มาทำความรู้จัก ระบบปัดน้ำฝนอัตโนมัติ

นิตยสาร รถ Weekly

ระบบปัดน้ำฝนอัตโนมัตินี้บางคนเรียกสั้นๆ ว่า Rain Sensor แต่บางครั้งเรียกให้เต็มก็จะเรียกว่า Automatic Windscreen Wiper โดยที่มีตัว Rain Sensor หรือตัวจับปริมาณการตกของน้ำฝนเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ของระบบ โดยไม่แน่ใจว่าใครเป็นผู้เริ่มพัฒนาเกี่ยวกับ Rain Sensor นี้ ซึ่งไม่ใช่แต่เฉพาะในรถยนต์เท่านั้นที่นำเอาอุปกรณ์นึ้มาใช้ในด้านการเกษตรก็ได้นำ Rain Sensor ซึ่งอาจมีหลักการตรวจวัดปริมาณของน้ำฝนที่แตกต่างกับของรถยนต์บ้าง มาประยุกต์ใช้กับเรื่องการเปิด-ปิดของน้ำ โดยใช้เป็นระบบเปิด-ปิดน้ำอัตโนมัติเมื่อฝนตก็จะสั่งให้ตัดการจ่ายน้ำหรือการรดน้ำในส่วนของพืชไร่ ส่วนเกษตรขนาดใหญ่ๆ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องคนงาน ซึ่งเป็นการใช้อุปกรณ์ที่ได้ประโยชน์และมีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง หากพูดถึงระบบปัดน้ำฝนอัตโนมัติในรถยนต์ ไม่ถือเป็นเรื่องใหม่ เพราะมีใช้มาร่วม 10 ปี แล้ว แต่ขณะนั้นก็ดูเหมือนว่าจะมีใช้แต่ในรถที่มีราคาแพงอย่างเช่น รถMercedes E-Class ตั้งแต่รุ่นปี 1995 หรือรถฝรั่งเศสอย่าง Peugeot 406} Citroen ก็มีใช้มานานแล้วเช่นกัน จนมาถึงรถญี่ปุ่นอย่างHonda Accord รุ่นปัจจุบันเริ่มมาติดตั้งเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน และทำโฆษณาบอกกล่าวว่าเป็นอุปกรณ์ที่ล้ำหน้ากว่ารถญี่ปุ่นรายอื่น และทำให้เราได้รู้จักกับอุปกรณ์นี้มากขึ้น แต่อาจไม่รู้ถึงหลักการทำงานเบื้องต้น ซึ่งครั้งนี้ลองมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานง่ายๆ ของระบบนี้กัน


        ในการทำงานของระบบปัดน้ำฝนทั่วไปจะมีอยู่ 4 การทำงานคือ 1. การหยุด 2. การปัด-หยุด (INT) หรือหน่วงเวลาประมาณ 5 วินาที 5 ถึงจะปัดอีกครั้ง 3. การปัดจังหวะช้าตลอด และ 4. การปัดในจังหวะเร็วตลอดเวลา การปัดในตำแหน่งปัดแล้วหยุด ประมาณ 5 วินาที จะสังเกตได้ว่าที่ก้านปัดน้ำฝนจะมีตัวอักษร INT หรือ Intermittent นั่นเอง ซึ่งรถยนต์บางรุ่นสามารถปรับเวลาการหน่วงการปัด-หยุดนี้ได้ตามต้องการ ซึ่งอาจจะตั้งไว้ให้ปัดอยู่ 3-10 วินาที หรือมากว่านั้นได้ แต่เนื่องจากบางครั้งการปัดของระบบปัดน้ำฝนที่มีอยู่ยังมีจุดที่ทำงานไม่ได้ดั่งใจของผู้ใช้รถที่ต้องมานั่งเปิด-ปิด ก้านปัดน้ำฝนให้เป็นจังหวะการปัดที่เร็วขึ้น ปัดช้าลง หรือการปิดการทำงานโดยช่วงระยะเวลาดังกล่าวอาจทำให้ผู้ขับขี่กังวล ทำให้เสียสมาธิในการขับขี่ได้ มากกว่านั้นอาจก่อนให้เกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันได้เช่นกัน

