ชลินได้จัดงาน Capital Markets Day เพื่อนำเสนอความคืบหน้าล่าสุดในการปฏิบัติงานตามแผนงานเชิงกลยุทธ์ Michelin in Motion โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้
การปรับปรุงกลยุทธ์สู่ปี 2573
- ในงาน Capital Markets Day ซึ่งจัดขึ้นเมื่อปี 2564 มิชลินได้แถลงกลยุทธ์เพื่อการเติบโตสู่ปี 2573 ที่เรียกว่า Michelin in Motion โดยตั้งเป้าขับเคลื่อนรายได้ให้เติบโตสูงขึ้น 5% ต่อปี ในช่วงปี 2566-2573 รวมทั้งเพิ่มสัดส่วนรายได้ของกลุ่มมิชลินจากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับยางและธุรกิจอื่นนอกเหนือจากยางให้อยู่ที่ 20-30%
- ตลอดสองปีที่ผ่านมา กลุ่มมิชลินประสบความสำเร็จระดับสูงในการดำเนินงานตามดัชนีชี้วัดความสำเร็จที่เกี่ยวข้องกับผู้คน ผลกำไร และผืนโลก (People, Profit and Planet) โดยปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างพลิกผัน และมุ่งหน้าสู่การบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้สำหรับปี 2566
- แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงระดับโลกที่สำคัญ หรือ “เมกะเทรนด์” (Mega Trends) ได้แก่ โลกที่เต็มไปด้วยการแบ่งแยก (Fragmentation of the World), การเปลี่ยนแปลงเชิงลึกที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน, ความตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อม และการสัญจรด้วยระบบไฟฟ้า ล้วนสอดคล้องกับกลยุทธ์ของกลุ่มมิชลินซึ่งมุ่งสร้างการเติบโตเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับศักยภาพในการปรับตัวให้เหมาะกับปัจจัยแวดล้อม
- การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ถือเป็นโอกาสที่ตอกย้ำให้เห็นความโดดเด่นแตกต่างของมิชลิน ซึ่งจะยิ่งเห็นได้ชัดเจนมากขึ้นในปีต่อๆ ไป เนื่องจากกลุ่มมิชลินเร่งพัฒนายกระดับความสามารถที่ทำให้องค์กรมีความแตกต่างอย่างชัดเจน
- ในฐานะองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีขั้นสูงและสามารถตอบสนองตลาดแนวตั้งมูลค่าสูง (High-Value Market Verticals) ได้หลากหลายประเภท มิชลินมุ่งยกระดับเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านภาวะผู้นำและสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งทั้งในแง่ผลการดำเนินงานและความยั่งยืน
- ความสำเร็จในอนาคตของมิชลินส่วนหนึ่งจะมาจากความสามารถในการปรับปรุงผลการดำเนินงานเชิงโครงสร้าง (Structural Performance) ของธุรกิจยาง ขณะที่อีกส่วนหนึ่งจะมาจากการกระตุ้นการเติบโตของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับยางและธุรกิจอื่นนอกเหนือจากยาง การเติบโตเช่นนี้ถือเป็นการเติบโตทั้งจากภายในองค์กรเอง (Organic) และจากการขับเคลื่อนผ่านการควบรวมและเข้าซื้อกิจการ (Mergers & Acquisitions: M&A)
- ข้อมูลเกี่ยวกับการควบรวมและเข้าซื้อกิจการของมิชลินในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาแสดงให้เห็นผลที่น่าพอใจ โดยรูปแบบการควบรวมและเข้าซื้อกิจการของมิชลินสอดคล้องตามกลยุทธ์องค์กร อีกทั้งธุรกิจต่างๆ ที่มิชลินเข้าซื้อกิจการยังถูกบูรณาการเข้าด้วยกันได้สำเร็จด้วยดี นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาและวางตลาดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ บนฐานการทำงานร่วมกันด้านนวัตกรรมเชิงลึก (Deep Innovation) ซึ่งส่งผลให้มิชลินมีความแตกต่างที่เด่นชัดขึ้นสำหรับลูกค้ากลุ่มที่มีความคาดหวังสูง กลุ่มมิชลินบริหารจัดการการควบรวมและเข้าซื้อกิจการอย่างจริงจัง เพื่อให้สามารถบรรลุการเติบโตระดับสูงได้เร็วขึ้น ตลอดจนเพื่อทำให้ค่านิยมองค์กรของบริษัทร่วมทุนเป็นจริง
