ปัจจุบัน การซื้อ-ขายรถยนต์ เน้น "ซื้อง่าย-ขายคล่อง" โดยหากท่านเป็นคนหนึ่งที่ประสงค์จะซื้อ-ขายรถเก่า ไม่ว่าจะขายให้กับ "เต้นท์รถ" หรือบุคคลทั่วไป อาจมีคำถามหนึ่งที่มักเกิดขึ้น คือ "โอนลอย" ดีหรือไม่?
การโอนลอย คืออะไร
การโอนลอย ตามความหมายของกรมขนส่งคือ การที่เจ้าของรถได้ขายรถของตนแล้ว และทำการลงนาม ในเอกสารการโอนรถยนต์ และใบมอบอำนาจให้ผู้ซื้อ โดยมิได้มีการดำเนินการทางทะเบียนที่สำนักงานขนส่ง
ข้อดีของวิธีนี้ คือ ความสะดวกในการซื้อขาย ซึ่งสามารถเปลี่ยนชื่อผู้รับโอนได้เสมอ แต่ข้อเสียที่ตามมา คือความยุ่งยาก และเสียเวลา
ตัวอย่างเช่น นาย ก ขายรถให้กับเต๊นท์เมื่อ 1 ปีก่อน จากนั้นรถดังกล่าวได้ถูกซื้อไปโดยนาย ข และนาย ข ก็ยังไม่ได้นำเอกสารการโอนลอยที่นาย ก ให้ไว้กับเต๊นท์ไปทำการจดทะเบียนเป็นชื่อตน อยู่มาวันหนึ่ง นาย ข ขับรถไปชนคนแล้วหลบหนีไป ทางตำรวจตรวจสอบพบว่ายังเป็นชื่อของ นาย ก ทำให้นาย ก เดือดร้อนโดยไม่รู้ตัว ซึ่งเหตุการณ์ลักษณะนี้มักเกิดขึ้นบ่อยครั้ง
ส่วนการแก้ไขสำหรับเหตุการณ์นี้ นาย ก ต้องนำหลักฐานสัญญาซื้อขายที่ทำกับทางเต๊นท์ไปยืนยันว่าตนไม่ได้ครอบครองรถแล้ว ซึ่งในทางกฎหมายการโอนลอย กรรมสิทธิ์ในรถยนต์จะเป็นจองผู้ซื้อ (เต๊นท์) ตั้งแต่วันที่ผู้ขายส่งมอบ
อีกหนึ่งข้อเสียของการโอนลอย คือ เรื่องของเอกสารหลักฐาน เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียน ของเจ้าของเดิมมีการหมดอายุ ต้องเสียเวลาไปหาเอกสารปัจจุบัน เป็นต้น…