Coolant สิ่งจำเป็นที่ควรรู้

นิตยสารรถ weekly

เมื่อรถยนต์ผ่านการใช้งานไปผู้ใช้มักไม่คำนึงอัตราส่วนเหล่านี้นัก บางคนไม่ทราบเลยด้วยซ้ำ รู้แต่เติมน้ำยา 1 กระป๋อง หรือ 1 ขวด (แล้วแต่การบรรจุของแต่ละยี่ห้อ) ลงในหม้อน้ำเวลามีการเปลี่ยนหม้อน้ำ หรือ เวลามีการเปลี่ยนถ่ายน้ำในหม้อน้ำแค่นั้นก็เพียงพอแล้วในความเป็นจริงนั้น น้ำยาเหล่านี้ไม่ได้ช่วยในการระบายความร้อนเท่าไร


แต่ทำให้จุดเดือดของน้ำที่มีน้ำยานี้ผสมอยู่สูงขึ้น น้ำก็เลยเดือดช้าลง ทว่าคุณสมบัติด้านอื่นของน้ำยานี้ที่ต้องยอมรับว่ามีความจำเป็นสำหรับหม้อน้ำนั้นคือ การป้องกันสนิมและ การกัดกร่อน เพราะหม้อน้ำของรถยนต์โดยเฉพาะในยุคสมัยนี้ นิยมทำจากอะลูมิเนียม ซึ่งสามารถเกิดตะกรันและเกิดการกัดกร่อนได้ง่าย สังเกตได้จากการลองถอดท่อยางที่ต่อจากหม้อพักน้ำดูก็ได้ จะพบว่ามีคราบและร่องรอยของการเกิดตะกรัน ในบางคันอาจถูกกัดกร่อนจนผุแหว่ง ซึ่งจะเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดการอุดตันของหม้อน้ำและทางเดินน้ำ อันจะนำสู่ปัญหาของการระบายความร้อน ทำให้เกิดการโอเวอร์ฮีทได้


ETHYLENE GLYCOL เป็นสารที่มีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต หากเกิดการดื่มกินเข้าไปแม้ปริมาณเพียงเล็กน้อยจะไปออกฤทธิ์ต่อไตทำให้เกิดอาการไตวา ยและอาจเสียชีวิตได้ แต่เพราะคุณสมบัติหลัก ๆ ที่สำคัญมีความจำเป็นต่อเครื่องยนต์ทำให้มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยที่คุณสมบัติในการป้องกันการเกิดสนิมและการกัดกร่อนนั้นสามารถครอบคลุมได้หมด แม้ว่าชุดระบายความร้อนจะประกอบไปด้วยอะลูมิเนียม ทองแดง เหล็กเหนียว เหล็กหล่อ หรือแม้แต่ตะกั่วบัดกรีก็ตาม

เมื่อมีทั้งประโยชน์และอันตรายควบคู่กัน การเก็บรักษาจึงควรระมัดระวัง โดยจัดเก็บให้พ้นจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง เพราะอุปกรณ์บำรุงรักษารถยนต์นั้นมักถูกมองว่าไม่มีอันตรายซึ่งยังไม่ถูกต้องนัก

ยังมีสารอีกชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับ ETHYLENE GLYCOL และกำลังถูกพัฒนาเพื่อที่จะนำมาใช้ทดแทน ETHYLENE GLYCOL นั่นคือ PROPYLENE GLYCOL เพราะเหตุว่ามีอันตรายน้อยกว่านั่นเอง ในอนาคตเราคงมีทางเลือกที่ดีกว่าสำหรับน้ำยาระบายความร้อนหม้อน้ำ

ประโยชน์จากการใช้ Coolant


เพื่อการปกป้องที่ดีเยี่ยมของระบบเครื่องยนต์ที่ทำจากทองแดง / ทองเหลือง / อลูมิเนียม หรือส่วนผสมของทองแดง / ทองเหลือง / อลูมิเนียม โดยเลือกจาก Coolant ที่มีสารเติมแต่งที่เพิ่มประสิทธิภาพที่เหมาะสม


