ทำไม? ต้องให้ลูกนั่งคาร์ซีท (Car Seat)

ขอบคุณข้อมูลจาก : matichon.co.th

    ถึงแม้คุณแม้จะอุ้มลูกไว้อย่างใกล้ชิด แต่เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ลูกอาจบาดเจ็บมากจนถึงขึ้นเสียชีวิตได้ เนื่องจากลูกจะอยู่ตรงกลางระหว่างรถกับคุณแม่ เมื่อเกิดแรงกระแทก ลูกจะโดนก่อนเต็มๆ ซ้ำยังเป็นกันชนช่วยลดแรงกระแทกที่จะมาถึงคุณแม่อีกด้วย กลายเป็นว่าคุณแม่ต่างหากที่ปลอดภัย อย่างนี้แล้วเปลี่ยนใจมาใช้คาร์ซีทกันดีกว่า

คาร์ซีทดีอย่างไร
    คาร์ซีทมีประโยชน์ช่วยลดความรุนแรงจากอุบัติเหตุ และลดการบาดเจ็บของร่างกายลูกได้ เมื่อติดตั้งอย่างถูกวิธี สายรัดอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องไม่รัดคอลูกให้อึดอัดและไม่หลวมเกินไป จนเด็กหลุดออกจากคาร์ซีท ไปกับกระแทกกับส่วนต่างๆ ของรถ หรือหลุดออกนอกตัวรถ จุดเหมาะที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับการติดตั้งคาร์ซีท ควรจะเป็นกึ่งกลาง ของเบาะหลัง หรือบริเวณใกล้เคียงตรงกลางรถให้มากที่สุด เพราะช่วยลดการกระแทกที่เข้ามาด้านข้างรถได้

เลือกคาร์ซีทให้เหมาะกับวัย และน้ำหนักตัวของลูก
    - เด็กแรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 12 เดือน และเด็กที่น้ำหนักตัวไม่เกิน 10 กก. ควรใช้คาร์ซีทแบบนั่งหันหน้าไปด้านหลังรถ และแบบปรับเอนไปกับที่นั่งประมาณ45 องศา คาร์ซีทชนิดนี้จะปกป้องหัวของเด็ก ลำคอ และกระดูกสันหลังได้ดีที่สุด
    - เด็กที่มีอายุมากกว่า 1 ขวบและมีน้ำหนักตัวเกิน 9 กก. ควรใช้คาร์ซีทแบบที่นั่งหันไปทางหน้ารถเด็กที่มีน้ำหนักตัว 15 - 18 กก. ควรใช้คาร์ซีทแบบมีพนักพิงด้านหลังเด็กที่มีน้ำหนักตัว 22 - 25 ก.ก.
    - เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปสามารถนั่งตัวตรงได้แล้ว ควรใช้คาร์ซีทแบบไม่มีพนักพิงด้านหลังการฝึกลูกนั่งคาร์ซีท คุณพ่อคุณแม่ควรพูดกับลูกบ่อยๆ ให้ลูกเข้าใจว่าเขาจะต้องนั่งคาร์ซีทเพราะพ่อแม่รักเขา อยากให้เขาปลอดภัย ในช่วงแรกๆ ลูกอาจร้องไห้งอแง คุณแม่ควรนั่ง เป็นเพื่อนลูกอยู่ด้านหลัง คุยกับเขา เล่นกับเขา เล่านิทานให้เขาฟัง ให้รู้สึกเพลิดเพลินและเคยชิน จากนั้นเขาก็จะร้องไห้น้อยลง จนไม่ร้องไห้อีกเลย

เมื่อไหร่ที่ควรเลิกใช้คาร์ซีท
    เมื่อลูกอายุ 8 ขวบ หรือสูงเกิน 150 ซ.ม. คือสูงพอที่จะนั่งห้อยขา แล้วขายาวถึงพื้นพอดีคาดเข็มขัดนิรภัยแล้วอยู่ตรงส่วนกระดูกเชิงกรานพอดี ไม่รัดอยู่ตรงหน้าท้อง ส่วนบนของเข็ดขัดนิรภัยพาดมาตรงส่วนหน้าอก ไม่ผ่านมาตรงแขน หรือคอของลูก ก็เลิกใช้คาร์ซีทได้แล้ว