เทคนิคการขับรถเกียร์ธรรมดา
1. ทุกครั้งก่อนออกจากรถ ผู้ขับรถควรจะปลดเกียร์ให้อยู่ในตำแหน่งเกียร์ว่างเสมอพร้อมทั้งดึงเบรกมือค้างไว้ เพื่อป้องกันการหลงลืมเมื่อมีการไขกุญแจสตาร์ทเครื่องยนต์ครั้งใหม่ เพราะเมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์ โดยเกียร์ไม่ได้อยู่ ในตำแหน่งเกียร์ว่าง รถจะพุ่งไปข้างหน้า หรือถอยหลังอย่างฉับพลัน อันจะก่อให้เกิดอันตรายได้ สำหรับการ ปลดเกียร์ว่าง นอกจากจะปฏิบัติก่อนออกจากรถทุกครั้งแล้ว อาจปฏิบัติในขณะรถติดนาน ๆ ได้ด้วย โดยดึงเบรกมือ แทนการเหยียบเบรก และคลัทซ์ค้างไว้ ช่วยพักเท้าคลายอาการเมื่อยล้าได้ด้วย
2. ควรเหยียบคลัทซ์ทุกครั้งที่สตาร์ทเครื่องยนต์ เพื่อป้องกันการส่งกำลังจากเครื่องยนต์ มาสู่ระบบ ขับเคลื่อน เพราะหากลืมปลดเกียร์มาที่ตำแหน่งเกียร์ว่าง การเหยียบคลัทซ์จะทำให้รถไม่พุ่งไปข้างหน้าด้วยเช่นกัน
3. มือใหม่หัดขับ มักพยายามหลีกเลี่ยงเส้นทางที่ต้องขึ้นสะพาน แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ และต้องติดค้าง อยู่บนสะพาน ผู้ขับมือใหม่มักกังวลว่าจะทำอย่างไรดีเพื่อไม่ให้รถไหลไปชนคันหลัง วิธีง่าย ๆ ก็คือ ปลดเกียร์ว่าง พร้อมกับดึงเบรกมือ และเมื่อจะเคลื่อนตัวให้ผู้ขับเหยียบคลัชท์และเข้าเกียร์ 1 พร้อมที่จะออก แล้วเหยียบคันเร่งช้า ๆ พร้อมกับปลดเบรกมือ รถอาจจะไหลบ้างเล็กน้อยตามพื้นที่ลาดเอียง มือใหม่หัดขับไม่ต้องตกใจ ออกตัวรถไปตามปกติ
4. เลือกใช้เกียร์ให้เหมาะสมกับความเร็วของรถ และเปลี่ยนเกียร์ที่ความเร็วรอบของเครื่องยนต์ไม่ต่ำ หรือสูงเกินไป (2,000 – 3,000 รอบ/นาที) จะทำให้การขับขี่นุ่มนวลยิ่งขึ้น และประหยัดน้ำมันอีกด้วย
5. การชะลอรถ/หยุดรถ เมื่อขับมาด้วยความเร็ว ให้ค่อย ๆ แตะเบรก อย่าพึ่งเหยียบคลัทซ์ เพื่อให้กำลัง ของเครื่องยนต์เป็นตัวช่วยชะลอรถ (ENGINE BRAKE) จากนั้น เมื่อรถใกล้จะหยุด ให้เหยียบคลัทซ์ และเมื่อรถ หยุดสนิทให้ปลดเกียร์ว่าง พร้อมทั้งดึงเบรกมือเพื่อป้องกันรถไหลv
6. หมั่นฝึกเปลี่ยนเกียร์ให้เกิดความชำนาญ โดยใช้ประสาทสัมผัสแทนการเหลือบมอง เพื่อป้องกัน การเกิดอุบัติเหตุ
สิ่งสำคัญที่ไม่ควรจะละเลย นั่นคือ ไม่ควรวางเท้าไว้ที่แป้นคลัทซ์ตลอดเวลา แม้จะไม่ได้เหยียบคลัทซ์ก็ตาม เพื่อยืดอายุการใช้งานของลูกปืนคลัทซ์ นอกจากนี้ ยังไม่ควรเลี้ยงคลัทซ์เมื่อรถติดอยู่บนเนินหรือสะพาน เพราะจะทำ ให้คลัทซ์ลื่น คลัทซ์ไหม้ และอายุการใช้งานของผ้าคลัทซ์ก็จะสั้นลงด้วย