- เป้าหมายอัตราผลตอบแทนจากเงินทุน (Return On Capital Employed: ROCE) ของกลุ่มมิชลินซึ่งอยู่ที่ 10.5% ในช่วงเวลาหนึ่ง คำนึงถึงผลกระทบจากการควบรวมและเข้าซื้อกิจการเอาไว้แล้ว
มุมมองและเป้าหมายปี 2566 ซึ่งมิชลินประกาศไว้ในงาน Capital Markets Day ประจำปี 2564
ในงาน Capital Markets Day ประจำปี 2564 กลุ่มมิชลินได้กำหนดเป้าหมายสำหรับปี 2566 บนฐานของตัวชี้วัดทางการเงิน (Financial Indicators) บางประการ ตารางด้านล่างแสดงให้เห็นความคืบหน้าและพัฒนาการในแผนงานตามดัชนีชี้วัดความสำเร็จ1 (Key Performance Indicators: KPIs)
ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ(KPI) | เป้าหมายสำหรับ | รายงานผลความคืบหน้า |
ยอดขาย | ราว 24.5 พันล้านยูโรตามอัตราแลกเปลี่ยนเดือนมกราคม 2564 | นับตั้งแต่ปี 2562 ยอดขายของกลุ่มมิชลินเพิ่มสูงขึ้นจาก 24 พันล้านยูโร เป็นเกือบ 29 พันล้านยูโรในปี 2565 แม้ว่าปริมาณการขายจะลดลง 6% ทั้งนี้ เนื่องจากมีการขึ้นราคาสินค้าเพื่อชดเชยต้นทุนที่สูงขึ้น แต่ยังคงความหลากหลายของส่วนประสมผลิตภัณฑ์ (Product Mix Enrichment) เอาไว้ โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าเพิ่มเชิงสร้างสรรค์ (Value-Creative Segments) และการเติบโตของธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับยางรถ (Non-Tyre Business) |
กำไรจาก | มากกว่า 3.3 พันล้านยูโร ตามอัตราแลกเปลี่ยนเดือนมกราคม 2564 | แนวโน้มการดำเนินงานปี 2566: มากกว่า 3.2 พันล้านยูโร ตามอัตราแลกเปลี่ยนปี 2565 |
อัตราส่วนของกำไรจากการดำเนินงานตามส่วนงาน(Segment Operating Margin) | กลุ่มมิชลิน 13.5% ส่วนงานที่ 1 มากกว่า 12% ส่วนงานที่ 2 มากกว่า 10% ส่วนงานที่ 3 มากกว่า 17% | เป้าหมายเหล่านี้ซึ่งเป็นสัดส่วนร้อยละของยอดขายไม่สอดคล้องกับบริบทแวดล้อมอีกต่อไป เนื่องจากในช่วงปี 2564-2565 ราคาหุ้นลดลงจากภาวะเงินเฟ้อ (ลดลง 1.7 จุด ในระดับกลุ่มองค์กร) แนวโน้มการดำเนินงานปี 2566: ไม่กำหนดการดำเนินงานตามส่วนงานเป็นสัดส่วนร้อยละของยอดขาย ไม่ว่าจะในระดับกลุ่มองค์กรหรือในการรายงานผลการดำเนินงานระดับส่วนงาน |
กระแสเงินสดอิสระ (Free Cash Flow) | 6.3 พันล้านยูโร (ยอดกระแสเงินสดอิสระเชิงโครงสร้าง2 สำหรับปี 2563-2566) | ระหว่างปี 2563-2565 กลุ่มมิชลินมีกระแสเงินสดอิสระเชิงโครงสร้างอยู่ที่ 4.2 พันล้านยูโร ซึ่งตัวเลขนี้หักลบยอด 1 พันล้าน ตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นไป กลุ่มมิชลินจะระบุข้อมูลประเภทนี้ในรูปกระแสเงินสดอิสระก่อนการควบรวมและเข้าซื้อกิจการที่รายงานตามมาตรฐานบัญชี3 แทนกระแสเงินสดอิสระเชิงโครงสร้าง แนวโน้มการดำเนินงานปี 2566: กระแสเงินสดอิสระก่อนการควบรวมและเข้าซื้อกิจการที่รายงานตามมาตรฐานบัญชี อยู่ที่มากกว่า 1.6 พันล้านยูโร |
อัตราผลตอบแทนจากเงินทุน (ROCE) ปี 2566 | มากกว่า 10.5% | ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิม ในช่วงปี 2562-2565 อัตราผลตอบแทนจากเงินทุนเพิ่มขึ้น 0.8 จุด เป็น 10.8% |
อัตราการเติบโตเฉลี่ยของยอดขายซึ่ง | 5% | ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิม ยอดขายที่ไม่เกี่ยวกับยางรถเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเพิ่มขึ้น 8% ในปี 2564 และเพิ่มขึ้น 22% ในปี 2565 [ทั้งนี้ เป็นการเติบโตจากภายในองค์กร อ้างอิงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตามรหัสสกุลเงินมาตรฐานสากล (iso-FX)] |
ต้นทุนผลกระทบภายนอกทางลบ (Cost of Negative Externalities) ปี 2566 | ลดลง 30 ล้านยูโร เมื่อเทียบกับปี 2562 (บนฐานต้นทุนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อยู่ที่ 58 ยูโรต่อตัน) | ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิม4 เป้าหมายที่ปรับใหม่ คือ ลดลง 45 ล้านยูโร เมื่อเทียบกับปี 2562 (บนฐานต้นทุนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อยู่ที่ 120 ยูโรต่อตัน) ทั้งนี้ ตัวเลขในปี 2565 อยู่ที่ ลดลง 97 ล้านยูโร เมื่อเทียบกับปี 2562 |
อัตราส่วนเงินปันผลต่อกำไร (Payout Ratio) | 50% ของผลกำไรสุทธิ ไม่รวมรายการที่ไม่เกิดขึ้นเป็นประจำ (Non-Recurring Items) นับจากปี 2564 | ตัวเลขในปี 2564 อยู่ที่ 42% ของผลกำไรสุทธิ ไม่รวมรายการที่ไม่เกิดขึ้นเป็นประจำ หรือ 44% ของผลกำไรสุทธิ ตัวเลขสำหรับปี 2565 ที่เสนอต่อการประชุมสามัญประจำปีผู้ถือหุ้น อยู่ที่ 44% ของผลกำไรสุทธิ ตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นไป กลุ่มมิชลินจะระบุอัตราส่วนเงินปันผลต่อกำไรในรูปร้อยละ (%) ของผลกำไรสุทธิ โดยจะค่อยๆ เพิ่มตัวเลขเป้าหมายให้ถึง 50% ภายในปี 2573 |
1 ดัชนีชี้วัดความสำเร็จบางประการถูกตัดออกจากที่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ก่อนหน้า
2กระแสเงินสดอิสระเชิงโครงสร้างสอดคล้องกับกระแสเงินสดอิสระก่อนการเข้าซื้อกิจการ โดยปรับให้รองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงราคาวัตถุดิบในบัญชีเจ้าหนี้การค้า (Trade Payables), บัญชีลูกหนี้การค้า (Trade Receivables) และบัญชีสินค้าคงคลัง (Inventories)
3กระแสเงินสดอิสระก่อนการควบรวมและเข้าซื้อกิจการที่รายงานตามมาตรฐานบัญชี (ในที่นี้เรียก “กระแสเงินสดอิสระ”) หมายถึงเงินสดสุทธิจากกิจกรรมการดำเนินงานต่างๆ ที่หักลบด้วยเงินสดสุทธิซึ่งใช้ในการลงทุน โดยปรับให้กระแสเงินสดสุทธิมีความเกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ทางการเงินที่ได้จากการบริหารเงินสด (Cash Management Financial Assets) และหลักประกันการกู้ยืม (Borrowing Collaterals)
4 ปรับตัวเลขเป้าหมายใหม่ตามการประเมินต้นทุนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ล่าสุด ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 120 ยูโรต่อตัน
กำหนดการด้านการเงิน
ปี 2566 |
|
• 26 เมษายน | สรุปยอดขายไตรมาสแรกของปี 2566 |
• 12 พฤษภาคม | การประชุมสามัญประจำปีผู้ถือหุ้น |
• 17 พฤษภาคม | วันที่ไม่ได้สิทธิ์รับเงินปันผล (Ex-Dividend) |
• 19 พฤษภาคม | วันจ่ายเงินปันผล |
• 26 กรกฎาคม | สรุปผลประกอบการครึ่งแรกของปี 2566 |
• 24 ตุลาคม | สรุปยอดขาย 9 เดือนแรกของปี 2566 |
|
|
ปี 2567 |
|
• กุมภาพันธ์ | สรุปผลประกอบการปีงบประมาณ 2566 |
• ช่วงครึ่งแรกของปี | งาน Capital Markets Day |