ตั้งคำถาม – หาคำตอบ วิกฤติหยุดส่งก๊าซธรรมชาติ

วารสารพลังงานทางเลือก


ผลจากการหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติจากแหล่งยาดานา และแหล่งเยตากุน ประเทศเมียนมาร์ ซึ่งเป็นแหล่งป้อนพลังงานถึงกว่า 1,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ทำให้กำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศขาดไปกว่า 6,000 เมกะวัตต์ ซึ่งหากคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของกำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศโดยรวมก็มีผลกระทบอยู่สมควร ด้วยเหตุจากประเทศเมียนมาร์จะมีการซ่อมบำรุงประจำปี
    และหลังจากที่รัฐบาลเกริ่นถึงสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนที่ใช้ไฟฟ้าว่าเรากำลังเดินหน้าเข้าสู่ “ภาวะฉุกเฉินวิกฤติด้านพลังงาน” ร้อนถึงเจ้ากระทรวงที่ต้องรับมือปัญหาดังกล่าว นายพงษ์ศักดิ์  รันพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ออกมาเปิดประเด็นนี้ ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าเกิดอาการตระหนกตกใจกันทั่วทั้งประเทศไทย เพราะไม่มีใครคาดคิดว่าประเทศเราจะต้องตกอยู่ในภาวะขาดแคลนพลังงานเหมือนประเทศอื่นๆ ผนวกกับมีความเป็นไปได้สูงเมื่อคิดไปคิดมาว่า ประเทศไทยยังต้องพึ่งพาพลังงานจากประเทศเพื่อบ้านเป็นหลัก และด้วยความไม่เคยพร้อมสำรองพลังงานไว้ใช้ในยามฉุกเฉินเลย ทำให้คนไทยวูบๆ ลมจะจับว่าถ้าเกิดขึ้นจริงจะเป็นยังไง เพราะแค่ลองคิดว่า ถ้าเขาหยุดส่งพลังงานให้ประเทศไทย อะไรจะเกิดขึ้น ไฟฟ้าอันจำเป็นกับชีวิตเรามีอันต้องดับทั้งประเทศ จะเป็นอย่างไร!?
    ว่าแล้ว ก่อนจะกังวลกันไปมากกว่านี้ กระทรวงพลังงานจึงขอความร่วมมือประชาชนและหน่วยงานต่างๆ ร่วมใจกันประหยัดการใช้พลังงาน ในวันที่ 5 เมษายน 2556 เวลา 14.00 โดยร่วมกัน “ปฏิบัติการ 3 ป.” ได้แก่
ป. ปิดไฟ : ปิดไฟดวงที่ไม่ใช้
ป. ปรับแอร์ : ปรับอุณหภูมิแอร์ที่ 26 องศาหรือมากกว่า
ป. ปลดปลั๊ก : ปลดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดที่ไม่จำเป็น

     รวมทั้งร่วมมือกันประหยัดการใช้ไฟฟ้าให้เป็นกิจวัตรและพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน และลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดสภาวะฉุกเฉินด้านพลังงานได้
    แต่ถ้ายังมีข้อคำถามค้างคาใจ วันนี้ก็ได้นำ คำถามที่น่าจะอยู่ในใจคนไทยมาพร้อมกับคำตอบ จากเหตุการณ์แหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติประเทศเมียนมาร์หยุดซ่อมบำรุงประจำปี ระหว่างวันที่ 5 – 14 เมษายน 2556 ที่กระทรวงพลังงานทำขึ้นมาเพื่อประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจกับคนไทย ดังนี้

คำถามที่ 1    เหตุการณ์แหล่งก๊าซจากประเทศเมียนมาร์การหยุดเพื่อทำการซ่อมบำรุงประจำปี เกี่ยวข้องกับประเทศอย่างไร
คำตอบ        ประเทศไทยใช้ก๊าซธรรมชาติเพื่อผลิตไฟฟ้าประมาณร้อยละ 70 ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด รองลงมาใช้ถ่านหินประมาณร้อยละ 19 และแหล่งอื่นๆ เช่น พลังงานน้ำ พลังงานหมุนเวียน และการนำเข้าจากต่างประเทศรวมกันประมาณร้อยละ 11
         ประเทศไทยก๊าซธรรมชาติเพื่อผลิตไฟฟ้าจาก 3 แหล่งหลักๆ คือ จากการผลิตภายในประเทศ นำเข้าจากประเทศเมียนมาร์ และนำเข้าในรูปแบบ LNG จากต่างประเทศ โดยสัดส่วนของก๊าซธรรมชาติที่นำเข้าจากประเทศเมียนมาร์คิดเป็นประมาณร้อยละ 25  (หรือหนึ่งในสี่) ของปริมาณการจัดหาก๊าซธรรมชาติทั้งหมด และคิดเป็นร้อยละ 38 ของก๊าซธรรมชาติที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย
......................
คำถามที่ 2    การหยุดเพื่อซ่อมบำรุงแหล่งก๊าซจากประเทศเมียนมาร์ เป็นการซ่อมบำรุงประจำปีอยู่แล้ว ทำไมปี 2556 นี้ จึงถือว่าเป็นเหตุที่ควรจับตาระวัง และต้องเตรียมความพร้อมสภาวะฉุกเฉินด้านพลังงาน
คำตอบ        โดยปกติ การหยุดซ่อมบำรุงแท่นผลิตก๊าซธรรมชาติของประเทศเมียนมาร์ จะมีแผนหยุดซ่อมบำรุงประจำปีล่วงน้า ซึ่งที่ผ่านมาจะหยุดซ่อมในช่วงกลางเดือนเมษายน ซึ่งเป็นวันหยุดสงการน์ของประเทศไทย ซึ่งภาคอุตสาหกรรมจะมีการหยุดงาน และประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนา ทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าลดลง แต่สำหรับปี 2556 มีการเลื่อนซ่อมบำรุงมาเป็นช่วงก่อนวันหยุดสงกรานต์ ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวมีอากาศร้อน จึงจำเป็นต้องใช้พลังงานสูง ประกอบกับโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ยังคงดำเนินการผลิตตามปกติ จึงคาดว่าในช่วงเวลาดังกล่าวจะยังมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง ในขณะที่กำลังการผลิตไฟฟ้าสำรองของประเทศลดลง เนื่องจากโรงไฟฟ้าบางโรงเริ่มหมดอายุการใช้งาน และเป็นช่วงฤดูแล้ง ทำให้ปริมาณน้ำเขื่อนบางแห่งน้อย ส่งผลต่อกำลังการผลิตไฟฟ้า
        จากเหตุผลดังกล่าว ทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ประมาณการณ์ว่าจะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าสำรองเหลือเพียงประมาณ 700 เมกะวัตต์ เท่านั้น หรือเทียบได้กับกำลังการผลิตไฟฟ้าจากโรงงานไฟฟ้าเพียง 1 โรงซึ่งหากเกิดเหตุไม่คาดคิกที่ทำให้โรงไฟฟ้าที่มีอยู่ในปัจจุบันหยุดทำงาน ก็อาจทำให้เกิดไฟฟ้าดับบางเขตได้
......................
คำถามที่ 3    ทำไมแหล่งก๊าซจากประเทศเมียนมาร์จึงต้องมีการหยุดซ่อมบำรุงในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งจำเป็นต้องหยุดก่อนช่วงสงกรานต์
คำตอบ        เนื่องจากแท่นขุดเจาะก๊าซของประเทศเมียนมาร์ เกิดการทรุดตัว จึงต้องหยุดซ่อมเพื่อความปลอดภัยทางวิศวกรรม และถ้าหากมีการเลื่อนระยะเวลาซ่อมออกไปจะทำให้มีความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัยของแท่นขุดเจาะก๊าซเพิ่มสูงขึ้นเกิดความเสียหายขึ้น และอาจจะทำให้ระยะเวลาที่ต้องหยุดจ่ายก๊าซและซ่อมบำรุงยาวนานขึ้นอันจะส่งผลให้เกิดความเสียหายมากขึ้นอีกด้วย
......................
