จำนวนผู้เข้าชม : 109 ครั้ง
End Page
 
 
ผลการดำเนินงานของปอร์เช่ หลังปีแห่งการกำเนิดขุมพลังไฟฟ้า – นวัตกรรม ความยั่งยืน และความสำเร็จ

 ในปีงบประมาณ 2019 ที่ผ่านมา Porsche AG มียอดส่งมอบรถยนต์ใหม่เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งรายได้จากการขาย และผลประกอบการก่อนศักราชใหม่ บริษัทสามารถสร้างยอดส่งมอบรถถึงมือลูกค้าได้มากกว่า 280,800 คัน ในปี 2019 หรือคิดเป็นสัดส่วนเพิ่มขึ้นถึง 10 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า ในส่วนของรายได้จากการขายปรับตัวเพิ่มขึ้น 11 เปอร์เซ็นต์ หรือ 28.5 พันล้านยูโร ขณะที่ผลประกอบการเพิ่มขึ้น 3 เปอร์เซ็นต์ หรือ 4.4 พันล้านยูโร ทางด้านผลตอบแทนจากการขายเพิ่มขึ้น 15.4% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน จำนวนบุคลากรผู้ปฏิบัติงานมีอัตราส่วนเติบโตขึ้นกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ รวมทั้งหมดกว่า 35,429 คน


“ในฐานะผู้บุกเบิกการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนแห่งโลกยนตรกรรม
ปอร์เช่ได้ดำเนินงานตามมาตรการสำคัญหลายประการในช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา
สิ่งที่ชัดเจนสำหรับปี 2019
สังเกตได้จากการนำเสนอผลิตภัณฑ์ยานยนต์ใหม่ๆ
ที่น่าสนใจ เหนือสิ่งอื่นใดคือการเปิดตัวอย่างเป็นทางการของ ไทคานน์ (Taycan) รถสปอร์ตพลังงานไฟฟ้าสมบูรณ์แบบคันแรกของเรา”
ข้างต้นคือคำกล่าวของ Oliver Blume ประธานกรรมการบริหาร Porsche AG “ยนตรกรรมสปอร์ตสุดเร้าใจทุกคันที่เรามีอยู่  เป็นการผสมผสานอันลงตัวไม่ว่าจะเป็นประสิทธิภาพการทำงานชั้นเลิศของขุมพลังเครื่องยนต์เบนซิน
สมรรถนะการขับขี่ระดับสูงจากระบบ
plug-in hybrids และปัจจุบันคือความสปอร์ตที่ได้จากพลังงานไฟฟ้าสมบูรณ์แบบ
ปีงบประมาณ 2019
เป็นอีกครั้งที่ยอดจำหน่ายรถยนต์ของเราเพิ่มขึ้น” อย่างไรก็ตาม
ความสำเร็จที่เกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้ว
เป็นเพียงสิ่งที่สร้างความประทับใจได้ช่วงเวลาหนึ่ง โดย Blume อธิบายเสริมต่อไปว่า “เป้าหมายแรกของเรา
คือการสร้างเสริมคุณค่าของแบรนด์ ตลอดระยะเวลาห้าปีที่เราประสบความสำเร็จด้วยผลงานที่เพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์
สิ่งเหล่านี้เปิดโอกาสให้เราได้สรรสร้างคุณสมบัติที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อความเป็นบรรษัทภิบาลที่มีความรับผิดชอบต่อสาธารณชน
ทั้งในส่วนของเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม”

“ในปี 2019 เราสามารถทำลายสถิติในส่วนของรายได้
และผลกำไรก่อนรายการพิเศษ กำไรที่เพิ่มขึ้นเป็นผลรวมจากปริมาณการจำหน่ายที่สูงขึ้น
เช่นเดียวกับการพัฒนาธุรกิจในส่วนงานและแผนกอื่นๆ ของเรา
พร้อมกับการเติบโตของบริษัท ต้นทุนคงที่หรือ fixed costs ที่สูงขึ้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
งบประมาณลงทุนจำนวนมหาศาลในส่วนของยนตรกรรมพลังงานไฟฟ้าและระบบดิจิทัล รวมทั้งอัตราการแลกเปลี่ยนค่าเงิน
ล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบกับผลการดำเนินงานของเราทั้งสิ้น” Lutz Meschke รองประธาน
และสมาชิกคณะกรรมการบริหารผู้กำกับดูแลส่วนงานการเงิน และเทคโนโลยีสารสนเทศของ Porsche AG แสดงความคิดเห็นต่อไปอีกว่า “อย่างไรก็ตาม
เป็นอีกครั้งที่เราประสบความสำเร็จตามแผนกลยุทธ์ที่ตั้งเป้าเอาไว้
ด้วยอัตราผลตอบแทนจากการขายก่อนรายการพิเศษที่ 15.4 เปอร์เซ็นต์
และอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนที่
21.2 เปอร์เซ็นต์”

