ขับรถช้า ผิดกฏหมายได้เช่นกัน

นิตยสารรถ Weekly

เหตุผลที่กฏหมายระบุว่าห้ามแซงซ้าย เพราะหากทิ้งระยะห่างคันหน้าอย่างเหมาะสม คงไม่มีผลอะไรมาก เนื่องจากทัศนะวิสัยทั้งซ้ายและขวาเอื้ออำนวย แต่หากขับชิดคันหน้ามากขึ้นเท่าไหร่ จะทำให้การมองเห็นรถทางฝั่งซ้ายลดลงไปมากเท่านั้น หากผู้ขับขี่ขับเบียดเลนซ้ายเพื่อเร่งแซง อาจทำให้เชี่ยวชนรถที่จอดอยู่ก็เป็นได้ ด้วยเหตุนี้ การแซงขวาจึงมีความปลอดภัยกว่า


การแซงซ้าย ยังมีความผิด พรบ.จราจรทางบก ปี 2522 หมวด 2 มาตรา 45 ระบุว่า ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ ขับรถแซงหน้ารถคันอื่นด้านซ้าย อีกด้วย


 


แล้วจะขับเว้นระยะมากๆ กันทำไม? ตัวอย่างเช่น


บางคนคิดว่าขับเร็วตามกฏหมายกำหนดแล้ว จึงคิดเข้าข้างตัวเองว่าทำถูกกฏ คันที่เร็วกว่าคือผิดกฏ อาจทำให้ผู้ที่ตกอยู่ในสถานการณ์เร่งด่วนจริงๆ ต้องเดือดร้อน เช่น รีบไปโรงพยาบาล หรือ ไปสนามบิน เป็นต้น ที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือ สถิติตำรวจจราจรช่วยทำคลอดบนท้องถนนสูงถึง 107 ราย/ปี ซึ่งถือว่ามากที่สุดในโลก


บางคนไม่มองกระจกหลังเลย เนื่องจากปรับเบาะชิดพวงมาลัยมากเกินไป ทำให้มองกระจกหลังไม่สะดวก จึงเลือกที่จะไม่มอง (ซะงั้น?) ทางแก้สำหรับผู้ขับขี่ที่มีรูปร่างเล็ก หากกลัวว่าจะมองหน้ารถไม่ถนัด ก็ให้ปรับเบาะให้สูงขึ้น และปรับระดับพวงมาลัยให้พอดี เพื่อจะได้มองเห็นการจราจรได้รอบคัน


 


ทางแก้ทำอย่างไร?


หากคุณเป็นผู้ที่ขับช้า ทางแก้ง่ายๆเลยคือ เร่งความเร็วตามคันหน้า เว้นระยะพอดีๆ แต่หากรู้สึกว่าเร็วเกินไป ก็เปลี่ยนมาใช้เลน ที่อยู่ทางซ้ายมือ ก็แค่นั้น หากคุณขับตามหลังรถที่ขับช้า อาจกระพริบไฟสูงอย่างสุภาพ แต่หากไม่หลบ เราก็เปลี่ยนช่องจราจรเองเสียเลยดีกว่า ไม่เสียอารมณ์ด้วย


การขับช้าขวางเส้นทาง ผิดพรบ.การจราจรทางบก มาตรา 35 ระบุว่า รถที่มีความเร็วช้าหรือรถที่มีความเร็วต่ำกว่ารถคันอื่น ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ใกล้ขอบเดินรถทางซ้ายเท่าที่จะกระทำได้


หากเลนซ้ายขรุขระอย่างกับทางเกวียนล่ะจะทำอย่างไร? ฉันก็รักรถเหมือนกันนะ! เพียงใช้ความเร็วในเลนขวาอย่างพอดีๆ ไม่ขับช้าจนเกินไป หมั่นมองกระจกหลังเป็นระยะ หากรถตามหลังขับเร็วกว่า ก็หลบซ้ายสักนิด เพื่อให้เขาแซงไปก่อน ซึ่งจุดนี้ต้องดูความเหมาะสมด้วย เนื่องจากกฏหมายระบุชัดว่า ช่องทางด้านขวา ใช้ได้ต่อเมื่อขับรถด้วยความเร็วสูงกว่าด้านซ้าย หรือเมื่อต้องการแซง ฉะนั้นการขับแช่เลนขวาจึงมีความผิดตามกฏหมาย