คำถามที่ 4    ก๊าซธรรมชาติจากประเทศเมียนมาร์ที่หายไปจากเหตุการณ์ครั้งนี้ คิดเป็นปริมาณเท่าไร
คำตอบ        ก๊าซธรรมชาติจากแหล่งประเทศเมียนมาร์ที่หายไป คิดเป็นปริมาณประมาณ 1,100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน คำนวณเป็นปริมาณผลิตไฟฟ้าอยู่ที่ 6,400 เมกะวัตต์ ซึ่งปัจจุบันกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าของประเทศมีประมาณ 32,000 เมกะวัตต์ หรืคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 18 ของกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งประเทศ
......................
คำถามที่ 5     โรงไฟฟ้าใดบ้างที่ได้รับผลกระทบจากการหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติจากประเทศเมียนมาร์
คำตอบ        มีโรงไฟฟ้าที่ได้รับผลกระทบจากการหยุดจ่ายก๊าซจากประเทศเมียนมาร์ ทั้งหมด 6 แห่งด้วยกันประกอบด้วย
- โรงไฟฟ้าราชบุรี
- โรงไฟฟ้าราชบุรีพาวเวอร์
- โรงไฟฟ้าไตรเอนเนอยี่
- โรงไฟฟ้าพระนครใต้
- โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ
- โรงไฟฟ้าวังน้อย
         แต่จะมี 3 โรงไฟฟ้าที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ โรงฟ้าพระนครใต้ โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ และโรงไฟฟ้าวังน้อย เนื่องจากโรงไฟฟ้าถูกออกแบบมาเพื่อใช้ก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้าเท่านั้น
         ในขณะที่ โรงไฟฟ้าราชบุรี โรงไฟฟ้าราชบุรีพาวเวอร์ และโรงไฟฟ้าไตรเอนเนอยี่ สามารถใช้น้ำมันเตาและน้ำมันดีเซลไฟฟ้าทดแทนได้บางส่วน
......................
คำถามที่ 6    ปัจจุบัน กระทรวงพลังงานมีการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์นี้อย่างไรบ้าง
คำตอบ        กระทรวงพลังงานได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมหลายส่วน คือ
1. กระทรวงพลังงาน สั่งการให้ภาคการผลิตไฟฟ้าและภาคปิโตรเลียม ห้ามหยุดซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้าและแหล่งผลิตก๊าซฯในช่วงเวลาดังกล่าว
2. กระทรวงพลังงาน สั่งการเตรียมเชื้อเพลิงสำรองเต็มพิกัด
3. กระทรวงพลังงาน ตั้งคณะทำงานติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยสามารถสอถามได้ที่ศูนย์บริการร่วมกระทรวงพลังงาน โทรศัพท์ 0-2140-7000
4. กระทรวงพลังงาน ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชน ร่วมใจกันประหยัดการใช้พลังงานในช่วงหยุดซ่อมบำรุง และถือปฏิบัติอย่างต่อเนื่องตลอดไป
5. ทั้งหมดนี้ กระทรวงพลังงานจะมีการซักซ้อมความพร้อมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับตุการณ์นี้อีกครั้งในวันที่ 13 มีนาค 2556
......................
คำถามที่ 7    จากเหตุการณ์นี้จะทำเกิดไฟฟ้าดับในช่วงเวลาดังกล่าวหรือไม่
คำตอบ        กระทรวงพลังงานได้เตรียมพร้อมทั้งด้านบุคลการและด้านอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อรองรับสถานการณ์ดังกล่าวไว้แล้ว อย่างไรก็ตามกระทรวงพลังงานขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนร่วมกันประหยัด และลดใช้ไฟฟ้า เพื่อป้องกันเหตุการณ์สุดวิสัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุม ที่อาจเกิดขึ้นได้
......................
คำถามที่ 8    หากเกิดฟ้าดับจะดับในพื้นที่ใดบ้าง
คำตอบ        การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้านครหลวง ได้จัดทำแผนการเวียนดับไฟฟ้า (Brown Out) เพื่อลดความเสียหายของระบบกระแสไฟฟ้าของประเทศ โดยได้มีการจัดลำดับความสำคัญของสถานที่ต่างๆ ที่จะไม่ถูกดับไฟฟ้า โดยเฉพาะสถานที่ที่ให้บริการสาธารณะและความมั่นคง เช่น โรงพยาบาล เขตธุรกิจ สถานีตำรวจ ชุมสายโทรศัพท์ เป็นต้น
......................
