‘เหินน้ำ’ เรื่องที่คุณต้องรู้!!!

นิตยสาร รถ Weekly

ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า Hydroplane หรืออาการเหินน้ำคืออะไร คือ การบางอย่างที่หมุนไปเหนือ ชั้น (Layer) ของน้ำ หรือสิ่งสกปรกเช่น โคลน เลนที่อยู่บนพื้นผิวถนน ทำให้เกิดการสูญเสียการควบคุม ซึ่งรวมทั้งหมด เช่น การเร่ง การเข้าโค้ง หรือแม้แต่การเบรก เพราะความฝืดระหว่างล้อรถยนต์กับถนนนั้นไม่มีแล้วนั่นเอง


ปัจจัยที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์ ‘เหินน้ำ’  ความเร็วของรถยนต์  ความเร็วของรถยนต์นั้นเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก เพราะรถยนต์ยิ่งวิ่งมาเร็วเท่าไหร่ โอกาสที่ล้อจะรีดน้ำได้ทันนั้นจะยิ่งน้อยลง ทำให้ชั้นของน้ำนั้นหนามากกว่า และมีโอกาสก่อให้เกิดอาการเหินน้ำได้มากกว่า  น้ำหนักของรถยนต์  รถยนต์ยิ่งน้ำหนักมาก เมื่อเสียการควบคุมแล้ว แรงเฉื่อยจะยิ่งมากกว่า  ดอกยางของรถยนต์  ลักษณะของดอกยาง และ ความลึกของดอกยางนั้นเป็นสิ่งสำคัญมาก จากในรูป จะเห็นว่า ดอกยางข้างต้นมีการรีดน้ำไปด้านข้างของล้อด้วย ความลึกของดอกยางนั้น ทางทฤษฎีแล้ว หากดอกยางเหลือเพียงครึ่งเดียว ความเร็วจะต้องลดลงจากเดิมประมาณ 6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (เทียบกับดอกยางเต็มๆ)  ล้อรถยนต์  หากเป็นล้อรถยนต์ที่มีหน้ากว้างและยาวกว่า (รัศมีมากกว่า) โอกาสเกิด ‘เหินน้ำ’ จะยิ่งน้อยกว่า  ลักษณะของพื้นผิวถนน หากเป็นพื้นคอนกรีตแล้ว โอกาสเกิดเหตุการณ์จะยิ่งง่ายกว่า ถนนที่มียางมะตอยราด เพราะยังมีร่องน้ำ ตามรูของพื้นผิวถนน นอกจากนี้ยังมีความชัน และความเอียงของพื้นผิวถนนที่เป็นปัจจัยเล็กน้อยอีกด้วย

เรามาดูวิธีป้องกันกัน  อย่าได้ขับรถเร็วเกิน 95 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หากพื้นผิวถนน มีน้ำขัง หรือแม้แต่เปียกเล็กน้อย  ยางรถยนต์ ต้องมีดอกยางเสมอ (วัดด้วยเหรียญ) ยิ่งดอกยางยังมีอยู่เยอะ ยิ่งรีดน้ำได้ดีกว่า  หากรถยนต์ของคุณมีระบบ Traction Control อย่าได้ลืมเปิดใช้งานเวลาถนนเปียก  หากเลือกรถใช้งานได้ ขณะฝนตก ควรเลือกรถยนต์ที่มีระบบ ABS ทั้ง 4 ล้อไว้ก่อน (รถยนต์บางชนิดจะมีเพียง 2 ล้อหน้า หรือ 2 ล้อหลัง)


หากเริ่มเกิดอาการสูญเสียการควบคุมจากอาการเหินน้ำแล้ว ควรปฏิบัติดังนี้  หากรถยนต์อยู่ในทางตรง และมาด้วยความเร็วน้อย จะสูญเสียการควบคุมเพียงเล็กน้อย นักขับจะต้องพยายามควมคุมทั้งความเร็ว และทิศทางให้เหมือนปุยนุ่น อย่าได้พยายามควบคุมทุกอย่างอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเบรก หรือหักล้อรถยนต์เต็มที่ อย่าได้ทำแบบนั้นเด็ดขาด  หากรถยนต์อยู่บนท้องถนน และเกิดอาการจากการเหินน้ำ ที่เกิดจากการเร่งความเร็วอย่างฉับพลัน จะเกิดอาการ 3 อย่าง คือ 1 ต้นเหตุเกิดที่ล้อหน้า  คำแนะนำสำหรับล้อหน้าคือ โอกาสเกิดรถหมุนนั้นจะมาก ต้องปล่อยเลยไป โดยมีโอกาสที่รถยนต์จะตกข้างทาง หรือพาดกับต้นไม้ หรือเสาไฟฟ้า เพราะเราเตือนคุณแล้วว่า อย่าได้เร่งความเร็วฉับพลัน 2.เหตุเกิดจากล้อหลัง การรักษาการควบคุมจะง่ายกว่า เพราะอาการจะเกิดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น 3.เกิดเหตุทั้ง 4 ล้อ รถยนต์จะไม่หมุน แต่จะมุ่งตรงไปด้านหน้า (แม้ว่าจะหักล้อหมุน รถก็ตรงไปด้านหน้าอยู่ดี) ดังนั้นคุณยังมีโอกาสควบคุมเล็กน้อย พยายามลดความเร็ว โดยไม่เหยียบคันเร่งเพิ่ม รักษาทิศทางของรถยนต์ไว้  ประเด็นสำคัญ คือ อย่าได้เหยียบเบรก เพราะจากการทดสอบหลายครั้ง ผู้ขับขี่ส่วนมากจะเหยียบเบรก (ในการทดสอบดูจากไฟท้ายรถยนต์) เพราะการเหยียบเบรกแบบกระทันหัน จะยิ่งทำให้เกิดอาการเหินน้ำมากขึ้น เพราะยางรถยนต์หยุดรีดน้ำ ทำให้โอกาสเกิดสูญเสียการควบคุมรถยนต์มากขึ้นไปอีก  แต่ประเด็นที่สำคัญยิ่งกว่า คือ พยายามหลีกเลี่ยงโอกาสเกิดอาการเหินน้ำให้มากที่สุด เพราะแม้แต่นักขับอาชีพ ก็ยังยากที่จะควบคุมรถยนต์ได้ โดยเฉพาะการขับรถยนต์ขณะฝนตกนั้น ควรขับรถยนต์ด้วยความเร็วที่ไม่เกิน 95 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และอย่าเร่งหรือลดความเร็วแบบฉับพลัน