การดูแลรถยนต์ที่ติดตั้งเทอร์โบ

นิตยสารรถ weekly

     รถยนต์ที่จำหน่ายอยู่ในบ้านเราปัจจุบันนี้มีมากหลายรูปแบบ หลาย ๆ ค่ายผู้ผลิตก็ได้ทำการค้นคว้าพัฒนาระบบต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ให้ดีขึ้นกว่ารุ่นเก่า ๆ และมีการนำรถยนต์ที่เครื่องยนต์ติดตั้งระบบเทอร์โบชาร์จเจอร์มาจำหน่ายมากขึ้นกว่าเดิมด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เป็นตัวเลือกสำหรับคนที่ต้องการรถที่มีสมรรถนะเหนือกว่าเครื่องยนต์ปกติที่ไม่มีระบบอัดอากาศ
ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในเครื่องยนต์เบนซินเท่านั้น แม้แต่เครื่องยนต์ดีเซลในปัจจุบันก็เริ่มนำระบบอัดอากาศหรือ “เทอร์โบชาร์จ” มาใช้มากขึ้น ด้วยเหตุผลที่จะหลีกหนี “ความอืด” และเนื่องจากการนำระบบอัดอากาศมาใช้ในเครื่องยนต์ดีเซลจะทำให้การเผาไหม้ของเครื่องยนต์หมดจดมากขึ้นกว่าเดิมเป็นการลดมลภาวะไปได้อีกทางหนึ่ง


     สำหรับรถยนต์ที่ติดตั้งเทอร์โบชาร์จเจอร์มทาจากโรงงานซึ่งมักจำหน่ายในบ้านเราก็จะมีทั้ง รถสปอร์ต และซีดานจากญี่ปุ่น และรถอีกหลายรูปแบบของทางค่ายรถยุโรปให้แต่ก่อนจะตัดสินใจเลือกซื้อรถเครื่องยนต์เทอร์โบก็ควรจะรู้ด้วยว่าเครื่องยนต์ที่มีระบบอัดอากาศนั้นจะต้องการความเอาใจใส่และดูแลรักษามากกว่าเครื่องยนต์ปกติ
สำหรับเครื่องยนต์ที่ติดเทอร์โบมาจากโรงงานส่วนมากจะได้รับการปรับปรุงชิ้นส่วนภายในเครื่องยนตืหลายต่อหลายส่วนเพื่อให้สามารถรับกับการทำงานของเทอร์โบชาร์จเจอร์ได้ ทั้งลูกสูบ และฝาสูบจะต้องมีความแข็งแรงมากกว่าเดิม และยังมีพวกโครงสร้างรูปแบบของท่อร่วมไอดี การทนความร้อนของท่อร่วมไอเสีย เหล่านี้จะต้อง “ดีกว่า” และ “ทนกว่า” เครื่องยนต์ปกติทั้งสิ้น โดยเฉพาะระบบระบายความร้อนของน้ำและน้ำมันเครื่องจะได้รับการออกแบบให้ดีกว่าเครื่องยนต์ปกติเพื่อให้เครื่องยนต์มีความทนทานไม่ต่างกับเครื่องยนต์ธรรมดา แต่เครื่องยนต์จากโรงงานเหล่านี้จะได้รับการออกแบบมาอย่างไร ก็ยังมีอีกจุดหนึ่งที่บางคนมองข้ามไป เพราะคิดว่าหากจำเป็นทางโรงงานก็คงมีการติดตั้งมาให้ด้วยแล้ว นั่นคือ “เทอร์โบไทเมอร์” (Turbo timer)

เทอร์โบไทเมอร์ คืออะไร


หากสังเกตท่านก็จะเห็นว่ารถที่มีเทอร์โบติดมาจากโรงงานนี้ไม่มีรุ่นไหนเลยที่มีระบบ “วงเวลาการดับเครื่องยนต์” หรือเจ้า ”เทอร์โบไทเมอร์” ที่ว่านี้มาให้ เราลองคิดดูความสำคัญของมันกันก่อนดีกว่า


หน้าที่เทอร์โบไทเมอร์ คือ จะเป็นตัวถ่วงเวลาการดับของเครื่องยนต์ โดยเมื่อเราปิดสวิทช์ดับเครื่องยนต์แล้วเทอร์โบไทเมอร์จะเริ่มทำงาน เทอร์โบไทเมอร์จะติดตั้งไว้ที่สวิทช์กุญแจที่สายไฟจากขั้วที่ใช้ดับเครื่องยนต์มาเข้าตัวเทอร์โบไทเมอร์ เมื่อเราดับเครื่องยนต์ เจ้าเทอร์โบไทเมอร์ก็จะทำงานต่อทำให้เครื่องยังไม่ดับ ส่วนจะดับเมื่อไหร่ก็แล้วแต่เวลาที่เราตั้งไว้ว่าจะให้ดับหลังจากที่เราบิดสวิทช์ดับเครื่องแล้วกี่วินาที


