พรบ.รถยนต์คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร

นิตยสารรถ WEEKLY

คำว่า พ.ร.บ. ที่เรามักพูดกันติดปากนี้ ก็คือ การประกันรถยนต์ภาคบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดย ที่บังคับให้รถยนต์ทุกคันที่จดทะเบียนกับการขนส่งทางบกจะ ต้องทำประกันภัยตาม พ.ร.บ. ที่ว่านี้ หากไม่ทำก็จะมีความผิด มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือแม้ทำแล้วแต่แต่ไม่ติดเครื่องหมายไว้ (สติกเกอร์ พ.ร.บ .บุคคลที่ 3) ที่รถให้เห็นชัดเจนก็มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ประกันนี้จึงมักเรียกกันย่อ ๆ ว่า ประกันภาคบังคับ


*** วงเงินคุ้มครอง ***


ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้น จะ ได้เฉพาะความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลเท่านั้น ไม่คุ้มครองความเสียหายอื่นๆ ใด ๆ ทั้งสิ้น(จำง่าย ๆ คือ คุ้มครอง “คน” ไม่คุ้มครอง “รถ“) โดยความคุ้ม ครองจาก พ.ร.บ กำหนดให้มีมูลค่าความรับผิดชอบ (ต่อคน) ดังนี้
- ค่ารักษาพยาบาล จ่ายไม่เกิน 50,000 บาทต่อคน
- กรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวร จ่าย ไม่เกิน 100,000 บาทต่อคน
จะเห็นว่าในกรณีผู้ประสบภัยเสียชีวิต การ คุ้มครองจะรวมไปถึงทายาทของผู้ประสบภัยข้างต้นด้วย ทั้งนี้ ผู้ประสบภัยสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นได้ไม่เกิน 15,000 บาท ต่อหนึ่งคนและความ เสียหายต่อชีวิต 35,000 บาทต่อคนก่อน แต่หลังจากสอบสวนความตามกฎหมายกับคู่กรณีแล้วผู้ประสบภัยไม่มีความผิดก็จะได้รับเงินเพื่อช่วยในการปลงศพ รายละ 100,000 บาท


*** อัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ***
เนื่องจากเป็นการประกันภัยภาคบังคับที่ กฎหมายกำหนดให้รถทุกคันต้องทำประกัน ภัยความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัย รัฐจึงกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยภาคบังคับนี้ให้ต่ำที่สุดเพื่อจูงใจให้ ประชาชน เข้าสู่ระบบการประกันภัยตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย แต่ขณะเดียวกันต้องคำนึงถึงภาคธุรกิจ โดยให้สอดคล้องกับสภาพความเสี่ยงภัยของรถเพื่อให้ธุรกิจที่ รับประกันภัย ประเภทนี้สามารถดำเนินการรับประกันภัยได้ด้วย จึงเป็นที่มาของหลัก No Loss No Profit คือ หลักของไม่ขาดทุนแต่ไม่ได้กำไร ซึ่งในการ ประกาศอัตราเบี้ยประกันภัยรถตาม พ.ร.บ. กรมการประกันภัยได้มีการพิจารณาทบทวนและปรับปรุงอัตราเบี้ยประกันภัยให้สอด คล้องกับสภาพความเสี่ยงภัยที่ แท้จริงในปัจจุบันเป็นระยะๆ เช่น การเพิ่มและลดอัตราเบี้ยประกันภัยของรถบางประเภท หรือการเพิ่มค่าเสียหายเบื้องต้น (15,000 บาท เป็น 35,000 บาท) และค่าสินไหมทดแทนส่วนเกิน (จาก 800,000 เป็น 100,000 บาท กรณีเสียชีวิต) และ ปัจจุบันกรมการประกันภัยมีสั่งนายทะเบียนกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัย พ.ร.บ. เป็นอัตราเบี้ยคงที่อัตราเดียว แยกตามประเภทรถ และลักษณะการใช้รถ บริษัทไม่สามารถคิดเบี้ยประกันภัยต่างจากที่นายทะเบียนกำหนด ได้


*** เจ้าของรถทำ พ.ร.บ. อย่างเดียวได้หรือไม่ ***
สำหรับประกันรถยนต์ กฎหมายบังคับให้ทำ พ.ร.บ. ไว้เป็นขั้นพื้นฐาน ซึ่งหากไม่ได้ทำ พ.ร.บ. ไว้ กรมการขนส่งทางบกจะไม่รับต่อภาษีรถยนต์ (เหมือนเป็นการบังคับให้ทำประกันภัยชนิดนี้โดยปริยาย) ดังนั้น พ.ร.บ. จึงเพียงพอในแง่ของกฎหมาย แต่ถ้าเราเป็นต้นเหตุของอุบัติเหตุจนเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินอื่น เราต้องรับผิดชอบในความเสียหายนั้นด้วย ตนเอง ดังนั้น ผู้ใช้รถยนต์ทั่วไปจึงมักซื้อประกันภัยตามที่สมัครใจเพิ่มเติมเพื่อความคุ้มครอง ซึ่งก็มีหลายแบบให้เลือกตามความต้องการ