การเลือกฟิล์มกรองแสง
เมืองไทยเป็นเมืองร้อน และยิ่งถ้าเราขับรถ เราก็ยิ่งมีโอกาสเจอกับแสงแดด และความร้อนได้อย่างมาก จนบางครั้งเราแทบจะทนไม่ได้ วิธีหนึ่งที่จะช่วยลดความร้อนจากแสงแดดได้คือการติดตั้งฟิล์มกรองแสง แต่ในตลาดบ้านเราก็มีอยู่มากมายหลายยี่ห้อ เราควรมีวิธีพิจารณาเลือกติดตั้งฟิล์มกรองแสงให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดได้ดังนี้
คุณภาพฟิล์มกรองแสงที่มีคุณภาพดี ควรมีคุณสมบัติต่าง ๆ ของฟิล์ม เช่น
- % การลดความร้อน
- %การลดรังสียูวี
- %การสะท้อนแสง
- %แสงส่องผ่าน
- ต้องเป็นค่ามาตรฐานจากโรงงานผู้ผลิตที่เชื่อถือได้ และควรเป็นไปตามมาตรฐานของ AIMCAL
ข้อดีของการติด ฟิล์มกรองแสง
1. ช่วยลดแสงจ้า ให้ความรู้สึกสบายตาในยามขับขี่ และช่วยลดความเครียดของดวงตาในภาวะที่แดดจัดๆ หรือแม้แต่ตอนเช้าที่แสงแดดอ่อนๆแต่ก็ส่องเข้าตานั้น แสงแดดก็ยังเป็นปัญหาสำคัญสำหรับผู้ที่ต้องการขับรถทุกคน เพราะการมองผ่านกระจกออกไปยังถนนที่แสงแดดจัดนั้นเป็นสาเหตุให้ดวงตาเกิดความเครียด เมื่อยล้า สายตาเสีย ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ ส่วนผู้ที่ขับขี่รถยนต์ที่ติดฟิล์มกรองแสงนั้นก็จะเป็นการช่วยลดแสงจ้าทำให้ทัศนวิสัย หรือการมองเห็นในขณะขับรถมีประสิทธิภาพเต็มที่ รู้สึกสบายตา และไม่เกิดความเมื่อยล้า
2. การช่วยลดความร้อนจากแสงแดด เพราะประเทศไทยตั้งอยู่ในแถบใกล้เขตเส้นศูนย์สูตร
3. ป้องกันรังสีอุลตร้าไวโอเลต ( UV ) จากแสงแดด ซึ่งเป็นตัวการอย่างมากที่ทำให้ผิวเป็นฝ้า ตกกระ และยิ่งไปกว่านั้น แสงแดดยังเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคมะเร็งผิวหนังอีกด้วย การติดฟิล์มกรองแสงรถยนต์ชนิดที่มีคุณภาพจะช่วยป้องกันรังสีอุลตร้าไวโอเลตได้มากกว่า 99%
ช่วยถนอมผิวและสุขภาพของผู้โดยสารภายในรถยนต์ ยิ่งไปกว่านั้น รังสี UV ยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้วัสดุภายในรถยนต์ซีดจางและเสื่อมคุณภาพ ดังนั้น การติดฟิล์มกรองแสงจะช่วยชลอการซีดจางของวัสดุอุปกรณ์ตกแต่งภายในรถยนต์ เป็นการรักษาและยืดอายุการใช้งาน
ซึ่งถือเป็นการช่วยป้องกันความเสียหายของวัสดุภายในรถไว้ตั้งแต่ต้นเหตุ
สภาพภูมิอากาศโดยรวมจะมีอุณหภูมิสูง แม้กระทั่งในช่วงหน้าหนาวถึงอุณหภูมิจะไม่สูงมากนัก แต่แสงแดดก็ยังแรงอยู่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ต้องใช้รถใช้ถนนเป็นระยะเวลานานๆ ก็มีโอกาสได้รับความร้อนจากแสงแดดมากกว่าปกติ