เพื่อการระบายความร้อนที่ดีเยี่ยมรวมทั้ง การปกป้องเครื่องยนต์จากการเดือด จากความร้อนสูงโดยเฉพาะบริเวณ Hot Spot


ปกป้องการเกิด film ขณะเดือด รวมทั้งช่วยทำให้เกิดการ nucleale boiling สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลทำให้ประสิทธิภาพการระบายความร้อนสูงขึ้น ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว


ลดการเดือดที่รุนแรง (Overheat)


เมื่อใช้งานในภาวะที่มีอากาศร้อนจัดรวมทั้งความร้อนจากการใช้เครื่องปรับอากาศด้วย เพื่อเพิ่มอายุการใช้งานของระบบน้ำหล่อเย็น โดยลดการสึกกร่อนของใบพัด (pump vane) ช่วยลดการสึกหรอของเครื่องยนต์ขณะ Start up ซึ่งจะทำให้เกิดความร้อนเพิ่มมาถึงอุณหภูมิที่เหมาะสมในการทำงานของเครื่องยนต์ต่อไป ช่วยปกป้องเครื่องยนต์จากการใช้งานที่อุณหภูมิต่ำมาก ๆ

หน้าที่หลักๆขอน้ำยาหม้อน้ำคือ


1ป้องกันน้ำในระบบแข็งตัวเป็นน้ำแข็งในจังหวะสตาร์ทเครื่องยนต์ใหม่ๆ (เมืองนอกที่อากาศติดลบทั้งหลาย)
2เพิ่มจุดเดือนน้ำ คือชลอการละเหยของน้ำในระบบหล่อเย็นเวลาเครื่องยนต์ร้อนจัด (ข้อนี้สำหรับเมืองร้อนด้วย)
เพราะเวลาน้ำเดือดน้ำจะระเหยกลายเป็นไอ ลองต้มน้ำในหม้อดูสิครับ น้ำเปล่าเริ่มระเหยเป็นไอที่ 100C ํ
ถ้าผสมน้ำยาก็จะระเหยที่ 105C ํ / 110 C ํ / 115 Cํ ....ตามสัดส่วนการผสม...
3ป้องกันการเกิดสนิม ตะกอน พอมีสนิมก็ผุ กร่อน.มีตะกอน.(ลดความเสี่ยงในการอุดตันในหลอดน้ำที่รังผึ้งหม้อน้ำ)
4หล่อลื่นปั๊มน้ำและซีลปั๊มน้ำ และวาล์วน้ำ (อันนี้เกี่ยวเนี่องจากข้อ3 เพราะไม่มีตะกรัน ตะกอน)

คำจำกัดความที่ควรทราบเกี่ยวกับคุณสมบัติต่าง ๆ ของ Coolant



จุดเดือด คือ อุณหภูมิที่ Coolant ได้รับความร้อนจนกระทั่งเกิดการเดือด เช่น น้ำบริสุทธิ์มีจุดเดือด 100°C น้ำจะเดือดกลายเป็นไอ ส่วน Coolant มีจุดเดือดที่มากกว่า 108°C ในการใช้งานปกติ (ผสมน้ำ 1 : 2) และจะไม่ระเหยหายไปแต่อย่างใด ส่วนที่หายไปคือส่วนของน้ำ ดังนั้นเราสามารถเติมน้ำเพิ่มเมื่อพบว่าระดับน้ำในหม้อน้ำลดลง


ค่าความเดือดเป็นกรด – ด่าง คือ สภาพของ Coolant ที่เหมาะสมกับการใช้งานปกติ ซึ่งมีประสิทธิภาพของ Coolant ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
ค่าปริมาณความเป็นด่างสำรอง คือ ความสามารถของ Coolant ที่จะรองรับปริมาณกรดที่อาจเพิ่มขึ้นได้ในระหว่างการใช้งาน ซึ่งปริมาณกรดดังกล่าวมักเกิดจากมลภาวะทางอากาศที่เกิดขึ้น รวมทั้งคุณภาพของน้ำที่ใช้ในระบบหม้อน้ำด้วย