คำถามที่ 9    การผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานหุนเวียน เช่น ลม และแสงอาทิตย์ สามารถช่วยบรรเทาสถานการณ์ฉุกเฉินด้านพลังงานได้
คำตอบ        การผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เช่น ลม และแสงอาทิตย์ ช่วยลดการนำเข้าเชื้อเพลิงและลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้
        อย่างไรก็ตาม การผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เช่น ลม และแสงอาทิตย์นั้น ก็มีข้อจำกัดในด้านกำลังการผลิต เวลา และการควบคุมการผลิต ซึ่งอาจจะบรรเทาผลกระทบจากสภาวะฉุกเฉินด้านพลังงานได้ไม่มากนัก
        อย่างไรก็ดี พลังงานหมุนเวียนบางประเภทสามารถช่วยบรรเทาสถานการณ์ฉุกเฉินได้ เช่น พลังงานชีวมวล และก๊าซชีวภาพ เพราะเราสามารถกำหนดปริมาณ และเวลาในการผลิตกระแสไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานเหล่านี้ได้ ซึ่งกระทรวงพลังงานก็ได้ส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง
......................
คำถามที่ 10    ประชาชน ภาคอุตสาหกรรม ภาคเอกชนควรปฏิบัติตนอย่างไรเพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์นี้
คำตอบ        ภาคประชาชน ภาคอุตสาหกรรม ภาคเอกชน สามารถร่วมบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์นี้ โดยร่วมมือกันประหยัดการใช้ไฟฟ้าในช่วงดังกล่าว โดยเฉพาะในช่วงที่มีการใช้ไฟฟ้าสูง คือ ช่วงเวลาประมาณ 13.00 – 15.00 น. ระหว่างช่วงที่มีการหยุดจ่ายก๊าซ 5-14 เมษายน 2556 เพื่อลดความต้องการไฟฟ้า ซึ่งส่งผลให้กำลังการผลิตไฟฟ้าสำรองของประเทศเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานขอความร่วมมือประชาชนคนไทย สู่วิกฤตไฟฟ้า ในวันที่ 5 เมษายน 2556 เวลา 14.00 น. ตามปฏิบัติการ 3 ป. ช่วยชาติประหยัดพลังงาน ได้แก่ “ปิดไฟ  ปรับแอร์  ปลดปลั๊ก” คือ ปิดไฟดวงที่ไม่ใช้ ปรับอุณหภูมิแอร์ที่ 26 องศาหรือมากกว่า และปลดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดที่ไม่จำเป็น รวมทั้งสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนร่วมมือกันประหยัดการไฟฟ้าให้เป็นกิจวัตร และพฤติกรรมต่อเนื่อง ก็จะชวยสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน และลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดสภาวะฉุกเฉินด้านพลังงานได้
......................
    คำตอบเหล่านี้คงช่วยให้คนไทยที่กำลังปวดหัวกลัวไม่มีไฟฟ้าใช้อาจทำให้ใจชื่นขึ้น แต่ก็ยังมีการมองต่างมุมถึงกรณีการประกาศการหยุดส่งก๊าซของรัฐบาลชุดนี้เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม หากช่วยให้ประชาชนไม่เดือดร้อนและนำฝ่าฟันวิกฤตินี้ไปได้ ก็น่าจะเป็นหนทางที่ดี เพียงแต่ว่าอย่าใช้กลัวกังวลของประชาชนเป็นเครื่องมือในการสร้างผลประโยชน์ให้คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นพอ!!คำถามที่ 1    เหตุการณ์แหล่งก๊าซจากประเทศเมียนมาร์การหยุดเพื่อทำการซ่อมบำรุงประจำปี เกี่ยวข้องกับประเทศอย่างไร
คำตอบ        ประเทศไทยใช้ก๊าซธรรมชาติเพื่อผลิตไฟฟ้าประมาณร้อยละ 70 ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด รองลงมาใช้ถ่านหินประมาณร้อยละ 19 และแหล่งอื่นๆ เช่น พลังงานน้ำ พลังงานหมุนเวียน และการนำเข้าจากต่างประเทศรวมกันประมาณร้อยละ 11
         ประเทศไทยก๊าซธรรมชาติเพื่อผลิตไฟฟ้าจาก 3 แหล่งหลักๆ คือ จากการผลิตภายในประเทศ นำเข้าจากประเทศเมียนมาร์ และนำเข้าในรูปแบบ LNG จากต่างประเทศ โดยสัดส่วนของก๊าซธรรมชาติที่นำเข้าจากประเทศเมียนมาร์คิดเป็นประมาณร้อยละ 25  (หรือหนึ่งในสี่) ของปริมาณการจัดหาก๊าซธรรมชาติทั้งหมด และคิดเป็นร้อยละ 38 ของก๊าซธรรมชาติที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย
......................