4. ช่วยลดอันตรายจากการแตกกระจายของกระจกรถยนต์ในเวลาที่เกิดอุบัติเหตุ หากรถเกิดการเฉี่ยวชนจนกระทั่งกระจกแตกร้าว รถที่ติดฟิล์มรถยนต์ที่ได้คุณภาพ ผลิตจากโพลีเอสเทอร์ชั้นเยี่ยม และกาวพิเศษ จะสามารถช่วยยึดเกาะเศษกระจกที่แตกไว้ด้วยกันไม่ให้ร่วงหล่นมาบาดโดนส่วนต่างๆ ของร่างกายหรือทำอันตรายต่อผู้โดยสารในรถ
5. เพิ่มความเป็นส่วนตัวภายในห้องโดยสาร
6. เพิ่มทัศนวิสัยที่ดีขณะขับขี่แม้ในยามค่ำคืน
7. ปกป้องวัสดุ , อุปกรณ์และเฟอร์นิเจอร์ ภายในรถและอาคารบ้านเรือน
8. ประหยัดไฟฟ้าและพลังงาน ช่วยให้เครื่องปรับอากาศ ไม่ต้องทำงานหนักช่วยยืดอายุการใช้งาน
วิธีการดูแลฟิล์มกรองแสงหลังติดตั้ง
โดยทั่วไปวิธีการติดตั้งฟิล์มกรองแสงจะต้องใช้น้ำผสมกับแชทพูแบบอ่อนๆ ฉีดลงไปบนด้านแผ่นกาวของฟิล์มและกระจกที่จะติดตั้งเพื่อช่วยให้ขยับฟิล์มให้เข้าที่แล้วจึงรีดน้ำและอากาศออกด้วยเครื่องมือชนิดต่างๆ ดังนั้นภายหลังจะพบว่าจะมีคราบน้ำขัง , กระจกมัว หรือเป็นฝ้าที่กระจก ก่อนที่อาการเหล่านี้จะหายไปเอง ภายในเวลา 1-4 สัปดาห์ เมื่อฟิล์มแห้งสนิทและกาวทำงานอย่างเต็มที่แล้วในการยึดติดกระจก ควรปฎิบัติดังนี้
- ห้ามเลื่อนกระจกขึ้น - ลงเป็นเวลา 7 วัน หลังจากติดตั้งฟิล์ม เพื่อให้ฟิล์มอยู่ตัว
- ระยะเวลาในการอยู่ตัวของฟิล์มจะใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับชนิดของฟิล์มที่ติดตั้ง อุณหภูมิและความชื้นในอากาศ คราบความชื้นที่อยู่ระหว่างกระจกกับฟิล์ม อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างนี้แต่จะแห้งและหายหมดไปเอง
- งดใช้ระบบละลายฝ้าที่กระจกหลังเป็นเวลา 30 วัน หลังจากติดตั้งฟิล์มเพราะจะทำให้ฟิล์มเกิดการเสียหายได้
- ห้ามใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ , ผ้าหยาบ , ขนแปรง , สก็อตไบร์ท หรือวัสดุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ฟิล์มได้
- ห้ามเช็ดล้างด้วยน้ำยาล้างกระจกที่มีส่วนผสมของสารแอมโมเนียเช็ดทำความสะอาดฟิล์มโดยเด็ดขาด
- หากต้องการทำความสะอาดฟิล์ม ให้ใช้ผ้านุ่น และน้ำหรือน้ำสบู่อ่อนๆ เช็ดทำความสะอาดฟิล์ม ซึ่งจะช่วยทำให้เนื้อฟิล์มใสและรักษาเนื้อฟิล์มได้ดี
- ก่อนเช็ดทำความสะอาดทุกครั้ง ควรตรวจสอบเสมอว่าในผ้าหรือทิชชูใดๆที่ใช้ ไม่มีผงฝุ่นหรือเม็ดทรายในผ้า เพราะจะทำให้คุณสมบัติของสารเคลือบฟิล์มเสียหายหรือลดคุณภาพได้
- ควรจอดรถตากแดดหลังจากติดตั้งฟิล์ม เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 15-21 วันเพราะจะช่วยให้กาวในเนื้อฟิล์มแห้งเร็วขึ้น
เพียงเท่านี้ก็จะทำให้เราแน่ใจได้ว่า เราได้ฟิล์มติดรถยนต์ที่มีคุณภาพ และทราบการดูแลรักษากระจกรถอย่างถูกวิธี เพราะในการดูแลเอาใจใส่ฟิล์มติดรถยนต์ที่ติดตั้งมาใหม่อย่างถูกวิธีนั้น จะทำให้ฟิล์มที่เราติดตั้งมานั้นอยู่คู่กับรถไปได้ทนทานนาน 7-10 ปีทีเดียว