ความรู้เกี่ยวกับถุงลมนิรภัย

นิตยสารรถ Weekly

ถุงลมนิรภัยแบบครบทุก ตำแหน่ง ด้านข้างกระจก คือ Curtain Airbag เป็นเหมือน “ม่านกันกระแทก” ส่วนศรีษะและส่วนบนของร่างกาย ส่วนข้างเบาะ คือ Side Airbag กันกระแทกในส่วนข้างครึ่งกลางและล่างของร่างกาย ในภาพเป็นรถยนต์ค่าย LEXUS รถญี่ปุ่นยุคพัฒนา ที่ขึ้นชื่อในด้านความปลอดภัย เช่นกัน


 


รู้จักกับ Air Bag ถุงลมนิรภัย


เคยได้ยินกันนะครับ Air Bag หรือ ถุงลมนิรภัย ที่หลายคนฝากความหวังไว้กับมัน เวลาเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงขึ้น โดยปกติแล้ว เราจะไม่เห็นหน้าตามันหรอกครับ เพราะมันถูก เก็บในพวงมาลัยอย่างดี และถ้าเป็นถุงลมนิรภัยคู่ ด้านคนนั่งก็จะเก็บไว้ที่ใต้หน้าปัด เวลามีการชนรุนแรง ถุงลมจะพองตัวออกมาเพื่อ “รับหน้า ท่านไว้” ไม่ให้ไปกระแทกกับพวงมาลัยหรือหน้าปัดตามแรงการชน แต่บอกไว้ก่อนนะครับ ถ้าอยากเห็นก็จง “ดูรูป” พอ ไม่ควรจะไปชนให้ มันทำงานพองออกมาให้เห็นนะครับ บอกไว้ก่อน อิอิ


ที่พวงมาลัย ถุงลมจะอยู่ ตรงกลาง มีสัญลักษณ์บอกไว้ จงอย่าเอาสิ่งใด ๆ ไปติดไว้ที่นั่น เจอบ่อยครับ รีโมทวิทยุบ้าง ที่วางโทรศัพท์บ้าง โลโก้ ตราต่าง ๆ ที่เป็นโลหะ มีมุมแหลมคม ควรเอาออกโดยด่วน ตรงจุดนี้ไม่ควรติดตั้งสิ่งของอะไรทั้งสิ้น


สำหรับจำนวนถุงลมนิรภัยใน รถยนต์นั้น ถ้าเป็นรถรุ่นพื้นฐาน ราคาไม่แพงมาก หรือรถยุคเก่าเริ่มพัฒนา ก็จะมีถุงลม 1 ใบ ที่พวงมาลัย เอาไว้ป้องกันคนขับเพียงอย่างเดียว คนนั่งก็มีลุ้นไป และมีการพัฒนาขึ้นเป็นถุงลม 2 ใบ เพิ่มด้านคนนั่งขึ้นมา หรือที่เรียกว่า Side Airbag ในปัจจุบัน ระบบถุงลมนิรภัยพัฒนาไป มาก ในรถรุ่นที่มีราคาหน่อย อาจจะมีถุงลมถึง 4 ใบ เพิ่มด้านข้างเบาะ เพื่อป้องกันแรงการชนด้านข้าง หรือมากกว่า 6 ใบ มีด้านหลังเพิ่มขึ้น มาอีก แล้วก็มีที่กระจกประตู 4 บาน เรียกว่า Curtain Airbag ซึ่งถุงลมจะพองออกมาเหมือนเป็นม่านป้องกันกระแทกไว้อีกชั้น กรณีถูกชน ปะทะข้างอย่างรุนแรง เพื่อไม่ให้หน้าและศรีษะไปกระแทกกับแรงปะทะ นับว่าเป็นเทคโนโลยีที่น่าสนใจ แต่มีเฉพาะรถราคาแพงเท่านั้นนะครับ รถทั่วไปได้ถุงลม 2 ใบ ก็หรูแล้ว


การทำงานของถุงลมนิรภัย ก็มีหลายจุดที่ทำงานร่วมกัน โดยหลักก็จะมี “เซนเซอร์ที่ตัวรถ” โดยมากมักติดอยู่กับหลังกันชนหน้า กันชนหลัง ด้านข้าง มันจะคอยจับ แรงกระแทก เมื่อมีการชนเกิดขึ้นในขั้นรุนแรงระดับหนึ่ง เรียกว่าน่าจะเป็นอันตรายต่อผู้คนในรถแล้ว มันจะส่งสัญญาณให้ถุงลมทำงาน โดยถุง ลมก็จะเป็นวัสดุคล้าย ๆ ยางสังเคราะห์หนา ๆ สีขาว ปกติมันก็พับอยู่ดีหรอก แต่พอ “มีงาน” ขึ้นมา เซนเซอร์สั่งให้มีการ “พองตัว” เกิดขึ้น จะ มีชุดแก๊สด้านใน เมื่อเซนเซอร์สั่งมา มันจะมีคอนเดนเซอร์จุดแก๊ส สร้างแรงดันให้ถุงลมพองตัวอย่างรวดเร็วในเสี้ยววินาที หลังจากเกิดเหตุแล้ว ถุงลมจะฟีบลงเอง แรงดันแก๊สในถุงลมจะถูกปล่อยออก เพื่อให้คนในรถสามารถออกไปจากรถได้โดยไม่ติดถุงลม หรือให้มันไม่เกะกะในการ ช่วยเหลือเอาคนออกจากรถ (กรณีคนหมดสติ บาดเจ็บสาหัส) นี่คือการทำงานคร่าว ๆ ของระบบถุงลมนิรภัย