คำถามที่ 2    การหยุดเพื่อซ่อมบำรุงแหล่งก๊าซจากประเทศเมียนมาร์ เป็นการซ่อมบำรุงประจำปีอยู่แล้ว ทำไมปี 2556 นี้ จึงถือว่าเป็นเหตุที่ควรจับตาระวัง และต้องเตรียมความพร้อมสภาวะฉุกเฉินด้านพลังงาน
คำตอบ        โดยปกติ การหยุดซ่อมบำรุงแท่นผลิตก๊าซธรรมชาติของประเทศเมียนมาร์ จะมีแผนหยุดซ่อมบำรุงประจำปีล่วงน้า ซึ่งที่ผ่านมาจะหยุดซ่อมในช่วงกลางเดือนเมษายน ซึ่งเป็นวันหยุดสงการน์ของประเทศไทย ซึ่งภาคอุตสาหกรรมจะมีการหยุดงาน และประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนา ทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าลดลง แต่สำหรับปี 2556 มีการเลื่อนซ่อมบำรุงมาเป็นช่วงก่อนวันหยุดสงกรานต์ ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวมีอากาศร้อน จึงจำเป็นต้องใช้พลังงานสูง ประกอบกับโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ยังคงดำเนินการผลิตตามปกติ จึงคาดว่าในช่วงเวลาดังกล่าวจะยังมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง ในขณะที่กำลังการผลิตไฟฟ้าสำรองของประเทศลดลง เนื่องจากโรงไฟฟ้าบางโรงเริ่มหมดอายุการใช้งาน และเป็นช่วงฤดูแล้ง ทำให้ปริมาณน้ำเขื่อนบางแห่งน้อย ส่งผลต่อกำลังการผลิตไฟฟ้า
        จากเหตุผลดังกล่าว ทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ประมาณการณ์ว่าจะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าสำรองเหลือเพียงประมาณ 700 เมกะวัตต์ เท่านั้น หรือเทียบได้กับกำลังการผลิตไฟฟ้าจากโรงงานไฟฟ้าเพียง 1 โรงซึ่งหากเกิดเหตุไม่คาดคิกที่ทำให้โรงไฟฟ้าที่มีอยู่ในปัจจุบันหยุดทำงาน ก็อาจทำให้เกิดไฟฟ้าดับบางเขตได้
......................
คำถามที่ 3    ทำไมแหล่งก๊าซจากประเทศเมียนมาร์จึงต้องมีการหยุดซ่อมบำรุงในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งจำเป็นต้องหยุดก่อนช่วงสงกรานต์
คำตอบ        เนื่องจากแท่นขุดเจาะก๊าซของประเทศเมียนมาร์ เกิดการทรุดตัว จึงต้องหยุดซ่อมเพื่อความปลอดภัยทางวิศวกรรม และถ้าหากมีการเลื่อนระยะเวลาซ่อมออกไปจะทำให้มีความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัยของแท่นขุดเจาะก๊าซเพิ่มสูงขึ้นเกิดความเสียหายขึ้น และอาจจะทำให้ระยะเวลาที่ต้องหยุดจ่ายก๊าซและซ่อมบำรุงยาวนานขึ้นอันจะส่งผลให้เกิดความเสียหายมากขึ้นอีกด้วย
......................
คำถามที่ 4    ก๊าซธรรมชาติจากประเทศเมียนมาร์ที่หายไปจากเหตุการณ์ครั้งนี้ คิดเป็นปริมาณเท่าไร
คำตอบ        ก๊าซธรรมชาติจากแหล่งประเทศเมียนมาร์ที่หายไป คิดเป็นปริมาณประมาณ 1,100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน คำนวณเป็นปริมาณผลิตไฟฟ้าอยู่ที่ 6,400 เมกะวัตต์ ซึ่งปัจจุบันกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าของประเทศมีประมาณ 32,000 เมกะวัตต์ หรืคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 18 ของกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งประเทศ
......................
