ออล-นิว ไทรทัน การันตีความแกร่ง ด้วยมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุดระดับ 5 ดาว จากการทดสอบการชนของรถยนต์ใหม่ โดย อาเซียน เอ็นแคป

www.rodweekly.com

มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น (มิตซูบิชิ มอเตอร์ส) ประกาศความสำเร็จ จากการที่ ออล-นิว ไทรทัน1 รถกระบะขนาด 1 ตัน ได้รับการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยระดับสูงสุด 5 ดาว2 จากการทดสอบการชนของรถยนต์ใหม่ โดย อาเซียน เอ็นแคป (ASEAN NCAP)3 ซึ่งเป็นการทดสอบเพื่อประเมินสมรรถนะด้านความปลอดภัยของยานยนต์รุ่นใหม่ ที่วางจำหน่ายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


มิตซูบิชิ มอเตอร์ส มุ่งมั่นสานต่อปรัชญาของบริษัทฯ ในการนำเสนอมาตรฐานด้านความปลอดภัย เพื่อนำไปสู่สังคมแห่งการเดินทางที่มีสถิติอุบัติเหตุเป็นศูนย์ ผ่านความพยายามอย่างไม่หยุดยั้งในการพัฒนาเทคโนโลยีความปลอดภัย และการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยด้านการจราจร  


ออล-นิว ไทรทัน มาพร้อมระบบโครงสร้างตัวถังนิรภัย RISE4 ที่มีความแข็งแกร่งสูง สามารถรองรับแรงปะทะและลดการเปลี่ยนแปลงสภาพของห้องโดยสารเมื่อเกิดอุบัติเหตุให้น้อยที่สุด พร้อมด้วยเข็มขัดนิรภัยและถุงลม SRS5 ทั้งหมด 7 ตำแหน่ง มอบความปลอดภัยขั้นสูงเพื่อปกป้องผู้โดยสาร และสร้างความมั่นใจในด้านความปลอดภัยเชิงป้องกัน ด้วยระบบความปลอดภัยสุดล้ำ อาทิ ระบบควบคุมเสถียรภาพการทรงตัว (ASC - Active Stability Control) ระบบควบคุมการลื่นไถล (TCL – Traction Control System) ระบบลิมิเต็ดสลิปแบบควบคุมด้วยเบรก (LSD - Active Limited Slip Differential Brake Control Type) และระบบเตือนการชนหน้าตรง พร้อมระบบช่วยชะลอความเร็ว (FCM - Forward Collision Mitigation) เพื่อปกป้องความปลอดภัยของคนเดินถนน   


ออล-นิว ไทรทัน เป็นรถกระบะขนาด 1 ตันของ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ที่มีต้นกำเนิดมาจากรุ่นฟอร์เต้ (Forte) ซึ่งเปิดตัวในปี 2521 ตลอด 45 ปีที่ผ่านมา รถกระบะรุ่นนี้ได้รับการผลิตมาแล้วกว่า 5.6 ล้านคัน ครอบคลุมทั้งหมด 5 เจนเนอเรชั่น วางจำหน่ายใน 150 ประเทศทั่วโลก ทำให้รถกระบะรุ่นนี้เป็นหนึ่งในรถยนต์รุ่นสำคัญในเชิงกลยุทธ์ระดับโลกของ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส


ออล-นิว ไทรทัน เป็นรถกระบะเจนเนอเรชั่นที่ 6 ของมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ที่ได้รับการออกแบบใหม่ทั้งคัน และเปิดตัวครั้งแรกในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ภายใต้แนวคิด “พลังแกร่งคู่ใจสายลุย” (Power for Adventure) ออล-นิว ไทรทัน ได้รับการพัฒนาพร้อมปรับโฉมใหม่ทั้งหมดในทุกมิติ ตั้งแต่การออกแบบภายในห้องโดยสารและรูปลักษณ์ภายนอก ไปจนถึงแชสซีส์ เฟรมหรือโครงรถแบบขั้นบันได และเครื่องยนต์ โดยเริ่มวางจำหน่ายแล้วในประเทศไทย ซึ่งเป็นฐานการผลิตของรถกระบะรุ่นนี้ เป็นที่แรกในโลก และ เตรียมเปิดตัวในญี่ปุ่น ในช่วงต้นปี 2567  


1. จำหน่ายในชื่อ แอล 200 (L200) ในบางประเทศ


2. รวมทุกรูปแบบตัวถัง ได้แก่ ซิงเกิ้ล แค็บ เมกะ แค็บ และดับเบิ้ล แค็บ


3. ASEAN NCAP คือโปรแกรมทดสอบเพื่อประเมินสมรรถนะของรถยนต์รุ่นใหม่ สำหรับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (New Car Assessment Program for Southeast Asian Countries)


4. โครงสร้างตัวถัง RISE หรือ Reinforced Impact Safety Evolution


5. ขึ้นอยู่กับรูปแบบตัวถังและรุ่นย่อย