ในส่วนของกรณีเครื่องยนต์ดีเซล
ซึ่งเป็นรายการพิเศษที่เกิดขึ้นในไตรมาสที่ 2 ของปี 2019 เป็นจำนวน 0.5 พันล้านยูโร นั้น
ส่งผลกระทบต่อรายงานการเงินของ
Porsche AG ในปีงบประมาณ 2019
ทำให้ผลประกอบการหลังรายการพิเศษนี้อยู่ที่ 3.86
พันล้านยูโร
และผลตอบแทนจากการขายหลังรายการพิเศษคิดเป็นอัตราส่วน 13.5 เปอร์เซ็นต์

เติบโตอย่างแข็งแกร่งในประเทศเยอรมนี และทวีปยุโรป

ปอร์เช่ คาเยนน์ (Porsche
Cayenne) และ มาคันน์ (Macan) เป็นรถยนต์ 2 รุ่นที่มีส่วนสำคัญยิ่งต่อการเพิ่มขึ้นของยอดส่งมอบโดยรวม โดยปอร์เช่ คาเยนน์ (Cayenne) กว่า 92,055 คันถูกส่งถึงมือลูกค้าทั่วทุกมุมโลก
หรือคิดเป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นถึง
29 เปอร์เซ็นต์
เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า ทางด้าน มาคันน์ (Macan) ก็มียอดจำหน่ายสูงถึง 99,944 คัน เพิ่มขึ้น 16 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2018 ส่วนของการทำตลาดในถิ่นฐานบ้านเกิดของแบรนด์
และตลาดภาคพื้นยุโรป ปอร์เช่สามารถสร้างอัตราการเติบโตที่ยอดเยี่ยมที่สุดในปี 2019
จากยอดจำหน่ายที่ปรับตัวสูงขึ้นถึง
15 เปอร์เซ็นต์ เริ่มด้วย

ยนตรกรรมสปอร์ตจำนวนกว่า 31,618
คัน
ได้รับการส่งมอบไปยังลูกค้าในเยอรมนี ตามด้วยอีกกว่า 88,975 คัน ถูกจำหน่ายไปทั่วทั้งทวีปยุโรป นอกจากนี้
บริษัทผู้ผลิตรถสปอร์ตชั้นนำของโลกยังสามารถทุบสถิติในตลาดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด2 แห่งลงได้ นั่นคือประเทศจีน
ด้วยยอดส่งมอบ 86,752 คัน
นับเป็นตัวเลขการส่งมอบรถยนต์ใหม่ที่ปรับตัวสูงขึ้นถึง 8 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับปี 2018 เช่นเดียวกับตลาดประเทศสหรัฐอเมริกา
ซึ่งปอร์เช่ยังคงรักษาอัตราการเติบโตของยอดขายรถยนต์เอาไว้ได้ที่ 8 เปอร์เซ็นต์ หรือคิดเป็นจำนวนยอดส่งมอบกว่า 61,568 คัน
นับเป็นเรื่องมหัศจรรย์ที่ผู้ผลิตรถสปอร์ตรายนี้
สามารถเอาชนะสถานการณ์ภาพรวมทางเศรษฐกิจที่ไม่สู้ดีนักของ 2 ประเทศมหาอำนาจดังกล่าวไปได้

การพัฒนาอย่างยั่งยืน

ยานพาหนะพลังงานไฟฟ้า
คือภาระกิจหนึ่งของปอร์เช่: ตำแหน่งงานใหม่ประมาณกว่า 2,000 อัตรา ได้ถูกสร้างขึ้นรองรับการมาถึงของ ไทคานน์ (Taycan)
และบริษัทยังได้ดำเนินการจัดตั้งแคมเปญพิเศษเพื่อสนับสนุนกิจกรรมสาธารณะ
โดยรถสปอร์ตพลังงานไฟฟ้าทุกรุ่นที่ถือกำเนิดที่โรงงาน Zuffenhausen ล้วนแล้วแต่ผ่านสายการผลิตที่ปราศจากสารประกอบคาร์บอน
หรือ carbon-neutral นับตั้งแต่ต้นปี 2020 ปอร์เช่เริ่มเปลี่ยนแปลงแหล่งพลังงานที่จ่ายให้โรงงานเป็นแบบปราศจากสารประกอบคาร์บอนเช่นเดียวกัน:
ในส่วนของสำนักงานที่สร้างขึ้นใหม่จะเป็นอาคารประหยัดพลังงาน
และใช้ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้  ทั้งนี้
บริษัทสามารถผลิตพลังงานความร้อนได้จากโรงไฟฟ้า CHP ของตนเอง ซึ่งอาศัยการเผาไหม้ของก๊าซชีวภาพจากวัสดุรีไซเคิล
และสิ่งปฏิกูล