คำถามที่ 5     โรงไฟฟ้าใดบ้างที่ได้รับผลกระทบจากการหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติจากประเทศเมียนมาร์
คำตอบ        มีโรงไฟฟ้าที่ได้รับผลกระทบจากการหยุดจ่ายก๊าซจากประเทศเมียนมาร์ ทั้งหมด 6 แห่งด้วยกันประกอบด้วย
- โรงไฟฟ้าราชบุรี
- โรงไฟฟ้าราชบุรีพาวเวอร์
- โรงไฟฟ้าไตรเอนเนอยี่
- โรงไฟฟ้าพระนครใต้
- โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ
- โรงไฟฟ้าวังน้อย
         แต่จะมี 3 โรงไฟฟ้าที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ โรงฟ้าพระนครใต้ โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ และโรงไฟฟ้าวังน้อย เนื่องจากโรงไฟฟ้าถูกออกแบบมาเพื่อใช้ก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้าเท่านั้น
         ในขณะที่ โรงไฟฟ้าราชบุรี โรงไฟฟ้าราชบุรีพาวเวอร์ และโรงไฟฟ้าไตรเอนเนอยี่ สามารถใช้น้ำมันเตาและน้ำมันดีเซลไฟฟ้าทดแทนได้บางส่วน
......................
คำถามที่ 6    ปัจจุบัน กระทรวงพลังงานมีการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์นี้อย่างไรบ้าง
คำตอบ        กระทรวงพลังงานได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมหลายส่วน คือ
1. กระทรวงพลังงาน สั่งการให้ภาคการผลิตไฟฟ้าและภาคปิโตรเลียม ห้ามหยุดซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้าและแหล่งผลิตก๊าซฯในช่วงเวลาดังกล่าว
2. กระทรวงพลังงาน สั่งการเตรียมเชื้อเพลิงสำรองเต็มพิกัด
3. กระทรวงพลังงาน ตั้งคณะทำงานติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยสามารถสอถามได้ที่ศูนย์บริการร่วมกระทรวงพลังงาน โทรศัพท์ 0-2140-7000
4. กระทรวงพลังงาน ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชน ร่วมใจกันประหยัดการใช้พลังงานในช่วงหยุดซ่อมบำรุง และถือปฏิบัติอย่างต่อเนื่องตลอดไป
5. ทั้งหมดนี้ กระทรวงพลังงานจะมีการซักซ้อมความพร้อมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับตุการณ์นี้อีกครั้งในวันที่ 13 มีนาค 2556
......................
คำถามที่ 7    จากเหตุการณ์นี้จะทำเกิดไฟฟ้าดับในช่วงเวลาดังกล่าวหรือไม่
คำตอบ        กระทรวงพลังงานได้เตรียมพร้อมทั้งด้านบุคลการและด้านอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อรองรับสถานการณ์ดังกล่าวไว้แล้ว อย่างไรก็ตามกระทรวงพลังงานขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนร่วมกันประหยัด และลดใช้ไฟฟ้า เพื่อป้องกันเหตุการณ์สุดวิสัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุม ที่อาจเกิดขึ้นได้
......................
คำถามที่ 8    หากเกิดฟ้าดับจะดับในพื้นที่ใดบ้าง
คำตอบ        การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้านครหลวง ได้จัดทำแผนการเวียนดับไฟฟ้า (Brown Out) เพื่อลดความเสียหายของระบบกระแสไฟฟ้าของประเทศ โดยได้มีการจัดลำดับความสำคัญของสถานที่ต่างๆ ที่จะไม่ถูกดับไฟฟ้า โดยเฉพาะสถานที่ที่ให้บริการสาธารณะและความมั่นคง เช่น โรงพยาบาล เขตธุรกิจ สถานีตำรวจ ชุมสายโทรศัพท์ เป็นต้น
......................
