ตั้งแต่มีรถเกียร์อัตโนมัติมาขับในบ้านเรานั้น เรื่องหนึ่งที่มีการถกเถียงมากที่สุดในเรื่องของการขับขี่ คงจะไม่พ้นข้อคำถามที่ว่า ในระหว่างการขับขี่หากรถหยุดชั่วขณะหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่สี่แยกไฟแดง เราควรจะปรับตำแหน่งเกียร์จาก D ที่เราใช้กันอยู่เป็นประจำมาสู่ตำแหน่ง N หรือ เกียร์ว่าง ซึ่งจะความคล้ายคลึงกับการใช้งานในรถยนต์เกียร์ธรรมดาหรือไม่
ข้อถกเถียงที่ไม่มีวันที่สิ้นสุดนี้ เป็นเหมือนเรื่องราวไก่กับไข่ ที่เถียงกันมายาวนาน ซึ่งแต่ละฝ่ายต่างก็มีเหตุผลมาสนับสนุน และไม่เพียงแต่ในไทยเท่านั้นแต่ที่ต่างประเทศก็มีการพูดถึงเรื่องนี้ ซึ่งเป็นข้อกังขากันมาอย่างยาวนาน จนแทบจะพูดว่านี่คือคำถามสุดคลาสสิกของเกียร์อัตโนมัติกันเลยทีเดียว
คำถามที่ชวนเถียงกันทะเลาะกันเปล่าๆนี้ไม่ใช่เรื่องที่น่าขำขัน เมื่อระบบเกียร์อัตโนมัติ ถูกผลิตขึ้นมาให้มีตำแหน่งเกียร์ที่สำคัญ คือ P R ND และ บ้างก็จะมีตำแหน่งเกียร์พิเศษขึ้นมาเพื่อสนองตอบต่อการใช้งานเช่น D3, 2, และ 1 ซึ่งการมีตำแหน่ง N ที่เท่ากับเกียร์ว่าง ทำให้หลายคนได้รับความเข้าใจมาแบบผิดว่า การเข้าตำแหน่งเกียร์จะทำให้เกิดการเสื่อมสภาพมากกว่านี้ จะก่อให้เกิดผลต่อการทำงานของระบบเกียร์มากกว่า และวันนี้เรามี 3 เหตุผลที่คุณควรเปลี่ยนเกียร์มาตำแหน่ง N เมื่อมีโอกาส ตราบเท่าที่คุณมองว่าสมควร
1. ปลอดภัยมากกว่า ทุกครั้งที่คุณเหยียบเบรกเข้าเกียร์ D แม้รถจะหยุดนิ่ง แต่ก็มีความเสี่ยงสูงมากที่มันจะทำให้คุณเกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะในการจราจรติดขัด ที่คุณอาจจะเผลอเรอได้เพียงแค่คุณผ่อนน้ำหนักที่แป้นเบรก นิดเดียว รถที่อยู่ในตำแหน่ง D ก็พร้อมที่จะเคลื่อนไปข้างหน้าทันที ดังนั้น หากรถติดขัดสาหัสมากนานหลายนาที การเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ มายัง N ย่อมจะทำให้คุณปลอดภัยมากกว่าอย่างปฏิเสธไม่ได้
2. เรื่องสึกหรอ จริงหรือเปล่าที่จะช่วย แม้จะไม่มีข้อพิสูจน์ที่ฟันธงกันไปเลยว่า การเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ จากตำแหน่งเกียร์ D ไป N จะมีผลต่อกระบวนการสึกหรอของชุดเกียร์มากน้อยเพียงใด แต่ข้อเท็จจริงทางด้านเทคนิคในรถยนต์เกียร์อัตโนมัตินั้น คือ ทุกครั้งที่คุณเข้าตำแหน่งเกียร์ขับเคลื่อน ตัวชุด Torque Covertor จะถูกเชื่อมเข้ากับชุดฟลายวีลที่ด้านหลังเครื่องยนต์
หากแต่ที่รถไม่ขับเคลื่อนนั้น เพราะว่า มีแรงเบรกมากพอที่จะเอาชนะแรงบิดจากเครื่องยนต์ ซึ่งยังไม่มีแรงบิดมากนักที่กำลังเครื่องยนต์รอบเดินเบา ทำให้รถหยุดนิ่งกับที่ได้ ซึ่งหมายความว่าทุกครั้งที่คุณเข้าเกียร์ D แล้วเหยียบเบรกไว้ จะมีการใช้งานระบบเบรกอย่างเต็มที่เพื่อเอาชนะแรงจากเครื่องยนต์ ซึ่งสามารถสร้างการเสื่อมสภาพให้กับเบรก ได้ในระยะยาวอย่างปฏิเสธไม่ได้ โดยเฉพาะชุดหม้อลมและท่อทางเดินน้ำมันที่จะรับแรงดันเป็นเวลานานๆ ต่อเนื่อง