      การทำงานของระบบปัดน้ำฝนอัตโนมัติ (Automatic Windscreen Wiper) เป็นการปรับปรุงการทำงานของระบบการปัดน้ำฝนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยนำระบบการปัดอัตโนมัติเข้ามาช่วย ซึ่งยังคงมีอุปกรณ์ที่ใช้งานมาตรฐานทั่วไปเหมือนดังรถยนต์ปรกติ โดยมีมอเตอร์ปัดน้ำฝนที่ทำหน้าที่หมุนก้านปัดน้ำฝนธรรมดา หรือมีรีเลย์ที่ควบคุมการปัดน้ำฝนจังหวะเร็วหรือช้า แต่เพิ่มมาก็คือ กล่องควบคุมระบบและตัว Rain Sensor โดยจะเข้าไปอยู่ในจังหวะของการปัด-หยุด(Intermittent) โดยการบิดก้านปัดน้ำฝนให้มาอยู่ในจังหวะออโตเมติกหรือโดยทั่วไปก็ถือว่าอยู่ในจังหวะการเปิดที่ 1 ซึ่งถ้ารถยนต์ทีทมีระบบปัดน้ำฝนอัตโนมัติก็จะไม่มีจังหวะการปัดหยุดนั่นเอง แต่การปัดในจังหวะเร็วหรือจังหวะช้า ก็ยังสามารถทำได้ตามความต้องการของผู้ขับขี่ โดยการหมุนปรับที่ก้านปัด อุปกรณ์ตรวจวัดปริมาณของน้ำฝนที่เรียกว่า Rain Senser นั้นมีหลักการทำงานโดยอาศัยหลักของการตกกระทบของแสงและความเข้มของแสง โดยอุปกรณ์นี้จะติดตั้งอยู่ที่บริเวณกระจกบังลมหน้าของรถในส่วนบน ซึ่งหากสังเกตดีดีจะเห็นว่าอยู่ ภายใน Rain Sensor จะมีชุด Emitting Diode ที่ทำหน้าที่ยิงลำแสงให้สะท้อนกลับไปยังตัวรับแสงหรือ Receiving Diode ซึ่งเราต้องการใช้ระบบการทำงานอัตโนมัติก็บิดก้านไปที่จังหวะ Auto หรือจังหวะ 1 โดยระบบจะมีการตรวจเช็คแสงสะท้อนกลับอยู่ตลอดเวลา เมื่อใดก็ตามหากมีน้ำฝนมาตกบริเวณพื้นที่รับแสงด้านหน้ากระจก ที่ตัวรับแสงสะท้อนกลับก็จะไม่สามารถรับแสงที่ถูกส่งมาได้ 100% เนื่องจากน้ำทำให้เกิดการหักเหของแสงปริมาณของน้ำที่ตกบนพื้นที่รับแสงอาจจะมีมาก หรือน้อยก็แล้วแต่ปริมาณของน้ำฝนที่ตกลงมาซึ่งเป็นผลให้เกิดการหักเหของแสงมากน้อยตามไปด้วย หากฝนตกน้อยการหักเหของแสงก็จะน้อย กล่องควบคุมจะสั่งให้ก้านปัดน้ำฝนปัดช้า หรือปัด-หยุดโดยอัตโนมัติในทางตรงกันข้ามหากตรวจจับว่าฝนตกหนัก มีการหักเหของแสงมากก็จะทำให้ไม่สามารถรับแสงสะท้อนกลับได้ กล่องควบคุมก็จะสั่งให้ระบบปัดน้ำฝนปัดในจังหวะเร็ว


       ระบบปัดน้ำฝนอัตโนมัตินี้ถือเป็นเรื่องของความปลอดภัยในเชิงป้องกันอุบัติเหตุ (Active Safety) เนื่องจากว่าสามารถช่วยให้ผู้ขับขี่ไม่ต้องกังวลที่จะต้องมานั่งปรับการปัดของระบบปัดน้ำฝนให้เร็วหรือช้า หรือการปัด-หยุดหน่วงเวลา ซึ่งบางครั้งทำให้เสียสมาธิในการขับขี่ ระบบนี้ให้ความปลอดภัยและทำงานได้รวดเร็วในกรณีที่เราเปิดการปัดไม่ทัน เช่น การขับขี่ช่วงที่มีฝนตก แล้วมีการสาดของน้ำมาจากรถด้านข้างที่มีน้ำปริมาณมาก ระบบนี้จะทำงานทันทีที่น้ำมากระทบที่บริเวณรับแสง ซึ่งการเปิดปัดน้ำฝนธรรมดา ไม่สามารถทำได้ทันเพราะต้องละมือจากพวงมาลัยมาเปิด โดยในช่วงเวลานั้นกระจกบังลมหน้าจะพร่า และไม่สามารถมองทางข้างหน้าได้อย่างชัดเจน เท่ากับการลดการเกิดอุบัติเหตุได้อย่างหนึ่ง


        ข้อควรระวังในการที่ใช้รถที่มีระบบปัดน้ำฝนอัตโนมัติ คือ ต้องไม่เปิดระบบให้ทำงานในกรณีที่ใช้บริการล้างรถอัตโนมัติ เพราะอาจทำให้ระบบการปัดเสียหายได้ เนื่องจากถูกใบปัดทำความสะอาดส่วนต่างๆ ของเครื่องล้างรถ ระบบปัดน้ำฝนอัตโนมัติเป็นระบบที่ไม่ม่อะไรซับซ้อน และช่วยเพิ่มความสะดวกแก่ผู้ขับขี่ หากระบบอัตโนมัติไม่สามารถทำงานได้ตามการทำงานที่ควรเป็น ก็ยังสามารถใช้การทำงานในจังหวะเร็วหรือช้าได้ตามที่เราเปิดได้