ควรให้ช่างที่มีความเชี่ยวชาญตรวจสอบระบบไอเสียเพื่อหารอยรั่วในกรณีดังต่อไป นี้
- มีการยกรถเพื่อเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง
- พบว่าเสียงของไอเสียเปลี่ยนไป
- รถเกิดอุบัติเหตุซึ่งอาจเกิดความเสียหายบริเวณใต้ท้องรถ
จงหลีกเลี่ยงการอยู่ในบริเวณที่ปิด ทึบหรือมีก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ปริมาณมากจะสะสมอย่างรวดเร็วในบริเวณที่ปิด เช่น ในโรงรถอย่าติดเครื่องยนต์ดดยที่ ประตูโรงรถปิดอยู่ และถึงแม้จะเปิดประตูไว้ก็ควรติดเครื่องยนต์เฉพาะในช่วงเวลาเพื่อนำรถออกมาเท่านั้น อีกสิ่งที่ต้องระมัดระวังอีกอย่างหนึ่ง ถ้าฝากระโปรงท้ายเปิดอยู่ การไหลของอากาศจะพัดพาไอเสียเข้ามาในรถจะทำให้เกิดอันตรายได้ ถ้าจำเป็นจะต้องขับรถโดยเปิดฝากระโปรงท้ายรถไว้ ให้เปิดหน้าต่างทุกบาน และปรับระบบปรับอากาศดังนี้
1. เลือกคันปรับควบคุมอากาศภายใน
2. เลือกทิศทางแอร์ออก 2 ทาง ด้านหน้าตรงปรกติและด้านที่เป่าเท้า
3. เปิดสวิตซ์พัดลมไปที่ตำแหน่งแรงสุด
4. เลื่อนปุ่มปรับอุณหภูมิไปที่ตำแหน่งให้ความสบายสูงสุด
อันตรายต่อสุขภาพ
กรณีสัมผัสสารเคมีที่เป็นของเหลว จะเกิดอาการน้ำแข็งกัด (Frosbite) คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO)สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทางลมหายใจ โดยดูดซึมได้ดีที่ปอด และมีความสามารถเข้า กับฮีโมโกลบินได้ดีกว่าออกซิเจน 250 เท่า ซึ่งจะขัดขวางการลำเลียงและขนส่งก๊าซออกซิเจนของเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกายทำให้เนื้อเยื่อและ เซลล์สมองขาดออกซิเจน และมีภาวะเลือดเป็นกรด เกิดพิษเฉียบพลัน โดยความเป็นพิษมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณก๊าซในอากาศที่หายใจเข้าไป การถ่ายเทอากาศ และระยะเวลาที่ได้รับ อาการพิษคือ เกิดผื่นแดงที่ผิวหนัง และเยื่อบุ ปวดศีรษะ วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน หมดสติ และอาจถึงตาย ได้ในระดับความเข้มข้นต่ำ จะมีผลต่อความจำ ความคิด การมองเห็นและการประสานงานของกล้ามเนื้อ ทำลายระบบประสาทและกล้ามเนื้อหัวใจ ได้