เหตุผลที่จะต้องมีการหน่วงเวลาในการดับเครื่องยนต์นั้นก็เพราะว่าในการทำงานของเครื่องยนต์ที่มีเทอร์โบไทเมอร์จะมีน้ำมันสูบฉีดไปหล่อลื่นยังส่วนต่างๆ ของเครื่องยนต์อย่างทั่วถึง เพื่อระบายความร้อนและลดการสึกหรอของชิ้นส่วนต่าง ๆของเครื่องยนต์ ส่วนที่มีความเร็วรอบสูงที่สุดในเครื่งยนต์เทอร์โบก็เห็นจะเป็นตัวเทอร์โบนี่เองแหละที่หมุนเร็วกว่าเพื่อน และที่ตัวเทอร์โบนี้ก็จะมีน้ำมันไปหล่อลื่นที่แกนเทอร์โบเหมือนกันเวลาเครื่องยนต์ทำงาน แต่เมื่อเราดับเครื่องยนต์ ระบบต่าง ๆ ของเครื่องจะหยุดการทำงาน แต่เครื่องยนต์จะหยุดการทำงานทันทีซึ่งก็รวมทั้งระบบปั๊มน้ำมันหล่อลื่นด้วย


แต่ก็ยังมีชิ้นส่วนอยู่อีกชิ้นหนึ่งที่ยังหมุนอยู่ นั่นคือ “เทอร์โบร์” (ใบกังหัน) ของตัวเทอร์โบ ถ้าดับเครื่องทันทีหลังจากขับด้วยความเร็วรอบสูงมาก เทอร์โบร์ซึ่งเป็นชิ้นเดียวกับแกนของเทอร์โบที่หมุนอยู่ก็จะยังหมุนไปอีกแต่เป็นการหมุนชนิดที่ไม่มีน้ำมันหล่อลื่นซึ่งจะทำให้เกิดการสึกหรออย่างมาก นอกจากนี้ตัวเทอร์โบเองก็ยังจะมีความร้อนสูงอยู่จึงต้องมีการระบายความร้อนให้อุณหภูมิลดลงก่อนรวมทั้งตัวเครื่องยนต์เทอร์โบหลังจากใช้งานมาด้วยความเร็วรอบสูงจะเกิดความร้อนสูงกว่าเครื่องยนต์ธรรมดา จึงไม่ควรดับเครื่องในทันที ที่จอดรถ ควรจะปล่อยให้เครื่องยนต์ทำงานที่รอบเดินเบาสักพัก เพื่อให้อุณหภูมิของเครื่องยนต์ลดลงมาหน่อยและช่วยหล่อลื่นแกนเทอร์โบไปในตัวด้วยแล้วจึงค่อยดับเครื่อง เจ้า “เทอร์โบไทเมอร์” นี่แหละคืออุปกรณ์อำนวยความสะดวกทำให้ไม่ต้องมานั่งรอเวลาดับเครื่องและ “กันลืม” ไปด้วยในตัว



ข้อควรระวังในการรักษาเครื่องยนต์เทอร์โบ
ถ้าท่านเคยนำคู่มือประจำรถมาเปิดอ่านดูบ้างจะพบว่ามีข้อความเตือนและข้อแนะนำในการปฏิบัติต่างๆ เกี่ยวกับการใช้งานเครื่องยนต์เทอร์โบอยู่มากมาย ซึ่งก็ไม่ได้เข้าใจยากเย็นอะไร การปฏิบัติตามที่คู่มือแนะนำมาจะเป็นการยืดอายุการใช้งานของตัวเทอร์โบและครื่องยนต์ด้วย ข้อแนะนำดังกล่าวก็เช่นหลังจากที่สตาร์ทเครื่องยนต์ใหม่ ๆ ไม่ควรเร่งเครื่องยนต์รอบสูงในทันที เพราะน้ำมันเครื่องจะยังไม่ขึ้นไปเลี้ยงที่แกนเทอร์โบ จะทำให้เกิดการสึกหรอสูง ไส้กรองอากาศมีความสำคัญมากต่อประสิทธิภาพของการทำงานของเครื่องยนต์เทอร์โบ ควรดูแลให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอท่อทางอากาศเข้าสู่เครื่องยนต์จากกรองอากาศมาที่ตัวเทอร์โบ ควรดูแลให้อยู่ในสภาพดี ไม่ขาด ไม่รั่วจนทำให้อากาศที่ไม่ผ่านจกรองสามารถแทรกเข้ามาได้ เนื่องจากฝุ่นละอองเป็นศัตรูตัวร้ายของเทอร์โบและเครื่องยนต์ น้ำมันเครื่องและกรองน้ำมันเครื่องที่เสื่อมสภาพแล้วและสิ่งสกปรกที่ปนอยู่ในน้ำมันเครื่องจะมีผลต่การใช้น้ำมันเครื่องที่ระบุให้ใช้กับเครื่องยนตืเทอร์โบจะต้องสามารถทนความร้อนได้ดีกว่าน้ำมันเครื่องปกติ และสุดท้ายอย่างที่บอกไปแล้วคือควรมีการ “วอร์มดาวน์” เครื่องยนต์ก่อนดับ หลังจากใช้งานที่ความเร็วรอบสูงมา โดยการปล่อยให้เดินเบา 2-5 นาที และไม่ควรเร่งเครื่องยนต์ก่อน ดับเครื่องด้วยนะครับ