คำถามที่ 9    การผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานหุนเวียน เช่น ลม และแสงอาทิตย์ สามารถช่วยบรรเทาสถานการณ์ฉุกเฉินด้านพลังงานได้
คำตอบ        การผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เช่น ลม และแสงอาทิตย์ ช่วยลดการนำเข้าเชื้อเพลิงและลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้
        อย่างไรก็ตาม การผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เช่น ลม และแสงอาทิตย์นั้น ก็มีข้อจำกัดในด้านกำลังการผลิต เวลา และการควบคุมการผลิต ซึ่งอาจจะบรรเทาผลกระทบจากสภาวะฉุกเฉินด้านพลังงานได้ไม่มากนัก
        อย่างไรก็ดี พลังงานหมุนเวียนบางประเภทสามารถช่วยบรรเทาสถานการณ์ฉุกเฉินได้ เช่น พลังงานชีวมวล และก๊าซชีวภาพ เพราะเราสามารถกำหนดปริมาณ และเวลาในการผลิตกระแสไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานเหล่านี้ได้ ซึ่งกระทรวงพลังงานก็ได้ส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง
......................
คำถามที่ 10    ประชาชน ภาคอุตสาหกรรม ภาคเอกชนควรปฏิบัติตนอย่างไรเพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์นี้
คำตอบ        ภาคประชาชน ภาคอุตสาหกรรม ภาคเอกชน สามารถร่วมบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์นี้ โดยร่วมมือกันประหยัดการใช้ไฟฟ้าในช่วงดังกล่าว โดยเฉพาะในช่วงที่มีการใช้ไฟฟ้าสูง คือ ช่วงเวลาประมาณ 13.00 – 15.00 น. ระหว่างช่วงที่มีการหยุดจ่ายก๊าซ 5-14 เมษายน 2556 เพื่อลดความต้องการไฟฟ้า ซึ่งส่งผลให้กำลังการผลิตไฟฟ้าสำรองของประเทศเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานขอความร่วมมือประชาชนคนไทย สู่วิกฤตไฟฟ้า ในวันที่ 5 เมษายน 2556 เวลา 14.00 น. ตามปฏิบัติการ 3 ป. ช่วยชาติประหยัดพลังงาน ได้แก่ “ปิดไฟ  ปรับแอร์  ปลดปลั๊ก” คือ ปิดไฟดวงที่ไม่ใช้ ปรับอุณหภูมิแอร์ที่ 26 องศาหรือมากกว่า และปลดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดที่ไม่จำเป็น รวมทั้งสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนร่วมมือกันประหยัดการไฟฟ้าให้เป็นกิจวัตร และพฤติกรรมต่อเนื่อง ก็จะชวยสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน และลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดสภาวะฉุกเฉินด้านพลังงานได้
......................
    คำตอบเหล่านี้คงช่วยให้คนไทยที่กำลังปวดหัวกลัวไม่มีไฟฟ้าใช้อาจทำให้ใจชื่นขึ้น แต่ก็ยังมีการมองต่างมุมถึงกรณีการประกาศการหยุดส่งก๊าซของรัฐบาลชุดนี้เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม หากช่วยให้ประชาชนไม่เดือดร้อนและนำฝ่าฟันวิกฤตินี้ไปได้ ก็น่าจะเป็นหนทางที่ดี เพียงแต่ว่าอย่าใช้กลัวกังวลของประชาชนเป็นเครื่องมือในการสร้างผลประโยชน์ให้คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นพอ!!

ย้อนรอยหยุดจ่ายก๊าซ
              ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมมือกันแก้ไขปัญหา ในกรณีที่พม่าหยุดส่งมอบก๊าซธรรมชาติให้กับประเทศไทย ทั้งกรณีเกิดจากเหตุฉุกเฉินและการปิดซ่อมบำรุงประจำปี ด้วยการใช้น้ำมันเตา และน้ำมัน ดีเซล มาผลิตไฟฟ้าเป็นการทดแทน.....
