สำหรับป้องกันไม่ให้น้ำและสิ่งสกปรกจากห้องเครื่องเข้าสู่ ในห้องโดยสารนั่นเอง ซึ่งอายุการใช้งานก็ตามอายุขัยของรถนั่นแหละสภาพมันก็เลยค่อนข้างย่ำแย่ไปตามๆ กัน เพราะ ฉะนั้นก็ต้องเบามือซักหน่อยในการออกแรงบิดเข้าบิดออก
      และเพื่อไม่ให้เจ้าซีลยางที่ว่าบอบช้ำจนขาดใจตายระหว่างการประกอบก็ต้องใส่เจ้าปลั๊กนี่เป็นอันดับแรกเลย ตัวซีลยาง จะได้อยู่กับที่ไม่ถูกกดทับหรือกระทบกระเทือนจนขาดรุ่งริ่งนั่นเอง ส่วนการใส่ก็ต้องบิดให้ทิศทางตรงข้ามกับการถอดคือ บิดตามเข็มนั่นเอง จากนั้นต้องมุดไปที่แป้นคันเร่งอีกที เพื่อประกอบกิ๊บล็อคเข้ากับแป้นคันเร่ง แต่ตอนที่ใส่นี่ง่ายกว่าตอน ถอดนิดหน่อย แค่ดันเบาๆ ก็เข้าที่เข้าทางแล้ว พอ 2 จุดนี้เรียบร้อยที่เหลือก็ “อู๊ดๆ” แล้ว เพราะแต่ละจุดที่จะต้องยึดกับ ตัวหนีบจะมีมาร์คให้อยู่แล้ว ก็แค่ออกแรงดันนิดๆ หน่อยๆ ก็เรียบร้อย ส่วนจุดสุดท้ายกับปลายสายที่ลิ้นเร่งซึ่งก็ทำ เหมือนตอนถอดนั่นแหละ คือ คลายน็อตให้สุดทั้ง 2 ตัว วางสายไว้บนประกับแล้วจับสายดันเข้าให้สุดจากนั้นก็ค่อยๆ คล้องหัวสายเข้ากับตัวลิ้นเร่ง ตรงนี้ต้องดูการบิดของหัวสายด้วย อย่าฝืน เพราะไม่งั้นเวลาที่สายคันเร่งโดนดึงมันจะไม่ คล่องตัวนั่นเอง พอใส่ตรงนี้เรียบร้อยก็มาต่อที่น็อตตั้งระยะสายคันเร่ง จัดการหมุนน็อตทั้ง 2 ตัวเข้าหาประกับที่ท่อร่วม ไอ ดี ค่อยๆ ปรับตั้งไปทีละนิดอย่าให้สายมันตึงจนเกินไป ให้มีความหย่อนอยู่ที่ประมาณ 10 -12 มม. จากนั้นก็จัดการขัน น็อตให้แน่นพอตึงมือ จากนั้นก็สตาร์ทเครื่อง จนถึงอุณหภูมิทำงาน ดูว่ารอบเดินเบา ถูกเร่งขึ้น ไปกว่าเดิมหรือไม่ ถ้าไม่ก็ ลองเหยียบแป้นคันเร่งว่าการตอบสนองเป็นอย่างไร ถ้าทุกอย่างเรียบร้อยก็จัดการขันน็อตให้แน่นได้เลย
      ในช่วงแรกๆ มันจะมีน้ำมันไหลเยิ้มบ้างตรงบริเวณซีลกันฝุ่นก็ไม่ต้องตกใจ เนื่องจากน้ำมันในระบบมันจะไหลออกมา ตามจังหวะที่สายถูกดึงกลับด้วยสปริงของตัวลิ้นเร่งนั่นเอง กับสัมผัสที่นุ่มสบายเท้ากว่าแต่ก่อนอย่างเห็นได้ชัดออกแรง แค่ นิดเดียวก็กระตุกลิ้นได้แล้วอาการคันเร่งค้างก็หายเป็นปลิดทิ้ง เสียค่าใช้จ่ายแค่ครั้งเดียวแต่อยู่รับใช้กัน ไปอีกนาน เพราะฉะนั้นถ้าไม่อยากมีปัญหาในเรื่องคันเร่งแข็ง, ค้างหรือหนักจนสายคันเร่งขาดละก็จัดการแทนที่ด้วยของใหม่ไปเลย