ทุ่มงบประมาณเพื่อลงทุน

ภายในปี 2024 บริษัทผู้ผลิตรถสปอร์ตชั้นนำของโลกแห่งนี้
จะใช้เม็ดเงินลงทุนประมาณ 1 หมื่นล้านยูโร
สำหรับการพัฒนาระบบ hybridisation ระบบขับเคลื่อนพลังงานไฟฟ้า
และเทคโนโลยีดิจิทัลในรถยนต์
รวมทั้งการก้าวขึ้นสู่ระดับหัวแถวขององค์กรผู้บุกเบิกยานพาหนะพลังงานไฟฟ้า สำหรับยนตรกรรมสปอร์ตรุ่นต่อไปที่กำลังจะเปิดตัว
คือรุ่นย่อยของปอร์เช่

ไทคานน์ (Taycan) ด้วยตัวถังครอส ทัวริสโม่ (Cross Turismo) ตามด้วย มาคันน์ (Macan) รถสปอร์ต compact SUV เจเนอเรชั่นใหม่
ซึ่งจะได้รับการติดตั้งขุมพลังขับเคลื่อนไฟฟ้าเช่นเดียวกัน
กลยุทธการดำเนินงานของปอร์เช่ในระยะถัดไป
คือการเสริมรุ่นย่อยในทุกโมเดลด้วยระบบขับเคลื่อนพลังไฟฟ้าจากแบตเตอรี่อย่างสมบูรณ์แบบ
โดยบริษัทคาดว่าจะสามารถบรรลุแผนการดังกล่าวได้ภายในช่วงกลางของทศวรรษนี้
ปริมาณกว่าครึ่งของรถยนต์ทุกรุ่นที่ถูกจำหน่ายจะเป็นรถไฟฟ้า
หรือรถยนต์ที่ติดตั้งขุมพลังไฮบริด

“เราได้รับการยืนยันคำสั่งซื้อจากลูกค้าประมาณ 30,000  ราย สำหรับปอร์เช่ ไทคานน์ (Porsche
Taycan) ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนที่จะมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการครั้งแรกในเดือนกันยายนที่ผ่านมา” Blume กล่าวเสริม “ลูกค้าของเรามากกว่า 15,000 คน
ได้ลงนามในหนังสือสัญญาสั่งซื้อเป็นที่เรียบร้อย
ปอร์เช่มั่นใจว่าจะสามารถผลิตรถยนต์เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นสูงในปี 2020 จากการมาถึงของ ไทคานน์ (Taycan) รวมทั้ง 911,
718 และ คาเยนน์ (Cayenne) ในรูปแบบตัวถังใหม่”

“ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
เรากำลังจะเผชิญหน้ากับวิกฤติเศรษฐกิจที่มาจากความท้าทายของสภาวะแวดล้อม ไม่เพียงแต่ความผันผวนที่มีผลมาจากการระบาดของโคโรน่าไวรัส” Meschke CFO ของปอร์เช่อธิบาย ถึงแม้จะมีการลงทุนมหาศาล
เพื่อการพัฒนาระบบขับเคลื่อนพลังงานไฟฟ้าสำหรับผลิตภัณฑ์ยานยนต์รุ่นต่างๆ
เทคโนโลยีดิจิทัล รวมไปถึงการขยาย และปรับปรุงส่วนงานต่างๆ ขององค์กรก็ตาม แต่บริษัทยังคงมุ่งมั่นรักษาระดับการบรรลุเป้าหมายขั้นสูงอย่างต่อเนื่อง Meschke เสริมต่อไปอีกว่า “มาตรการต่างๆ
มีขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และพัฒนาสิ่งใหม่ๆ สร้างผลประโยชน์จากหลากหลายธุรกิจ
เราตั้งเป้าเพื่อความสำเร็จในเชิงกลยุทธ ด้วยตัวเลขอัตราการตอบแทนจากการขายที่ 15 เปอร์เซ็นต์” Meschke เน้นย้ำส่งท้าย



ผู้แต่ง / แหล่งที่มา : www.rodweekly.com  
 ผู้บันทึก : www.rodweekly.com
date : [ 07 เม.ย. 2563 ]
 


 
 

 
 

 
 

 
 

 
 

 
 

ข่าวสารยานยนต์

error=select * from newtopic order by q_id desc