              ปี 2551
              16 ม.ค. เกิดปัญหาไฟฟ้าดับในพม่า และระบบควบคุมอัตโนมัติ ในการลำเลียงส่งก๊าซฯขัดข้อง ที่มิเตอร์วัดปริมาณก๊าซฯของแหล่งยาดานา ทำให้ต้องปิดวาล์วรับก๊าซฯ ส่งผลให้พม่าต้องลดการจ่ายก๊าซฯให้กับโรงไฟฟ้าของไทย จากเดิม 1,134 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน (ล้าน ลบ.ฟุต) เหลือเพียง 1,100 ล้าน ลบ.ฟุตต่อวัน ทำให้ต้องใช้น้ำมันเตา 900,000 ลิตรทดแทน
              26 ก.พ. แท่นขุดเจาะก๊าซฯที่แหล่งเยตากุน หยุดเดินเครื่องฉุกเฉิน ทำให้ต้องลดปริมาณการส่งก๊าซฯแก่ไทย เป็นผลให้ไทยต้องใช้น้ำมันเตา 1.8 ล้านลิตรแทน
              2-10 เม.ย. แหล่งก๊าซฯเยตากุนหยุดเดินเครื่อง เพราะท่อก๊าซฯใกล้กับสถานีวัดปริมาณก๊าซฯฝั่งพม่ารั่ว ทำให้ ปตท.ต้องปิดวาล์วรับก๊าซฯ และใช้น้ำมันเตา 76 ล้านลิตรกับน้ำมันดีเซล 700,000 ลิตร แทน
              13-15 เม.ย. หยุดซ่อมท่อก๊าซฯจากแหล่งยาดานา ทำให้ไม่สามารถส่งมอบก๊าซฯให้กับไทย 1,134 ล้าน ลบ.ฟุตต่อวันได้ ต้องใช้น้ำมันเตา 15 ล้านลิตรและน้ำมันดีเซล 700,000 ลิตรแทน
              30 มิ.ย.-1 ก.ค. แท่นขุดเจาะก๊าซฯแหล่งยาดานา หยุดเดินเครื่องฉุกเฉิน เนื่องจากคลื่นลมในทะเลพัดแรง ส่งผลให้พม่าลดปริมาณส่งก๊าซฯเหลือเพียง 566 ล้าน ลบ.ฟุต จากปกติ 710 ล้าน ลบ.ฟุตต่อวัน ทำให้ต้องใช้น้ำมันเตา 1 ล้านลิตรแทน
              ปี 2552
              15 ส.ค. แหล่งก๊าซฯยาดานาหยุดจ่ายก๊าซฯ กะทันหัน ทำให้ต้องลดการจ่ายก๊าซฯ 40 ล้าน ลบ. ฟุตต่อวัน จากปกติ 710 ล้าน ลบ.ฟุตต่อวัน และใช้น้ำมันเตา 1 ล้านลิตรแทน
              12-13 ก.ย. แหล่งก๊าซฯเยตากุน ย้ายฐานการขุดเจาะ ทำให้ต้องลดการส่งมอบก๊าซฯ 60 ล้าน ลบ.ฟุตต่อวัน และใช้น้ำมันเตา 400,000 ลิตรแทน
              3 พ.ย. แหล่งก๊าซฯ ยานาดาหยุดจ่ายก๊าซฯ ฉุกเฉิน ทำให้จ่ายก๊าซฯให้ กฟผ.ได้เพียง 430 ล้าน ลบ.ฟุตต่อวัน จากปกติ 1,020 ล้าน ลบ.ฟุตต่อวัน
              22 ธ.ค. 52-5 ม.ค. 53 แหล่งก๊าซฯเยตา-กุนหยุดซ่อมบำรุงรักษาอุปกรณ์ประจำปี ทำให้ต้องหยุดจ่ายก๊าซฯ และต้องใช้น้ำมัน 22 ล้านลิตร
              ปี 2553
              14 มี.ค. แหล่งก๊าซฯยาดานา หยุดจ่ายก๊าซฯ ให้กับภาคตะวันตกของประเทศไทย เพราะการรั่วไหลของระบบไฮดรอลิกใช้น้ำมันเตา 100,000 ลิตร
              23-31 มี.ค. แหล่งฯก๊าซยาดานาหยุดการผลิต เพื่อทำแท่นเชื่อมโครงการท่อขนาด 24 นิ้ว ทำให้ต้องหยุดจ่ายก๊าซฯให้กับฝั่งตะวันตกของประเทศไทย มีผลให้ต้องใช้น้ำมันเตา 79.53 ล้านลิตร และน้ำมันดีเซล 10.49 ล้านลิตรแทน