ถุงลมนิรภัยมีไว้เพื่อช่วยปกป้องให้เกิดความปลอดภัย แต่การใช้งานที่ไม่ถูกต้องแทนที่จะช่วยปกป้องกลับกลายเป็นการซ้ำเติมให้บาด เจ็บมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ในรถบางรุ่นจึงมีการออกแบบให้มีสวิทช์ปิดการทำงานของถุงลมได้ ผู้ใช้รถจึงควรใส่ใจโดยเฉพาะกรณีที่ผู้โดยสารเป็นเด็กเล็ก
อย่างในกรณีคนรักลูกชอบเอาลูกนั่งตักแล้วขับรถ หารู้ไม่ว่าเป็นการฆ่าลูกโดยตรง หากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นลูกจะอยู่ระหว่างถุงลมที่ออกมากระแทกด้วยการพองตัว ภายในเวลา 0.003 วินาที กับแรงกระแทกด้วยน้ำหนักตัวของคนขับซึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วรถ คิดเอาเองว่าเด็กที่อยู่ตรงกลางจะเป็นอย่างไรเมื่อเจอกับสองแรงบวกแบบนี้ นอกจากนี้เด็กที่ยังเล็กเกินกว่าจะใช้เข็มขัดนิรภัยควรให้ใช้ที่นั่งสำหรับ เด็กและคาดด้วยเข็มขัดนิรภัยสำหรับเบาะเด็ก และจะต้องติดตั้งเบาะเด็กตรงที่นั่งด้านหลัง ไม่ใช่ที่เบาะหน้า
สำหรับรถที่มีเบาะ 2 ตอน ควรให้เด็กนั่งเบาะหลังจะปลอดภัยกว่า หรือกรณีที่มีความจำเป็นให้เด็กนั่งที่เบาะตอนหน้า ให้เลื่อนเบาะนั่งไปทางด้านหลังให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และอย่าให้เด็กนั่งหรือยืนชิดแผงหน้าปัด และห้ามนั่งบนตักผู้โดยสารด้วย
รถที่มีสิ่งของวางไว้บนแผงหน้าปัดหากถุงลมนิรภัยที่แผงหน้าปัดพองตัวขึ้น สิ่งของเหล่านั้นจะกระเด็นกระดอนและทำอันตรายให้กับทุกส่วนของร่างกายแม้จะไม่ได้อยู่บริเวณเดียวกันกับตำแหน่งถุงลมนิรภัยการกระแทกจากการชนอาจจะทำให้ สิ่งของหลุดและเคลื่อนที่หล่นลงมาอันเป็นเวลาเดียวกับการพองตัวของถุงลมก็ ได้
การดัดแปลงที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้า การซ่อมบริเวณพวงมาลัย แผงมิเตอร์คอนโซลกลางและแผงหน้าปัด การติดตั้งชุดเครื่องเสียง การติดตั้งสัญญาณกันขโมย ต้องมีความระมัดระวังมากๆ และต้องเป็นผู้ชำนาญเพราะอาจทำให้ถุงลมนิรภัยทำงานโดยไม่มีปี่มีขลุ่ยจนเกิด การบาดเจ็บหรือในทางตรงข้าม อาจเป็นสาเหตุทำให้ถุงลมนิรภัยไม่ทำงานยามเกิดการชนก็เป็นได้
นอกจากนี้การติดตั้งอุปกรณ์เสริมที่ด้านหน้าของตัวรถ เช่น เปลี่ยนหรือเสริมกันชนหน้า ตลอดจนการดัดแปลงตัวรถ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างด้านหน้าหรือการยกรถให้สูงขึ้น จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของถุงลมนิรภัยเช่นกัน